svasdssvasds

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้านครูยุ่น มนตรี สินทวิชัย และภรรยาโดน 8 ข้อหา ย้อนประวัตชีวิตอดีตนักสังคมสงเคราะห์และนักพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ตลอด 28 ปี ก่อนมูลนิธิจะถูกปิดตัวลง เพราะปมทำร้ายเด็ก

จากกรณีเมื่อปลายเดือน ต.ค. ปี 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจพบ "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" แห่งหนึ่งมีการทำร้ายร่างกายเด็กที่อยู่ภายในมูลนิธิ ซึ่งสืบเนื่องมาจากมีคลิปเหตุการณ์ที่เด็กภายใน "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" หรือบ้านพักเด็กครูยุ่น แอบบันทึกไว้ เป็นเหตุการณ์ที่เด็กผู้ชายจำนวน 6-7 คน ถูกครูยุ่น เจ้าของมูลนิธิฯทำโทษ เนื่องจากเด็กลงไปเล่นน้ำในสระว่ายน้ำของรีสอร์ท และครูยุ่น ยังได้อบรมเด็กในมูลนิธิด้วยคำหยาบคาย นอกจากนี้ ยังมีการทำโทษเด็กด้วยความรุนแรง รวมถึงให้กินอาหารที่ใกล้หมดอายุจนกลายเป็นข่าวใหญ่ในช่วงนั้น

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

ปิดคดี ครูยุ่นโดนอะไรบ้าง

ล่าสุด พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.นำแถลงปิดคดี ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก 8 ข้อหาจากประเด็นใช้กำลังลงโทษเด็กในมูลนิธิและให้เด็กไปทำงานภายในรีสอร์ท ความผิดเกี่ยวกับสถานสงเคราะห์ และการเรี่ยไรเงิน จากการสอบปากคำพยาน กว่า 100 ปาก ทั้งผู้ปกครอง เด็ก และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อมูลว่า ภายในมูลนิธิดังกล่าว มีเด็กในการดูแลทั้งหมด 58 คน แต่มีเด็ก จำนวน 33 คน ที่ถูกครูยุ่นลงโทษ ด้วยการทุบตีโดยการใช้เหล็ก ไม้ไผ่ เข้าที่ศีรษะ หลายครั้ง รวมถึงมีการ บีบคอ และลากเด็กไปกดน้ำที่อ่านจนสำลักน้ำ รวมถึงยังมีการบังคับเด็กไปทำงานที่รีสอร์ท โดยให้ค่าจ้างเพียงแค่ 40-60บาทต่อวัน และหากไม่ทำก็จะถูกหักเงินค่าขนมในแต่ละวันนั้น ทางพนักงานสอบสวน สภ.อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้แจ้งข้อหา ครูยุ่น 8 ข้อหา เกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายเด็ก และความผิดตาม พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ คือ บังคับใช้แรงงานเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และใช้แรงงานเด็กอายุเกิน 15 ปีแต่ไม่ได้ค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงคดีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องเป็นภรรยา และพนักงานในมูลนิธิ ซึ่งได้สรุปสำนวนทั้งหมดส่งให้สำนักอัยการไปแล้ว

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ส่วนการการเปิดมูลนิธิคุ้มครองเด็กดังกล่าวตำรวจได้ดำเนินคดีกับนายแก้วสรร ฐานะประธานกรรมการของมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ในความผิดฐานเป็นพูดได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานสงเคราะห์ ไม่ยื่นขอแต่งตั้งผู้ปกครองสวัสดิกภาพเด็กแต่ยังกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพ

ซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมายตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก ขัดต่อศีลธรรมอันดี ทอดทิ้งไม่ดูแลเด็กเล็ก เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน โดยก่อนหน้านี้ทางจังหวัดสมุทรสงคราม ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน สั่งปิดชั่วคราวไปแล้ว แต่ทางกระทรวงมหาดไทย เตรียมทำหนังสือยื่นขอปิดมูลนิธิถาวร ให้กับอัยการ ส่งศาลพิจารณาอีกครั้ง โดยพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เผยอีกว่า การเปิดมูลนิธิในลักษณะนี้ต้องเสนอให้มีการปิดทั้งหมดเพื่อความสงบสุขและเป็นการดูแลเด็กเล็ก และเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างให้แก่สถานสงเคราะห์อื่น ๆ หากทำผิดกฎหมายต้องยกเลิก และดำเนินการให้ถูกต้อง

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

นอกจากนี้ยังพบความเกี่ยวกับนำตู้บริจาคที่พบว่าไปเรี่ยไรเงินกว่า 300 จุดทั่วประเทศของมูลนิธิคุ้มครองเด็กดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีตาม พรบ.เรี่ยไรเงิน เพราะเป็นการตั้งตู้บริจาคโดยมิได้รับอนุญาต และส่งเส้นทางการเงินให้ทางสรรพากรตรวจสอบแล้ว ซึ่งหากตรวจสอบแล้วไม่เข้าข่ายเงินบริจาคก็ต้องเสียภาษี และถ้าเอาไปใช้ส่วนตัวก็ต้องดูว่าจะเข้าความผิดฐานใด

เกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายเด็ก และความผิดตาม พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ คือ บังคับใช้แรงงานเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และใช้แรงงานเด็กอายุเกิน 15 ปีแต่ไม่ได้ค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงคดีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องเป็นภรรยา และพนักงานในมูลนิธิ ซึ่งได้สรุปสำนวนทั้งหมดส่งให้สำนักอัยการไปแล้ว

