svasdssvasds

ส่องนโยบายประชานิยม อดีตถึงปัจจุบัน ก่อนเลือกตั้ง 66 ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นไหม ?

ส่องนโยบายประชานิยม อดีตถึงปัจจุบัน  ก่อนเลือกตั้ง 66 ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นไหม ?

นโยบาย ประชานิยม จากอดีตถึงปัจจุบัน ก่อนเลือกตั้ง 2566 มาดูกันว่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ผู้นำแต่ละคน ทั้ง ทักษิณ ชินวัตร , อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ , ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมถึง ลุงตู่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายเชิงประชานิยมอะไรออกมาบ้าง

ใกล้เลือกตั้ง 2566 เข้าไปทุกขณะ เวลานี้ พรรคการเมืองต่างๆ ต่างพยายามเป็น "นักขาย" นโยบายกันอย่างเต็มที่ ซึ่งเรื่องที่ผู้คนประชาชนสนใจมาก นั่นคือเรื่อง ปากท้อง เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วง 2 ทศวรรษหลัง ในประเทศไทย มีประเด็นเรื่อง นโยบาย "ประชานิยม" ออกมาไม่น้อย อาจจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อม  ในช่วง 20 ปีหลังมานี้ มีนโยบายจากพรรคการเมืองต่างๆ มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วหลายครั้งในสังคมไทย โดยเฉพาะการเมืองยุคหลัง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจำนำข้าว รถคันแรก บ้านหลังแรก คนละครึ่ง และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งซ่อนรูปและไม่ซ่อนรูป  ซึ่งในภาควิชาการทั้งในไทยและต่างประเทศ มองว่า นโยบายประชานิยมมีประโยชน์หากใช้เป็น “ครั้งคราว” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น  แต่ในระยะยาว คงต้องศึกษากันอย่างละเอียเพื่อดูผลกระทบว่าจะ "ได้" คุ้ม "เสีย" หรือไม่  

ย้อนไทม์ไลน์  ส่องนโยบาย "ประชานิยม"  จากอดีตถึงปัจจุบัน  ก่อนเลือกตั้ง 66  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ นโยบายค่าแรงขั้นต่ำนั้น ถือเป็น หนึ่งในเรื่องของ "ประชานิยม"  “ เรื่องการยกระดับ ค่าแรงขั้นต่ำ อาจดูเป็นการเมืองที่ดี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า จะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ดี” เสมอไป อย่างไรก็ตาม เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ เป็นสิ่งที่ ผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเป็นนโยบายประเภทประชานิยม ถือว่าเป็นนโยบายที่พรรคการเมืองนิยมใช้  ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย  แต่ทั่วโลก ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ให้นักการเมืองดึงดูดเสียงสนับสนุน ในช่วงใกล้การเลือกตั้ง

ย้อนไทม์ไลน์  ส่องนโยบาย "ประชานิยม"  จากอดีตถึงปัจจุบัน  ก่อนเลือกตั้ง 66

ถอยหลังกลับไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในปี 2562 คนไทยให้ความสนใจค่าแรงขั้นต่ำมากขึ้น  นับแต่กลายเป็นนโยบายหลักของพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งครั้งก่อน ที่ให้คำมั่นว่า จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 425 บาท แต่ 4 ปีผ่านมา มีการขึ้นค่าแรงเพียง 1 ครั้ง คือเมื่อเดือน ก.ย. 2565 ปรับขึ้น 5.02% เป็น 328-354 บาท ขึ้นอยู่กับจังหวัด โดยเริ่มบังคับใช้ไปแล้วเมื่อ 1 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา  ประเด็นนี้ ถือเป็น เศษเสี้ยวหนึ่งของนโยบาย ประชานิยม ที่ถูกสายตา และสปอร์ตไลท์จับจ้อง

ส่วนใน การ เลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้ ก็มีหลายๆพรรค ออก นโยบายเชิงประชานิยม ออกมา อาทิ  พรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดตัว 10 นโยบายพลิกฟื้นประเทศ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต้อง 600 บาทภายในปี  2570 และจบปริญญาตรีได้เงินเดือนเริ่มต้น 25,000 บาท 

