svasdssvasds

ย้อนฟัง กะเทยประท้วง เพลงฮิตของ ปอยฝ้าย มาลัยพร เหยียดเพศหรือควรภูมิใจ?

ย้อนฟัง กะเทยประท้วง เพลงฮิตของ ปอยฝ้าย มาลัยพร เหยียดเพศหรือควรภูมิใจ?

ฉันภูมิใจ ภูมิใจที่เป็นกะเทย เหยียดเพศหรือควรภูมิใจจากกรณี นายอนุสรณ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร้องเพลง "กะเทยประท้วง" ของ "ปอยฝ้าย มาลัยพร" กลางสภา พร้อมระบุ เป็นกะเทยก็ภาคภูมิใจ

SHORT CUT

  • อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ร้องเพลงกะเทยประท้วง กลางสภา
  • ทำความเข้าใจเพลง กะเทยประท้วง เพลงฮิตของ ปอยฝ้าย มาลัยพร
  • เพลง กะเทยประท้วง เล่าถึงเนื้อหาชีวิตของกะเทยในสังคมไทยในยุค 2000

ฉันภูมิใจ ภูมิใจที่เป็นกะเทย เหยียดเพศหรือควรภูมิใจจากกรณี นายอนุสรณ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร้องเพลง "กะเทยประท้วง" ของ "ปอยฝ้าย มาลัยพร" กลางสภา พร้อมระบุ เป็นกะเทยก็ภาคภูมิใจ

จากประเด็นร้อนที่ "นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด" สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ พ.ศ…. เสนอโดย "นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์" สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และคณะเป็นผู้เสนอว่า

เราต้องรับฟังให้รอบ อย่าเหาะเกินลงกา ไปไกลชนิดที่ว่าสุดลิ่มทิ่มประตู และจะสร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ และการที่เราจะภาคภูมิใจหรือไม่ภาคภูมิใจ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้คำนำหน้าว่าอะไร และการเปลี่ยนคำนำหน้า ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแล้วจะแฮปปี้ ชนิดที่ว่าเปลี่ยนปุ๊บแฮปปี้ปั๊บ คงไม่ใช่เช่นนั้น แต่ความภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง หรือ LGBTQ เราภาคภูมิใจได้

ย้อนฟัง กะเทยประท้วง เพลงฮิตของ ปอยฝ้าย มาลัยพร เหยียดเพศหรือควรภูมิใจ?

ทั้งนี้ นายอนุสรณ์ ได้ร้องเพลง "กะเทยประท้วง" ของ "ปอยฝ้าย มาลัยพร" กลางสภาว่า "ฉันภูมิใจ ภูมิใจที่เป็นกะเทย ไผสิเว้าเยาะเย้ย กะส่างเถาะเว้ย กะส่างเถาะเว้ยปากคน" พร้อมระบุว่า เป็นกะเทยก็ภาคภูมิใจได้แล้ว วันนี้คำว่ากะเทย คำที่บ่งบอกถึงเพศสภาพที่ 3, 4, 5 ไม่ใช่สิ่งที่จะไปบูลลี่กัน ไม่ใช่คำที่ฟังแล้วถูกประณามหยามหมิ่น สังคมเราเป็นประเทศที่เปิดรับและเปิดกว้างกับคำหลากหลายทางเพศ

ดังนั้น สิ่งที่ต้องตั้งข้อสังเกตคือ เราจะเป็นชายจริงหญิงแท้ LGBTQ เราควรจะภาคภูมิใจในสิ่งที่เราเป็น ตนเชื่อมั่นว่าเราจะใช้คำนำหน้าว่าอย่างไร เราก็ภาคภูมิใจได้ ก่อนที่เราจะเรียกร้องให้คนอื่นเคารพเรา เราควรเคารพผู้อื่นก่อน ก่อนที่เราจะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้กับตนเอง เราหันไปมองรอบด้านก่อนว่า สิทธิ์ที่เราเรียกร้องนั้นได้ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือไม่ และต้องระมัดระวังผลกระทบที่จะตามมาอย่างที่ "ดา เอ็นโดรฟิน" ร้องเพลงไว้ว่า "ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ" หากเปลี่ยนคำนำหน้านาม จะไม่ได้หยุดแค่ที่ไม่รู้จักฉันไม่รู้จักเธอ แต่จะกลายเป็น ไม่รู้จักชาย ไม่รู้จักหญิง ไม่รู้จัก LGBTQ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

จากการอภิปรายด้วยการร้องเพลงของนายอนุสรณ์ ดูเหมือนว่าจะสร้างความไม่พอใจ โดยเฉพาะกลุ่มคนเพศทางเลือกที่มองว่านี่คือการเหยียดเพศ สปริงบันเทิง จึงขอพาไปทำความเข้าใจเพลง "กะเทยประท้วง" หนึ่งในเพลงโปรโมตจากอัลบั้ม "วอนฟ้า" วางแผงเมื่อปี 2547 สำหรับเพลง กะเทยประท้วง เล่าถึงเนื้อหาชีวิตของกะเทยในสังคมไทย ที่ตอกย้ำว่าเพศหลากหลายเริ่มได้รับการยอมรับในสังคม จึงนำไปสู่การประท้วงของกะเทยตามเนื้อเพลงที่ยืนยันอย่างหนักแน่นก็คือ

"เดี๋ยวนี้เขายอมรับเหมิดแล้ว ด๊อกเตอร์ด๊อกแต๋ว กะออกหน้าออกตา ฉันเองก็ภูมิใจตัวฉัน ผู้ใด๋กีดกันกะส่างเขาเถาะนา ลูกผัวพอได้กะเอา ยามเมากะเมาม่วนกันเฮฮา ไปเที่ยวบ้านนั้นบ้านนี้ ฟ้อนหน้าเวที กะหมู๋ฉันนี่หล่ะค๊ะ ซื้อเหล้าขาวเลี้ยงผู้บ่าว ยามหมอลำหย่าว กะออกท่าลีลา ชีวิตจิตใจกะเทย ม่วนไปเลยเลย ล่ะบ่มีปัญหา ขั่นสิให้ฉันเป็นผู้ชาย ฉันขอยอมตาย ล่ะยอมตายดีกว่า"

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า 20 ปีที่แล้ว เพศทางเลือกมีการแสดงออกผ่านทางบทเพลงในลักษณะหนึ่ง ซึ่งผู้รับสารอาจจะมองและตีความได้หลายอย่าง แต่อย่างน้อย ๆ ณ เวลานั้น ได้สร้างการรับรู้ว่ามีเพศทางเลือกอยู่ในสังคม และทำให้สังคมเข้าใจและรู้จักพวกเขามากขึ้น แต่ในแง่ของเนื้อหาเพลงนั้นจะเป็นการส่งเสริมหรือเหยียดเพศขึ้นอยู่กับกรอบประสบการณ์ของแต่ละบุคคลในการวิเคราะห์เนื้อเพลง แล้วคุณล่ะคิดเห็นอย่างไรกับเพลงนี้..? 

related