svasdssvasds

ดร.อนันต์ แจงยังไม่พบพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 2 ชี้ชื่อไวรัสต่างกันทำสับสน

ดร.อนันต์ แจงยังไม่พบพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 2 ชี้ชื่อไวรัสต่างกันทำสับสน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา เผยจากข้อมูลไทยพบผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รายที่ 2 คาดได้รับเชื้อมาจากหนุ่มไนจีเรียป่วยฝีดาษลิง ล่าสุดยืนยันว่าเกิดการสับสนทางข้อมูลของชื่อไวรัส ยังไม่มีตัวอย่างของผู้ป่วยรายที่ 2

 จากกรณีที่ชายวัย 27 ปี ชาวไนจีเรีย ผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รายแรกในไทย ไม่ให้ความร่วมมือกับทางการ หลังแจ้งผลตรวจติดเชื้อฝีดาษลิงและขอให้เข้ารับการรักษาตัว โดยผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ อ้างว่ามาทำธุรกิจในไทยและให้ข้อมูลเพียงว่า ชอบเที่ยวสถานบันเทิง และเพิ่งมีเพศสัมพันธ์ไป

 ซึ่งทาง รพ.ไม่ได้ให้แอดมิดรักษาตัวใน รพ. โดยให้รักษาอาการและกักตัวที่บ้าน เพราะอาการน้อย แต่พอผล ยืนยันว่า เป็นโรคฝีดาษลิงแน่นอน เจ้าหน้าที่ก็ติดต่อไป เพื่อจะพาคนไข้มากักตัวที่ รพ.ใน จ.ภูเก็ต แต่คนไข้ปิดมือถือหนี และนั่งแท็กซี่ออกจากคอนโดที่พัก ไปป่าตอง จ.ภูเก็ต แล้วหลังจากนั้นก็หายตัวไปจากโรงแรม ก่อนจะมีคนรับตัวเดินทางต่อไปมุ่งหน้าไปยังเมืองสีหนุวิวล์ ประเทศกัมพูชา 

 จากการติดตามผู้สัมผัสพบว่า มีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง 19 ราย ไม่มีอาการป่วย ส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ทั้งหมดแล้ว ผลออกมาไม่พบเชื้อ 2 รายอยู่ระหว่างการตรวจและรอผลอีก 17 ราย และมีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำอีก 14 ราย ส่วนการค้นหาเชิงรุกมีจำนวน 142 ราย ไม่พบอาการผื่นสงสัย แต่มีอาการอื่นๆ คือ ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 6 ราย ส่งตรวจแล้ว 5 ราย ผลออกมาไม่พบเชื้อ ไปต่างประเทศ 1 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ภูเก็ต ระบุ ยังไม่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายที่ 2

• สรุปแนวทางปฏิบัติสำหรับคัดกรองผู้ป่วยฝีดาษลิงจากกรมการแพทย์

• สธ.ไม่ยกระดับ “ฝีดาษลิง” จากโรคติดต่อเฝ้าระวังเป็นโรคติดต่ออันตราย

 ล่าสุดวันนี้ (28 ก.ค.65) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า 

ผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่สองของไทย?

 ไวรัส "ฝีดาษลิง" ที่ตรวจพบในประเทศไทยตอนนี้เป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม A.2 ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในยุโรปและอเมริกาซึ่งเป็นกลุ่ม B.1 (สีเหลือง) ไวรัสใน 2 กลุ่มนี้มีความแตกต่างกันไม่มากในภาพรวม แต่มากพอที่จะแยกจากกันเป็นกลุ่มที่ชัดเจน 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นกำเนิดของไวรัสที่ระบาดในประชากรมนุษย์ เชื่อว่ามาจาก 2 แหล่งที่แตกต่างกัน และ เนื่องจาก A.1 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เก่ามากกว่าจึงทำให้เชื่อว่าไวรัส "ฝีดาษลิง" อาจจะอยู่ในประชากรมนุษย์มาสักพักหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะมีการระบาดอย่างเห็นได้ชัดของกลุ่ม B.1 ในตอนนี้ 

 สำหรับความแตกต่างของอาการของโรค หรือ ความรุนแรงระหว่าง A.2 กับ B.1 ยังไม่มีข้อมูลแบ่งแยกออกมาชัดเจน

 ถ้าดูจากข้อมูลของ A.2 ในฐานข้อมูลจะเห็นว่า A.2 ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมากเท่ากับ B.1 อาจจะเป็นเพราะไวรัสในกลุ่ม A.2 ยังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับไวรัสที่ระบาดหนักในตอนนี้ 