ส่วนการการเปิดมูลนิธิคุ้มครองเด็กดังกล่าวตำรวจได้ดำเนินคดีกับนายแก้วสรร ฐานะประธานกรรมการของมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ในความผิดฐานเป็นพูดได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานสงเคราะห์ ไม่ยื่นขอแต่งตั้งผู้ปกครองสวัสดิกภาพเด็กแต่ยังกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพ

ซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมายตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก ขัดต่อศีลธรรมอันดี ทอดทิ้งไม่ดูแลเด็กเล็ก เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน โดยก่อนหน้านี้ทางจังหวัดสมุทรสงคราม ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน สั่งปิดชั่วคราวไปแล้ว แต่ทางกระทรวงมหาดไทย เตรียมทำหนังสือยื่นขอปิดมูลนิธิถาวร ให้กับอัยการ ส่งศาลพิจารณาอีกครั้ง โดยพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เผยอีกว่า การเปิดมูลนิธิในลักษณะนี้ต้องเสนอให้มีการปิดทั้งหมดเพื่อความสงบสุขและเป็นการดูแลเด็กเล็ก และเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างให้แก่สถานสงเคราะห์อื่น ๆ หากทำผิดกฎหมายต้องยกเลิก และดำเนินการให้ถูกต้อง

นอกจากนี้ยังพบความเกี่ยวกับนำตู้บริจาคที่พบว่าไปเรี่ยไรเงินกว่า 300 จุดทั่วประเทศของมูลนิธิคุ้มครองเด็กดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีตาม พรบ.เรี่ยไรเงิน เพราะเป็นการตั้งตู้บริจาคโดยมิได้รับอนุญาต และส่งเส้นทางการเงินให้ทางสรรพากรตรวจสอบแล้ว ซึ่งหากตรวจสอบแล้วไม่เข้าข่ายเงินบริจาคก็ต้องเสียภาษี และถ้าเอาไปใช้ส่วนตัวก็ต้องดูว่าจะเข้าความผิดฐานใด

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

ประวัติ "ครูยุ่น"

นายมนตรี สินทวิชัย หรือ "ครูยุ่น" จบการศึกษาคว้าวุฒิศึกษาบัณฑิต จากมศว. ประสานมิตร ครูยุ่น เข้าสู่เส้นทางการเป็นอาสาช่วยเหลือเด็กเร่รอนมาอย่างต่อเนื่องจนเป็นทั้งนักสังคมสงเคราะห์และนักพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน

ในช่วงของวัยรุ่นอายุ 20 ต้นๆ ครูยุ่นได้ไปเห็นเด็กเร่ร่อนที่สนามหลวงอันเป็นแหล่งรวมตัวของผู้คนไร้บ้านในเมืองใหญ่กรุงเทพมหานคร เขาจึงได้รวบรวมกลุ่มแก๊งเพื่อนไปสอนหนังสือพร้อมกับช่วยกันระดมทุนส่วนตัวออกมาซื้ออาหารเลี้ยงเด็กๆ

ในปีพ.ศ. 2534 ครูยุ่น ได้จัดตั้ง "บ้านคุ้มครองเด็ก" ซึ่งอยู่ในซอยลาดพร้าว 106 และจากนั้นก็จดทะเบียนเป็น "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" รองรับเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้าย ถูกทารุณ ถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือนำไปค้าประเวณี และบังคับขอทาน เพื่อเป็นพักพิงและเยียวยาจิตใจ

"มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" (บ้านครูยุ่น) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Child Protection Foundation ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 โดยได้รับการอนุญาตและรับรองจาก กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น มูลนิธิ แต่การดำเนินงานของ มูลนิธิ บ้าน "ครูยุ่น" แห่งนี้ถือเป็นองค์กรสาธารณะกุศล รูปแบบนิติบุคคล ใช้เงินบริจาคในการดำเนินงาน โดยไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนา เด็ก ที่ประสบปัญหาภาวะทุกข์ยากถูกทอดทิ้งและถูกรังแก

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

"มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" (บ้านครูยุ่น) มี นาย แก้วสรร อติโพธิ ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิคุ้มครองเด็ก และนาย มนตรี สินทวิชัย หรือ "ครูยุ่น" ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ซึ่งตลอดระยะเวลา 28 ปี ได้มีผู้ที่มาร่วมจัดกิจกรรม ทำโครงการช่วยเหลือเด็ก เลี้ยงอาหารเด็ก รวมไปถึงมอบเงินและสิ่งของให้แก่เด็กๆ อยู่ตลอดในช่วงที่ผ่านมา

กระทั่งเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2565 กระทรวงมหาดไทยได้ สั่งปิด สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน บ้านคุ้มครองเด็ก 3 ของ "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน "ครูยุ่น" ซึ่งดำเนินการผิดหลักเกณฑ์ รับเด็กต่ำกว่า 10 ปี - ไร้สังคมสงเคราะห์ รวมทั้งยังทำร้ายร่างกายเด็ก ก่อนที่จะพาเด็กออกจากมูลนิธิทั้งหมดให้อยู่ในที่ปลอดภัย

สรุปให้ ปิดคดี "มูลนิธิคุ้มครองเด็ก" บ้าน ครูยุ่น สั่งดำเนินคดี 8 ข้อหา

related