svasdssvasds

เปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการศึกษาทำประชามติ แก้รธน. 2560 ก้าวไกลยังไม่ระบุชื่อ

เปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการศึกษาทำประชามติ  แก้รธน. 2560 ก้าวไกลยังไม่ระบุชื่อ

เปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ 2560 ยังไร้ชื่อตัวแทนจากพรรคก้าวไกล เผยมาจากทุกสาขาอาชีพ ทั้งนักการเมือง-นักวิชาการ-ตำรวจ-ทหาร-นักกิจกรรม-นักศึกษา

เปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการทำประชามติ หรือ ชื่อเต็มๆ คือ คณะกรรมการเพื่อพิจาณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  ยังไร้ตัวแทนจากพรรคก้าวไกล  เผย มาจากทุกสาขาอาชีพ ทั้งนักการเมือง-นักวิชาการ-ตำรวจ-ทหาร-นักกิจกรรม-นักศึกษา

นับตั้งแต่ ครม.เศรษฐา 1 แถลงนโยบายต่อรัฐสภาฯ เสร็จสิ้นไปตั้งแต่ 11 กันยายน 2566  ในช่วงเวลา ไม่ถึง 1 เดือน จนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลเศรษฐาพยายามเร่งงานเต็มที่แบบใส่เกียร์เดินหน้า และเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลเพื่อไทย ให้ความสำคัญ และล่าสุด  มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจาณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรคัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว  และ มีผู้คนจากหลากหลายอาชีพ  โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รมว. พาณิชย์ นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานในคณะกรรมการชุดนี้ 

เช็ก 35 รายชื่อ คณะกรรมการทำประชามติ มีดังนี้  

1. นายภูมิธรรม เวชยชัย ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญ 
2. นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง 
3. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง 
4. นายนิกร จำนง เป็นกรรมการและโฆษกคณะ

คณะกรรมการทำประชามติ แก้รัฐธรรมนูญ 2560  คนอื่นๆ ที่เหลือ

5. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม 
6. นายพิชิต ชื่นบาน เป็นตัวแทนที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี  
7. พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม 
8. พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา 
9. พล.ต.อ.วินัย ทองสอง 
10. นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 
11. นายวิรัตน์ วรศสิริน 
12. นายศุภชัย ใจสมุทร 
13. นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท 
14. นายวิเชียร ชุบไธสง 
15. นายวัฒนา เตียงกูล

16. นายยุทธพร อิสรชัย 
17. นายไพบูลย์ นิติตะวัน 
18. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
 19. นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย 
20. นายประวิช รัตนเพียร 
21. นายนพดล ปัทมะ 
22. นายธนกร วังบุญคงชนะ 
23. นายธงชัย ไวยบุญญา

24. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ 
25. นายเดชอิศม์ ขาวทอง
 26. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ 
27. นายชาติพงษ์ จีระพันธุ 
28. นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ 
29. นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี 
30. น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์

31.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ 
32. ผู้แทนพรรคก้าวไกล
33. นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ปลัดสำนักนายกฯ เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ 
34. นายนพดล เภรีฤกษ์ รองเลขาธิการกฤษฎีกา 
35. นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกฯ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ.

ทั้งนี้ คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติจะมีพรรคฝ่ายค้านร่วมด้วย ตามที่ปรากฏชื่อ ซึ่งจะดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วที่สุด ภายใน 4 ปีนี้ต้องจบตามกรอบเวลา ตามไทม์ไลน์กฎหมายทั้งหมดว่าต้องใช้กี่วัน เพราะยาวสุดประมาณ 3 ปีกว่า ซึ่งจะลดการทำประชามติและลดการทำอะไรหลายอย่าง ทำให้ระยะเวลาลดลง

ทั้งนี้ ในระยะเวลา 3 ปีกว่านั้น จะรวมทั้งกฎหมายลูกด้วย ซึ่งการเลือกตั้งครั้งใหม่จะใช้กติกาใหม่ และในช่วงบ่ายนี้จะแถลงข่าวอีกครั้ง พร้อมทั้งเปิดรายชื่อคณะกรรมการให้ทราบ อย่างไรก็ตามผู้ที่มาร่วมทำงานจะเข้ามาในลักษณะของผู้ทรงคุณวุฒิ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related