svasdssvasds

ข้อห้ามหาเสียง ลักษณะต้องห้าม เลือกตั้ง 2566 : ทำสิ่งเหล่านี้ผิดกฎหมาย

ข้อห้ามหาเสียง ลักษณะต้องห้าม เลือกตั้ง 2566 : ทำสิ่งเหล่านี้ผิดกฎหมาย

เช็กลิสต์ ข้อห้ามในการหาเสียง ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการผิดกฎหมายเลือกตั้ง 2566 ผู้สมัครเป็น ส.ส. ต้องระวัง

วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 คือวันเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะชี้ชะตาอนาคตประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง และเวลานี้ พรรคการเมืองต่างๆ  ทั้งเพื่อไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ไทยสร้างไทย ภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ ก้าวไกล ชาติพัฒนากล้า ชาติไทยพัฒนา รวมถึงพรรคอื่นๆ ก็ลงพื้นที่หาเสียงกันอย่างเข้มข้น ทุกขณะ

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า ทุกอย่างจะทำได้ในช่วงเวลานี้ ช่วงเวลาแห่งการหาเสียง เลือกตั้ง 2566 

โดยข้อห้ามในการหาเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. ได้กำหนดไว้ คือ

- สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินแก่ผู้ใด
- สัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าจะโดยตรง หรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิหรือสถาบันใด 
- หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคามใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
- เลี้ยงหรือรับจะจัดงานเลี้ยงผู้ใด
- ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรืองานรื่นเริงต่างๆ 

เช็กลิสต์ ข้อห้ามในการหาเสียง ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการผิดกฎหมายเลือกตั้ง 2566 ผู้สมัครเป็น ส.ส. ต้องระวัง
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ในการหาเสียงในการเลือกตั้ง 2566 ผ่านโลกออนไลน์นั้น ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชั่น ต้องขออนุญาตและระบุชื่อผู้ว่าจ้างผลิต ระบุระยะเวลา ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อย่างชัดเจน  คือ

ไม่เสนอให้ผลประโยชน์ซึ่งเป็นทรัพย์สิน เงินทอง
ไม่เสนอให้ผลประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมแก่ชุมชน
ไม่จัดมหรสพหรือจัดเลี้ยง
ไม่หลอกลวง บังคับ หรือใช้อิทธิพลในการหาเสียง
ไม่ใช้สื่อมวลชน สื่อโฆษณา เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียง
ไม่แจกจ่ายเอกสาร ไม่ใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อปลุกระดม ซึ่งเป็นข้อห้ามพื้นฐานของการหาเสียงเลือกตั้ง
หากพบเบาะแสทุจริตการเลือกตั้งเราทำอะไรได้บ้าง?

เช็กลิสต์ ข้อห้ามในการหาเสียง ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการผิดกฎหมายเลือกตั้ง 2566 ผู้สมัครเป็น ส.ส. ต้องระวัง

เมื่อพบเห็นการทุจริตการเลือกตั้ง เช่น การแจกเงิน สิ่งของ ประชาชนสามารถรายงานสถานการณ์และป้องกันการทุจริตเลือกตั้งได้ โดยการแจ้งเบาะแสหรือหลักฐานการทุจริต ผ่านทาง 5 ช่องทาง ดังนี้

แอปพลิเคชัน “ตาสับปะรด” รายงานสถานการณ์ได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง หรือวีดีโอ
กลุ่มงานอำนวยการ สำนักกฎหมายและคดี 0-2141-8714 หรือ 0-2141-8715 หรือ 0-2141-8079
ฝ่ายปฏิบัติการข่าว 02-141-8050 หรือ 02-141-8201 หรือ 02-141-2611
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานครทุกแห่ง
บริการสายด่วน กกต.1444

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ป้องกันและปราบปรามการซื้อสิทธิขายเสียงส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ชุดเคลื่อนที่เร็วด้านการข่าว ซึ่งประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ภาคประชาชนที่ให้การสนับสนุนตรวจสอบเฝ้าระวังการ ซื้อสิทธิขายเสียง รวมทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งร่วมตรวจสอบกันด้วย
 

related