svasdssvasds

'ถังดับเพลิง' มีกี่ชนิด ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง ใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม ดูเลย

'ถังดับเพลิง' มีกี่ชนิด ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง ใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม ดูเลย

ทำความรู้จัก 'ถังดับเพลิง' มีกี่ชนิด ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง การใช้ 'ถังดับเพลิง' ผิดชนิดอาจทำให้เกิดอันตราย แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร และควรเก็บรักษาอย่างไรดูเลย

จากเหตุการณ์สลด ที่เกิดความผิดพลาดระหว่างการซ้อมดับเพลิงในโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านกลางกรุง ทำให้มีเด็กนักเรียนเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย

วันนี้ SPRiNG จะพาไปรู้จักกับถังดับเพลิงให้มากขึ้นว่าถังดับเพลิงแล้วมีกี่ชนิดควรใช้อย่างไรและวิธีเก็บรักษาต้องทำอย่างไร

ถังดับเพลิงประเภทต่างๆ  

  • ถังดับเพลิงประเภท A คือ เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติก
  • ถังดับเพลิงประเภท B คือ เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี
  • ถังดับเพลิงประเภท C คือ เพลิงที่ไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
  • ถังดับเพลิงประเภท D คือ ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น ไตตาเนียม แมกนีเซียมสำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย
  • ถังดับเพลิงประเภท K คือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์ประเภทของถังดับเพลิง

\'ถังดับเพลิง\' มีกี่ชนิด ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง ใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม ดูเลย  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้วจะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถังแรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งอัดบรรจุใหม่ทันที

ชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูกกว่าฮาโรตรอน หาซื้อง่าย เมื่อฉีดใช้งานจะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้สกปรกในบริเวณที่ใช้งาน ถังสีเขียว เหมาะกับ พื้นที่ที่เน้นความสะอาด เช่นอาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ

ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรมดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ ถังแสตนเลส

 

ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟClass A B C และ K ได้ ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์ และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัยสำหรับฉีเใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

วิธีการใช้ถังดับเพลิง  

  • เข้าไปทางเหนือลม โดยเว้นระยะห่างจากเพลิงไหม้ประมาณ 2 – 3 เมตร และดึงสลักออกจากถังดับเพลิง หากไม่สามารถดึงสลักออกได้ ให้ใช้การบิดช่วย 
  • ปลดสายฉีดของถังดับเพลิงออก และยกหัวฉีดชี้ไปที่ฐานของเพลิง โดยทำมุมประมาณ 45 องศา 
  • กดคันบีบของถังดับเพลิงเพื่อให้สารเคมีที่บรรจุภายในถังพุ่งออกมา
  • ส่ายปลายหัวฉีดไปมาที่ฐานเพลิงไหม้ ไม่แนะนำให้ฉีดบริเวณเปลวเพลิง 

\'ถังดับเพลิง\' มีกี่ชนิด ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง ใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม ดูเลย

วิธีเก็บรักษาถังดับเพลิง

  • หมั่นทำความสะอาดและดูแลถังดับเพลิงไม่ให้ บุบ หรือเกิดสนิม
  • หมั่นตรวจสอบหัวฉีดและสายฉีดไม่ให้มีรอยรั่วหรืออุดตัน
  • ตรวจเช็กแรงดันของถังดับเพลิง ให้เข็มมาตรวัดชี้ที่ช่องสีเขียวแสดงว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
  • ตรวจเช็กน้ำยาดับเพลิงที่อยู่ในถังดับเพลิง โดยพลิกคว่ำถังดับเพลิงบ่อยๆเพื่อให้น้ำยาและผงเคมีคงอยู่สภาพเดิมไม่แข็งตัว

\'ถังดับเพลิง\' มีกี่ชนิด ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง ใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม ดูเลย

related