svasdssvasds

ออสเตรเลียพบก๊าซมีเทนรั่วไหลจากเหมืองถ่านหินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

ออสเตรเลียพบก๊าซมีเทนรั่วไหลจากเหมืองถ่านหินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

เกินกว่ามาตรฐานกำหนดแล้ว ออสเตรเลียพบก๊าซมีเทนรั่วไหลจากเหมืองถ่านหินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเกินกว่าที่ประมาณการไว้ อันเนื่องมาจากวิธีการตรวจวัดในออสเตรเลียนั้นผิดวิธี

แน่นอนว่า เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นเป้าหมายที่นานาประเทศต้องทำให้สำเร็จให้ได้เพื่อช่วยลดอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แม้ว่าเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงลงมือทำในหลายประเทศบ้างแล้ว แต่ความผิดพลาดก็ยังมีมาให้ได้เห็นอยู่เรื่อย ๆ จนเมื่อไม่นานมานี้มีรายงานฉบับใหม่ได้วิเคราะห์ว่า เหมืองถ่านหินในออสเตรเลียมีการปล่อยก๊าซมีเทนมากกว่า 2 เท่าเกินปริมาณที่ทางการกำหนดเอาไว้

มีเทนมีพลังงานความร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่า ในระยะเวลา 20 ปี คาดว่าจะมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเกือบ 1 ใน 3 นับตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรม

หลังจากการเลือกตั้งในออสเตรเลียได้ผ่านพ้นไปเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลใหม่ของออสเตรเลียให้คำมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เร็วกว่ารุ่นก่อน แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการสนับสนุนเหมืองแห่งใหม่

แน่นอนว่าการลดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพเข้มข้น ถือเป็นจุดสนใจของบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง 

สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอินโดนีเซีย เป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นหนึ่งในกว่า 100 ประเทศที่สัญญากันในการประชุม COP26 เมื่อปลายปีที่ผ่านมาว่าจะต้องลดก๊าซมีเทนให้ได้ 30% ภายในปี 2030

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 2 สำหรับการส่งออกถ่านหิน และเป็นหนึ่งในผู้ปล่อยก๊าซมีเทนอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่ได้ลงนามในคำปฏิญาณ

ในปี 2019 เหมืองถ่านหินของออสเตรเลียปล่อยก๊าซมีเทน 898,000 ตัน โดยอ้างจากแผนกอุตสาหกรรมของรัฐบาลกลาง แต่รายงานฉบับใหม่โดย Ember ซึ่งเป็นคลังเก็บความคิดเห็นของสหราชอาณาจักร พบว่า วิธีการคำนวนการปล่อยมลพิษในปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้อง และในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ เราอาจจะนับพลาดไป 10 เท่าของปริมาณที่มีอยู่ ซึ่งมากกว่าปริมาณที่คงอยู่ในปัจจุบันมาก

เครื่องจักรขุดเหมืองถ่านหิน

การประมาณการครั้งก่อนอิงจากปริมาณถ่านหินที่ผลิตได้ มากกว่าการวัดปริมาณก๊าซที่รั่วไหลออกมาจากเหมือง การวิจัยล่าสุดโดยใช้ดาวเทียม ได้ให้ภาพมลพิษที่แม่นยำมากขึ้น และได้รับการรองรับโดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) แล้ว

IEA ประเมินว่าเหมืองถ่านหินของออสเตรเลียปล่อยก๊าซมีเทน 1.8 ล้านตันในปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของตัวเลขที่รายงานอย่างเป็นทางการล่าสุด

ดร.ซาบีนา อัสซาน ผู้เขียนรายงานกล่าวว่า “ก๊าซมีเทนที่รั่วจากเหมืองถ่านหินของออสเตรเลียส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศเกือบ 2 เท่าทุกปี มากกว่ารถยนต์ทุกคันในออสเตรเลียซะอีก"

“ระดับในปัจจุบัน ก๊าซมีเทนที่รั่วไหลจากเหมืองถ่านหินจะทำให้เป้าหมายสภาพภูมิอากาศที่ธรรมดาของออสเตรเลียในปี 2030 ไปไกลเกินเอื้อม” หรือก็คือสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปจนเราอาจคาดเดาไม่ได้

ปี 2030 ออสเตรเลียมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซ 43% ซึ่งยังขาดพันธมิตรอย่าง สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา แต่ข่าวดีก็คือ มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถจัดการกับการปล่อยก๊าซมีเทนของเหมืองถ่านหินอย่างรวดเร็ว

ดร.อัสซานกล่าวว่า ในขั้นแรกเราต้องหยุดโครงการถ่านหินใหม่ๆเสียก่อน ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาหลาย 10 โครงการทั่วออสเตรเลีย การเลิกใช้เหมืองที่มีก๊าซมากที่สุดของออสเตรเลียก่อนกำหนดจะช่วยได้มากขึ้น เช่นเดียวกับการห้ามระบายก๊าซที่สะสมอยู่ใต้ดินในเหมืองถ่านหินสู่อากาศ รวมไปถึงเราต้องค้นหาการใช้หรือการจัดเก็บก๊าซมีเทนอย่างยั่งยืนให้ได้

เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน หากนำไปใช้กับเหมืองใต้ดินทั้งหมด มีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนของออสเตรเลียประมาณ 45% ซึ่งก็พอจะมีหวังอยู่บ้าง แต่สุดท้ายนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าการกำกับควบคุมได้ประสิทธิภาพหรือไม่ จะได้รับความร่วมมือจะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เป็นต้น

รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานนี้ แต่ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทกล่าวว่าจะไม่ปล่อยให้อุตสาหกรรมที่ “ปล่อยมลพิษเข้มข้น” เช่น เหมืองแร่ เสียเปรียบคู่แข่งทั่วโลก ซึ่งคำว่าเสียเปรียบในที่นี้ก็ไม่รู้ว่าเขานิยามไว้ว่าเสียเปรียบเรื่องอะไรกันแน่

ที่มาข้อมูล

https://www.bbc.com/news/world-australia-61727940

related