svasdssvasds

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ “อาร์คทูรัส” ที่อาจเป็นสายพันธุ์หลัก

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ “อาร์คทูรัส” ที่อาจเป็นสายพันธุ์หลัก

อาร์คทูรัส โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่อาจกลายเป็นสายพันธุ์หลัก ซึ่ง WHO กำลังจับตามองและให้ระมัดระวัง เนื่องจากสัดส่วนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้จะเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

อาร์คทูรัส คืออะไร?

อาร์คทูรัส Arcturus เชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อยเอ็กซ์บีบี.1.16 (XBB.1.16) ถูกบรรจุลงในบัญชีเฝ้าติดตามของ CDC ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า สัดส่วนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้จะเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และอาจกลายเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์หลักตัวต่อไปในประเทศ

รายงานระบุว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยเอ็กซ์บีบี.1.5 (XBB.1.5) ที่ติดต่อได้สูงยังคงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์หลักในสหรัฐ และครองสัดส่วนราว 73.6% ของจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่ในสัปดาห์นี้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังเฝ้าติดตามเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยเอ็กซ์บีบี.1.16 ซึ่งมีส่วนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอินเดีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ “XBB.1.16” หรือที่มีชื่อเล่นว่า “อาร์คทูรัส (Arcturus)” ตามชื่อดาวที่สว่างที่สุดในซีกโลกเหนือ ให้เป็น “สายพันธุ์ต้องให้ความสนใจ (VOI)” 

หลังพิจารณาว่า มีคุณสมบัติบางอย่างเหนือโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ
WHO พบว่า XBB.1.16 มีความได้เปรียบในการเติบโตมากว่า และมีความสามารถในการหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันมากกว่า ทำให้ประเมินแล้วว่า “XBB.1.16 อาจแพร่กระจายไปทั่วโลกและมีส่วนทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้”

อย่างไรก็ตาม WHO ยืนยันว่า อย่าเพิ่งตื่นตระหนก “ในปัจจุบัน ยังไม่มีสัญญาณของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น การประเมินความเสี่ยง XBB.1.16 เบื้องต้นยังดำเนินอยู่และคาดว่าจะเผยแพร่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า”

XBB.1.16 ถูกตรวจพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2023 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สายพันธุ์นี้ยังเริ่มระบาดมากในสหรัฐฯ คิดเป็น 7.2% ของผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมดในประเทศ
จนถึงขณะนี้ มีการรายงาน XBB.1.16 ใน 31 ประเทศทั่วโลก และ ณ วันที่ 2 เมษายน 2023 คิดเป็น 4.2% ของลำดับเชื้อไวรัสที่อัปโหลดไปยังฐานข้อมูล GISAID เพิ่มขึ้นมากพอสมควรจาก 0.5% ของเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2023

รายงานโดยสังเขปจากแพทย์ในอินเดียยังตั้งข้อสังเกตว่า XBB.1.16 อาจเกี่ยวข้องกับอาการ “คันตา” หรือ “ตาแฉะ” รวมถึงมีไข้สูงและไอ โดยเฉพาะในเด็กที่ติดเชื้อ ไวรัสอื่น ๆ เจ้าโควิด-19 สายพันธุ์นี้ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดงได้ แต่จนถึงขณะนี้ อาการนี้พบได้ค่อนข้างน้อยในผู้ป่วยโควิด-19 และอาจสร้างความสับสนกับโรคอื่นได้

นอกจาก XBB.1.16 แล้ว สายพันธุ์โควิด-19 ที่ WHO กำลังจับตาอย่างใกล้ชิดคือ XBB.1.15 โดยถูกจัดเป็นสายพันธุ์ที่ต้งองสนใจเช่นเดียวกัน จากความเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ การหลีกเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน หรือความรุนแรงของโรค

มีการรายงาน XBB.1.5 ใน 96 ประเทศ และปัจจุบันคิดเป็น 50.8% ของลำดับพันธุกรรมที่อัปโหลดไปยังฐานข้อมูล GISAID
ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2023 ดร.มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านโควิด-19 ของ WHO กล่าวเตือนว่า โลกยังคงอยู่ในภาวะโรคระบาดและภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าเมื่อ 3 ปีก่อนก็ตาม

ฟาน เคอร์โคฟ กล่าวว่า “หนึ่งในความไม่แน่นอนครั้งใหญ่ที่เราต้องเผชิญในอนาคตคือตัวไวรัสเอง มันไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่คาดเดาได้เสมอไป มันยังคงพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ”

เธอเสริมว่า “หนึ่งในสายพันธุ์ที่เรากำลังจับตาดูอยู่คือ XBB.1.16 ซึ่งจริง ๆ แล้วมีความคล้ายคลึงกับ XBB.1.5 มาก มีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมในโปรตีนหนาม ซึ่งในการศึกษาในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่าทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากศักยภาพในการก่อโรคเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่เรากำลังเฝ้าติดตามเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเราต้องจับตาดูให้ดี”

ในขณะที่ความสามารถของโควิด-19 ในการพัฒนาทำให้มันสามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดอาการใหม่ได้อาจฟังดูเป็นเรื่องน่าตกใจ แต่ ณ ตอนนี้ยังไม่มีอะไรบ่งชี้ว่า XBB.1.16 นั้นอันตรายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถึงกระนั้นก็ตาม สิ่งสำคัญคือเรายังคงต้องระแวดระวังกันต่อไป และพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์สุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้ติดเชื้อ

ที่มา : gavi

related