 

 

 ข้อมูลนี้ชี้ว่าไวรัสในประเทศไทยพบแล้วในผู้ป่วย 2 ราย สายพันธุ์แรก คือ จากชายชาวไนจีเรีย (Phuket-74) และ อีกตัวอย่างหนึ่งมาจากผู้ป่วยอีกรายที่ถอดรหัสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-ID220016-FTV) 

โดยไวรัสสองตัวอย่างมีความใกล้เคียงกันมาก และ มากกว่าสายพันธุ์ A.2 ที่ไปพบในอินเดีย และ สหรัฐอเมริกา 

 เป็นไปได้สูงมากว่า "ผู้ป่วยรายที่ 2" ได้รับเชื้อฝีดาษลิงมาจากชาย "ชาวไนจีเรีย" รายแรก และยังไม่ใช่สายพันธุ์ B.1 ที่เป็นสายพันธุ์หลักของโลกตอนนี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก A.2 มาก่อนหลายปี แต่มีผู้ป่วยน้อยกว่า B.1 มาก เลยแอบตั้งสมมติฐานว่า ไวรัส A.2 อาจจะมีคุณสมบัติการแพร่กระจายน้อยกว่า B.1 ซึ่งการที่ยังไม่พบ B.1 ในประเทศไทยอาจจะเป็นข่าวดีอยู่นิดๆ

 ซึ่งล่าสุด ดร.อนันต์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความล่าสุด ระบุว่า 

ตัวอย่างฝีดาษลิงรายที่สองในประเทศไทย น่าจะเป็นตัวอย่างจากผู้ป่วยไนจีเรียคนเดิมครับ แต่ตั้งชื่อไวรัสต่างกัน...จึงสับสน

 ต่อมา ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ได้โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติม ระบุว่า

 ฐานข้อมูล GISAID ระบุว่ามีการถอดรหัสตัวอย่างไวรัสฝีดาษลิง 2 ตัวอย่าง ซึ่งมีนักวิจัยต่างประเทศนำไปวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมระบุว่าเป็นไวรัส 2 สายพันธุ์ที่ต่างกัน เนื่องจากมีความแตกต่างในตัวรหัสพันธุกรรมในบางตำแหน่ง ทำให้เข้าใจว่ามาจากตัวอย่างของผู้ป่วยคนละคนกัน แต่พอดูรายละเอียดของตัวอย่างที่ระบุไว้ พบว่า น่าจะมาจากผู้ป่วยรายเดียวกัน คือ ชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี โดยรหัสพันธุกรรมแรกตั้งชื่อไวรัสว่า hMpxV/Thailand/NIC_Phuket 74/2022 เป็นตัวอย่างที่มาจากการ swab คอ และ ตัวอย่างที่ 2 ตั้งชื่อไวรัสว่า hMpxV/Thailand/CU-ID220016-FTV/2022 เป็นตัวอย่างที่มาจากตุ่มแผล

สรุปคือ ข้อมูลยังไม่มีตัวอย่างของผู้ป่วยรายที่ 2 ตามที่มีคนวิเคราะห์มานะครับ แต่เป็นการสับสนจากชื่อที่ใช้ไม่ตรงกัน...ต้องขออภัยในความสับสนดังกล่าวด้วยครับ

 ด้าน นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตามที่จังหวัดภูเก็ตได้เก็บตัวอย่างเลือด และสารคัดหลั่งของผู้ป่วยชายไทย ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ที่มารับการรักษา มีอาการไข้ และตุ่ม ผื่นขึ้นตามตัวไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ป่วยดังกล่าวติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่นั้น  

โดยวันนี้ 28 กรกฎาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดภูเก็ต ได้รับใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ Monkeypox virus real-time PCRของ ผู้ป่วยชายคนไทย จากจังหวัดภูเก็ต

ผลการตรวจเป็นลบ : โดยมีรายละเอียดชนิดตัวอย่างดังนี้

• Nasopharyngeal swab  : ไม่พบเชื้อ

• Throat swab  : ไม่พบเชื้อ

• Pustular swab in VTM : ไม่พบเชื้อ

• Pustular swab in lysis : ไม่พบเชื้อ

• Whole blood : ไม่พบเชื้อ

 ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก อย่าหลงเชื่อข่าวลวงข่าวลือและข่าวปลอม โดยขอให้ติดตามข้อมูลที่ถูกต้องจากทางราชการ

related