svasdssvasds

เลขา กกต. เผย 6 พรรค ผุดนโยบายใช้เงินหลวงหาเสียง ระวังเข้าข่ายหลอกลวง

เลขา กกต. เผย 6 พรรค ผุดนโยบายใช้เงินหลวงหาเสียง ระวังเข้าข่ายหลอกลวง

"แสวง" เลขาฯ กกต. เผยมี 6 พรรคแจ้งนโยบายใช้เงินหลวงหาเสียง ย้ำตามกฎหมายต้องแจง 3 เงื่อนไข ถ้าไม่มีข้อมูลอาจเข้าข่ายหลอกลวง

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า ตอนนี้มี 6 พรรคที่มีการแจ้งว่ามีนโยบายที่เกี่ยวการเรื่องการใช้จ่ายเงินมายัง กกต. โดยวันนี้จะให้สำนักงานฯ แจ้งไปยังทุกพรรคที่รายงานมา ว่าจะต้องมีการชี้แจง 3 เงื่อนไขให้ครบถ้วน ซึ่งนโยบายแบบนี้จะถือว่าไม่ใช่การสัญญาว่าจะให้ แต่ถ้าไม่มีข้อมูล 3 เงื่อนไขดังกล่าว อาจจะผิดเข้าข่ายหลอกลวงตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา73(5)

นโยบายหาเสียงแจกเงินของพรรคการเมือง ตามกฎหมายกำหนดไว้ว่ามี 3 เงื่อนไข

  1. วงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ 
  2. ความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย 
  3. ผลกระทบและความเสี่ยงในการดำเนินนโยบาย

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ถ้าแจ้งไม่ครบ ไม่มีบทลงโทษ แต่มีค่าปรับ

อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้บอกว่าถ้ารายงานไม่ครบแล้วจะมีความผิด เพียงแต่กำหนดว่าให้ กกต. แจ้งให้ดำเนินการให้ครบถ้วน และมีโทษเป็นการปรับจนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง นายแสวง บุญมี ระบุ

นายแสวง ยังกล่าวถึงกรณีที่ให้ พรรคเพื่อไทย ชี้แจงที่มาของเงิน หลังประกาศนโยบายเติมเงินดิจิทัล คนละ 10,000 บาท ภายใน 7 วัน เพราะยังไม่ได้บอกที่มาของเงิน ซึ่งตามเงื่อนไขจะต้องบอกเพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยมแบบใด ซึ่งถ้าไม่มีข้อมูลรายละเอียด อาจเข้าข่ายขัด กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง วงเล็บ 5 แต่ขณะนี้ยังไม่ถือว่ามีความผิด เพราะการไม่แจ้งไม่ถือว่าผิด 

ศรี​สุวรรณ ร้องสอบเพื่อไทย เป็นสิทธิที่ทำได้ 

ส่วนที่นายศรี​สุวรรณ​ จรรยา​ เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่น ให้ กกต. ตรวจสอบ ว่านโยบายเติมเงินหมื่นบาทเข้าสู่ระบบดิจทัล จะเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ และเป็นการหลอกลวงหรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ตามข้อห้ามใน ม.73(1) และ(5) แห่ง พรป.เลือกตั้ง ส.ส.2561 หรือไม่นั้น นายแสวง กล่าวว่า เป็นสิทธิที่จะดำเนินการร้องเรียนได้

related