svasdssvasds

วิธีร้องเรียน ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 66 บัง-ตั้งขวางทาง ห้ามทำลายเองเด็ดขาด

วิธีร้องเรียน ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 66 บัง-ตั้งขวางทาง ห้ามทำลายเองเด็ดขาด

เปิดวิธีร้องเรียน ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 66 บดบังทัศนวิสัยในการเลี้ยวรถตามหัวแยก หรือ ตั้งขวามทางเท้า ทำตามได้ง่าย ๆ แถม ได้ข้อพิสูจน์ด้วยว่า ผู้สมัคร ส.ส. ฟังเสียงประชาชนจริงหรือไม่ ?

ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 66 เราได้เห็นป้ายเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ และสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ชัชชาติ เอฟเฟกต์ ป้ายหาเสียงมีขนาดเล็กลงครึ่งหนึ่งจากกรแสของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ณ เวลานั้น ใช้ป้ายหาเสียที่มีขนาดเล็กลงมาครึ่งหนึ่ง

การเลือกตั้ง 66 เราจึงได้มีโอกาสได้เห็นป้ายหาเสียงขนาดที่ผอมลงมากว่าไซส์ที่เราเห็นมาตั้งแต่เด็ก คือ 130x245 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่สุดที่ กกต. อนุญาตให้จัดทำ

 อย่างไรก็ตาม เมื่อเล็กแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่า ป้ายหาเสียง จะไม่บดบังทัศนวิสัยในการเลี้ยวรถตามหัวแยก หรือ ตั้งขวางทางเท้า 

ป้ายหาเสียงบังทางแต่ห้ามทำลายเด็ดขาด เพราะผิดกฎหมาย

การทำลายป้ายหาเสียง หรือ ปลดป้ายหาเสียงด้วยตัวเอง เพจเฟซบุ๊กของ กองปราบปราม ระบุว่า ห้ามทำลาย หรือปลดป้ายด้วยตนเอง เพราะอาจมีความผิดตามกฎหมายอาญา ‘ฐานลักทรัพย์’ หรือ ‘ฐานทำให้เสียทรัพย์’ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เพราะตามหลักแล้วป้ายหาเสียงถือเป็นทรัพย์สินของผู้สมัคร ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดการเลือกตั้ง ผู้สมัครก็ต้องมาเก็บป้ายกลับไปเพื่อไม่ให้ทำลายทัศนียภาพของบ้านเมืองอีกด้วย

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

23 มี.ค. 66 ผู้สื่อข่าว SPRiNG พบเห็นป้ายหาเสียงของ 2 พรรคการเมือง ถูกติดตั้งอยู่ในซอยระนอง 2 ดุสิต กรุงเทพมหานคร บดบังทัศนวิสัยในการเลี้ยวรถที่จะเลี้ยวออกจากซอย 

ป้ายหาเสียง บดบังทัศนวิสัยในการเลี้ยวรถที่จะเลี้ยวออกจากซอย 

จึงทำการร้องเรียนไปยังเพจเฟซบุ๊กของผู้สมัครรายดังกล่าว พร้อมกับระบุตำแหน่งและภาพยืนยันว่าบดบังทัศนวิสัย โดยระยะล่วงเลยไปถึงวันที่ 1 เม.ย. 66 ผู้สื่อข่าวจึงได้รับการติดต่อกลับมาจากข้อความทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งไป โดยผู้สมัครระบุว่า ได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. แล้ว

ป้ายหาเสียง ถูกนำออกจากจุดที่บดบังทัศนวิสัย

ทั้งนี้จากการตรวจสอบ ก่อนได้รับการตอบกลับทางสื่อสังคมออนไลน์ ในวันที่ 27 มี.ค. ป้ายดังกล่าวถูกเคลื่อนย้ายออกจากจุดที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการประสบอุบัติเหตุจริง นับเป็นการใช้กระบวนการทางสื่อสังคมออนไลน์ในการส่งเสียงของประชาชนไปยังผู้สมัคร ส.ส. ที่จะเข้าไปทำหน้าที่แทนเราในสภา

อย่างไรก็ตามการร้องเรียน ป้ายหาเสียง บังทาง บดบังทัศนวิสัย ถือเป็นสิทธิที่ประชาชนไทยสามารถทำได้ เพื่อส่งเสียงไปยังอนาคตผู้แทนของเราในสภา และส่วนหนึ่งเป็นการพิสูจน์ว่า ผู้แทนเหล่านั้น ฟังเสียงประชาชนจริงหรือไม่ ? แต่หากไม่ได้รับการตอบกลับ เราสามารถแจ้งช่องทางของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เปิดให้ร้องเรียนได้ เช่นเดียวกัน

วิธีร้องเรียน ป้ายหาเสียง บังทาง บดบังทัศนวิสัย ผ่านโซเชียล

  1. ถ่ายภาพจุดที่ป้ายตั้งอยู่
  2. จดจำสถานที่ตั้งป้าย
  3. ค้นหาเพจเฟซบุ๊ก หรือ ช่องทางโซเชียลมีเดียของผู้สมัคร เจ้าของป้ายนั้น
  4. ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังกล่องข้อความในเพจ
  5. รอผล

วิธีร้องเรียน กกต. เรื่อง ป้ายหาเสียง บังทาง บดบังทัศนวิสัย

  1. ถ่ายรูปจุดที่ป้ายตั้งอยู่
  2. จดจำรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อใช้แจ้งเจ้าหน้าที่ เช่น ที่ตั้ง , ป้ายของพรรค-ผู้สมัครรายใด
  3. โทรร้องเรียนผ่านสายด่วน กกต. หมายเลข 1444

 

related