องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ดัชนีราคาอาหารโลกลดลงในรอบ 14 ปี แต่ทางโครงการอาหารโลก (WFP) ชี้ชัด ความอดอยากในหลายประเทศยังไม่หายไปและจะนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) เปิดเผยว่า ราคาอาหารโลกลดลงอย่างมากในเดือนก.ค. และลดลงมากที่สุดในรอบ 14 ปี
ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า ราโซนี (Razoni) เรือขนส่งของยูเครนได้เคลื่อนตัวออกจากท่าเรือโอเดสซา (Odesa) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย - ยูเครน ซึ่งช่วยให้หลายประเทศทั่วโลกลดแรงกดดันด้านราคาอาหารได้จากธัญพืชของยูเครน อาทิ โซมาเลีย ตุรกี และอินโดนีเซีย รวมถึงประเทศจีน
ประชาชนหลายล้านคนถูกกดดันให้เข้าสู่ความอดอยาก เนื่องจากการปิดล้อมของรัสเซียทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ธัญพืชพุ่งสูงขึ้น ซึ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ เนื่องจากข้าวสาลีและข้าวโพดยูเครนมากกว่า 20 ล้านเมตริกตันยังคงติดอยู่ในโอเดสซา
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
แม้ในขณะที่ข้อตกลงของสหประชาชาติ (United Nations: UN) ในการยกเลิกการปิดล้อมได้ทำให้ราคาธัญพืชผ่อนคลายลงแล้ว โดยดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหาร ร่วงลง 8.6% ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นการลดลงในเดือนเดียวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008
อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาอาหารยังคงสูงกว่าระดับในช่วงต้นปีนี้อยู่ 5% และสูงกว่าระดับของปีที่แล้วอยู่ 13%
แต่ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า การจัดส่งที่ล่าช้าจากยูเครนไม่ใช่การแก้ไขวิกฤตอย่างรวดเร็ว เร่งโดยหลายปีของการหยุดชะงักที่เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่ วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้ง การจำกัดการส่งออกอาหาร และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ลอร่า เวลเลสลีย์ (Laura Wellesley) นักวิจัยอาวุโสของโครงการสิ่งแวดล้อมและสังคมของ Think Tank Chatham House กล่าวว่า "อาจเป็นไปได้ว่าเราเห็นราคาอาหารพุ่งขึ้นสูงสุดอีกครั้ง และเกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารขึ้นสูงสุด แต่แน่นอนว่าไม่ใช่การแก้ไขสถานการณ์ในเร็ว ๆ นี้"
ความหิวโหยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 135 ล้านคนที่มีปัญหาด้านอาหารอย่างรุนแรงในปี 2019 เป็น 345 ล้านคนในปี 2022 ตามรายงานของโครงการอาหารโลก (World Food Programme: WFP) ซึ่งรวมถึง "50 ล้านคนใน 45 ประเทศที่กำลังเคาะประตูแห่งความอดอยาก" เดวิด บีสลีย์ (David Beasley) ผู้อำนวยการบริหารของ WFP กล่าวกับคณะกรรมการการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 20 ก.ค. ขณะที่เขาเรียกร้องให้ประเทศผู้บริจาคอื่น ๆ เช่น ประเทศในอ่าวอาหรับ "ช่วยป้องกันภัยพิบัติ"
วิกฤตในวันนี้เลวร้ายยิ่งกว่าการพุ่งขึ้นของราคาอาหารครั้งก่อนในปี 2007-2008 และ 2010-2012 ซึ่งทั้งสองจุดชนวนให้เกิดการจลาจลทั่วโลก รวมถึงการปฏิวัติในตะวันออกกลาง
เดวิด บีสลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงด้านอาหารยังเตือนถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์อย่างมหาศาล หากไม่ดำเนินการใด ๆ ปีนี้ ซึ่งที่ผ่านมาได้เห็นถึงความไม่มั่นคงทางการเมืองใน "ศรีลังกา มาลี ชาด บูร์กินาฟาโซ การจลาจลและการประท้วงที่เกิดขึ้นในเคนยา เปรู ปากีสถาน อินโดนีเซีย ... นี่เป็นเพียงสัญญาณบ่งชี้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเลวร้ายลง"