svasdssvasds

ธปท.แจงปมโพสต์ขาย "ธนบัตรปลอม" ในออนไลน์ แค่หลอกให้โอนเงิน ไม่ได้ขายจริง

ธปท.แจงปมโพสต์ขาย "ธนบัตรปลอม" ในออนไลน์ แค่หลอกให้โอนเงิน ไม่ได้ขายจริง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจงปมการโพสต์ขายธนบัตรปลอมบนสื่อออนไลน์ เป็นเพียงมิจฉาชีพหลอกลวงผู้ซื้อให้โอนเงิน โดยไม่ได้ขายธนบัตรปลอมจริง เตือนประชาชนระวังตกเป็นเหยื่อ

 นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า ตามที่มีกระแสข่าวการโพสต์ขายธนบัตรปลอมบนสื่อออนไลน์ในวันที่ 9 ธันวาคม 2565 นั้น

ธปท.แจงปมโพสต์ขาย "ธนบัตรปลอม" ในออนไลน์ แค่หลอกให้โอนเงิน ไม่ได้ขายจริง

 ธปท. รับทราบและติดตามประเด็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ประสานกับตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และเร่งสั่งการให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อปราบปรามและระงับเหตุแล้ว

 โดย ธปท. ขอชี้แจงว่า ผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายธนบัตรปลอม หรือการเปิดเพจขายธนบัตรปลอม จะมีความผิดตามกฎหมายอาญา โดยผู้ทำธนบัตรปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่ 10 -20 ปี และ ปรับตั้งแต่ 2 แสนบาท ถึง 4 แสนบาท ส่วนผู้ที่ใช้ โดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 15 ปี และ ปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• น่าสน! แจ้งเบาะแสนำจับ "แบงค์ปลอม" ได้เงินรางวัลสูงสุด 100,000 บาท

• ว่อนเน็ตขายแบงค์ปลอมออนไลน์ แบงค์ชาติเร่งดำเนินคดีเวปไซต์

• แก๊งมิจฉาชีพฉวยโอกาสใช้ธนบัตรปลอมจ่ายสินค้า เตือนตรวจสอบก่อนใช้

ในเบื้องต้น ธปท. ขอชี้แจงดังนี้

1. ผู้เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายธนบัตรปลอม หรือการเปิดเพจขายธนบัตรปลอม จะมีความผิดตามกฎหมายอาญา โดยผู้ทำธนบัตรปลอมต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท ส่วนผู้ที่ใช้โดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

2. เพจลักษณะดังกล่าว มักเป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการหลอกลวงให้โอนเงิน ซึ่งผลการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเพจในข่าวเป็นเพจหลอกลวงผู้ซื้อให้โอนเงิน โดยไม่ได้ขายธนบัตรปลอมจริง และบัญชีธนาคารที่เพจใช้ให้ลูกค้าโอนเงิน เป็นบัญชีที่ถูกร้องเรียนว่าใช้ในการหลอกลวง ประชาชนควรระมัดระวังเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

 ทั้งนี้ สำหรับประชาชนทั่วไปควรเพิ่มความระมัดระวัง และตรวจสอบธนบัตรก่อนรับ โดยหากธนบัตรจริงจะสามารถสังเกตเห็นลวดลายบนธนบัตรเคลื่อนไหวได้ และหากยกส่องดูจะเห็นลายน้ำและแถบสีที่เป็นเส้นตรง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

related