ขณะที่ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งถือเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 2562 โดยปัจจุบัน มี "ลุงป้อม" พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ นั่งคุมบังเหียนดูแลทิศทาง และเป็นแคนดิเดตนายกฯ ทั้งนี้      พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้ 700 บาทต่อเดือน  โดยเงื่อนไขคือต้องเป็นผู้ที่ ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  ซึ่งในประเทศไทย มีอยู่ราวๆ 14.59 ล้านคน  ดังนั้น ภายใน 1 ปี กับนโยบายนี้ จะใช้เงิน 122,556 ล้านบาท  และ ตลอด 4 ปี จะใช้ 490,224 ล้านบาทเลยทีเดียว

นอกจากนี้ พลังประชารัฐ  ยัง ใช้สูตร 3-4-5 และ 6-7-8

อายุ 60 ขึ้นไป 3,000 บาทต่อเดือน
อายุ 70 ขึ้นไป 4,000 บาทต่อเดือน
อายุ 80 ขึ้นไป 5,000 บาทต่อเดือน

โดย นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ของพลังประชารัฐนั้น ผู้ที่อายุ 60 ปี ได้ 3,000 ต่อเดือน , อายุ 70 ปี ได้ 4,000 ต่อเดือน  อายุ 80 ปี ได้ 5,000 ต่อเดือน  โดยมีผู้ที่ได้สิทธิ์ 12 ล้านคน  ดังนั้น ตัวเลขที่ใช้ กับนโยบายนี้ มีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านแน่นอน เป็นต้น 

ย้อนไทม์ไลน์  ส่องนโยบาย "ประชานิยม"  จากอดีตถึงปัจจุบัน  ก่อนเลือกตั้ง 2566

• นโยบายประชานิยม สะท้อนความจริงสังคมไทย 

ภาพสะท้อนแนวคิดทางการเมืองเชิงโครงสร้างชนชั้นในสังคมไทย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทุกรัฐบาล ทุกยุคสมัย ต่างใช้กลยุทธ์ "ประชานิยม" แต่ละพรรค แต่ละยุค อาจจะมี รายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน 

ยุคสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (9 ก.พ. 2544 – 19 ก.ย. 2549) - โครงการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อย โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โครงการธนาคารประชาชน และโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น

ยุคสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (29 ม.ค. 2551 – 9 ก.ย. 2551) - งดการขึ้นภาษีอากร การพักชาระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อย และธนาคารประชาชน เป็นต้น

ยุคสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (17 ธ.ค. 2551 – 5 ส.ค. 2554) - โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาท (เช็คช่วยชาติ) โครงการชุมชนพอเพียง และโครงการไทยเข้มแข็ง เป็นต้น  

ยุคสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (5 ส.ค. 2554 – 7 พ.ค. 2557) – โครงการรับจำนำข้าว โครงการรถยนต์คันแรก นโยบายปรับค่าแรงรายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาท และโครงการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการเป็น 15,000 บาท เป็นต้น

ยุคสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 ส.ค. 2557 - ปัจจุบัน) - โครงการประชารัฐ แต่รัฐบาลอ้างว่า ไม่ใช่ “นโยบายประชานิยม” แต่เมื่อพิจารณา แนวทางการการดำเนินงานโครงการ ก็ยังคงเป็นนโยบายที่เน้นการให้สวัสดิการแบบให้เปล่าแก่ประชาชน แบบนโยบายประชานิยมอยู่ดี อันได้แก่ โครงการ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” (บัตรคนจน) มาตรการกระต้นเศรษฐกิจรอบใหม่ มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า มาตรการคนละครึ่ง และอื่น ๆ 
.
สิ่งสำคัญที่สุด หลังการเลือกตั้ง 2566 ของคนไทย  จะถูกใจ ชอบใจ กับ เรื่อง ประชานิยม หรือไม่ก็ตาม ... แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่ทุกคนต้องการ นั่นคือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว และต้องการการเมืองที่ดี 

related