svasdssvasds

เนชั่นโพล สำรวจย่านทุ่งครุ ประชาชนอยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

เนชั่นโพล สำรวจย่านทุ่งครุ ประชาชนอยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

“เนชั่นโพล”ลงพื้นที่ สำรวจประชากร ย่านบางพลัด เคาะประตูถามตามบ้าน แม่นยำมาตรฐานเดียวกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สร้างความตื่นตัวออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบประชาชน อยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง สะท้อนปัญหาเรื่องปากท้อง โดยเฉพาะค่าไฟ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น

วันที่ 28 เม.ย. 66 ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ผู้อำนวยการ “เนชั่นโพล” และผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พร้อมอาสาสมัคร ลงพื้นที่ย่านบางพลัด เพื่อใช้ในการทำผลสำรวจการเลือกตั้ง 2566 หรือ “เนชั่นโพล” โดยเป็นการสุ่มลงพื้นที่ตามบ้านประชาชน เพื่อนำไปประกอบผลโพลการเลือกตั้งที่จะถึงนี้

เนชั่นโพล สำรวจย่านทุ่งครุ ประชาชนอยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

ผศ.ดร.เชษฐา เปิดเผยว่า การสำรวจเนชั่นโพลในครั้งที่ 2 นี้ มีการลงพื้นที่สำรวจ 400 เขตเลือกตั้ง โดยใช้อาสาสมัครลงพื้นที่ร่วมสำรวจทั่วประเทศกว่า 1,000 คน ใช้วิธีการลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน เพื่อสอบถามประชาชนตอบแบบสำรวจตามบ้าน ทำให้มีความน่าเชื่อถือมาก เพราะการลงพื้นที่ทำแบบสำรวจจะเป็นการเข้าไปหาผู้ตอบแบบสำรวจโดยตรง

เนชั่นโพล สำรวจย่านทุ่งครุ ประชาชนอยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

และใช้มาตรฐานเดียวกันกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ แตกต่างกับการทำแบบสำรวจแบบโทรศัพท์ หรือแบบออนไลน์ ที่เหมือนกับให้ประชาชนเข้ามาตอบโพล ซึ่งหากประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงออนไลน์ หรือโทรศัพท์ ก็ไม่สามารถเข้ามาตอบโพลได้ ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของประชากรที่เข้ามาตอบ ทำให้อาจจะมีค่าความผิดพลาดระดับหนึ่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เนชั่นโพล สำรวจย่านทุ่งครุ ประชาชนอยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

ทั้งนี้เชื่อว่าการลงพื้นที่สำรวจโพล จะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการเลือกตั้ง เนื่องจากการลงพื้นที่สำรวจนอกจากการพูดคุยกับประชาชนที่สุ่มตัวอย่างหนึ่งบ้าน จะทำให้ประชาชนบ้านเรือนใกล้เคียงในชุมชนเห็น และได้รับรู้ถึงการทำกิจกรรมนี้ ทำให้เกิดการตื่นตัวในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

เนชั่นโพล สำรวจย่านทุ่งครุ ประชาชนอยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

ส่วนอุปสรรคในการทำโพล พบว่าขาดลงพื้นที่ 400 เขตทั่วประเทศ อุปสรรคจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เช่นภูเขา ทำให้มีอุปสรรคในเรื่องของการเดินทาง แต่ความลำบากก็จะทำให้ผู้ที่ตอบแบบสำรวจมองเห็นว่า อาสาสมัครมีความตั้งใจ และเห็นคุณค่าว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้มีความสำคัญมาก และอาสาสมัครทุกคนก็มีความตั้งใจที่จะทำให้ผลโพลเนชั่นโพลครั้งที่ 2 ออกมามีความเที่ยงตรงมากที่สุด

ซึ่งภาพที่เห็นอยู่ตอนนี้ คือ หนึ่งในตัวอย่างของอุปสรรคการทำโพลอาสาสมัครเนชั่นโพลได้พบเจอ ซึ่งเป็นภาพขณะที่อาสาสมัครลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี และต้องพบเจอกับพายุฝน และภาพที่จังหวัดน่าน โดยเป็นภาพขณะที่อาสาสมัครต้องขับรถขึ้นไปบนภูเขาที่เป็นดินแดงเพื่อทำแบบสำรวจโพล

ด้าน นายกฤษฎา อาทรวิริยกุล หนึ่งในอาสาสมัครเนชั่นโพล เปิดเผยว่า พวกตนอยากเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมทำแบบสำรวจโพล เพื่อที่จะได้ถามความรู้สึก และสอบถามถึงปัญหาจริงๆ ของประชาชนที่ตอบแบบสำรวจ ว่ามีปัญหา หรือต้องการที่จะให้ปรับปรุงเรื่องอะไร ซึ่งเมื่อได้มาร่วมเป็นอาสาสมัครรู้สึกตื่นเต้น และรู้สึกดีที่ได้มาร่วมเป็นกระบอกเสียง ในการสะท้อนปัญหาให้กับประชาชน

อย่างไรก็ตามจากการที่ทีมข่าวได้ร่วมลงพื้นที่กับอาสาสมัคร พบว่าประชาชน อยากให้นักการเมืองที่ตนเองเลือกเข้ามาทำงาน อยากให้ทำได้อย่างที่หาเสียง ไม่อยากให้ทะเลาะกัน และส่วนใหญ่จะสะท้อนปัญหาต่างๆ เรื่องปากท้อง โดยเฉพาะค่าไฟ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น

related