svasdssvasds

เปิดสถิติแบนหนังสือทั่วโลก แค่ตัวอักษรสั่นคลอนความมั่นคงของชาติ ?

เปิดสถิติแบนหนังสือทั่วโลก แค่ตัวอักษรสั่นคลอนความมั่นคงของชาติ ?

เปิดสถิติแบนหนังสือ ห้ามเผยแพร่หนังสือทั่วโลก แค่หนังสือ สั่นคลอนความมั่นคงของชาติ ขนาดนั้นเลยเหรอ ? หลังจากล่าสุด ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่ง สตช. สั่งแบนหนังสือ-บทความ ที่เขียนโดย “ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์” ห้ามนำเข้าราชอาณาจักร เหตุหมิ่นเบื้องสูง กระทบต่อความมั่นคง

กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อ ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่ง สตช. สั่งแบนหนังสือ-บทความ ที่เขียนโดย “ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์” ห้ามนำเข้าราชอาณาจักร เหตุหมิ่นเบื้องสูง กระทบต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน , อย่างไรก็ตาม หนังสือของ "ปวิน" ไม่ใช่หนังสือเล่มแรก ที่ถูกแบน 

เรื่องของการแบนหนังสือนั้น มีมาหลายศตวรรษมาแล้ว  , ภาครัฐ, องค์กรทางศาสนา, ผู้นำชุมชน และพ่อแม่ผู้ปกครองทั่วโลก พยายามควบคุมการรับรู้ ของเยาวชน หรือกระทั่งผู้คนในสังคม ผ่านการแบนหนังสือที่เห็นว่า ‘มีเนื้อหาไม่เหมาะสม’ 

แม้ว่าทุกวันนี้ เราสามารถค้นหาข้อมูลทั้งโลกได้ง่ายเพียงปลายนิ้วผ่านอินเทอร์เน็ต แต่กระนั้น การแบนหนังสือก็ยังมีอยู่ให้เห็นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

เปิดสถิติแบนหนังสือ ห้ามเผยแพร่หนังสือทั่วโลก แค่หนังสือ สั่นคลอนความมั่นคงของชาติ ขนาดนั้นเลยเหรอ ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำถามสำคัญคือ เพราะอะไร หลายๆประเทศ จึงเลือกที่จะแบนหนังสือ แบนบทความต่างๆ ? 

อย่างที่ทราบกันดีว่า หนังสือจะเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญา  แต่บางครั้งหนังสือก็อาจเป็นสิ่งที่กลุ่มบุคคลหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งในสังคมมองว่าเป็น ‘บ่อเกิดของปัญหา’ ได้เช่นกัน เพราะหนังสือถือเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิด พฤติกรรม และความเชื่อของผู้คนในสังคมไม่มากก็น้อย 

สำหรับ หนังสือนั้น ถือมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คน มันจึงเป็นสิ่งที่ ‘น่ากลัว’ โดยเฉพาะสำหรับชนชั้นปกครอง ไม่ว่าจะในระดับมหภาค อย่างรัฐบาล หรือระดับจุลภาค อย่างครอบครัว

ทุกคน อาจจะเคยได้ยินกับคำกล่าวที่ว่า “You are what you eat” หรือแปลว่า “คุณกินอะไรเข้าไป คุณก็เป็นอย่างนั้น”  แต่หากจะเข้าบริบทกับเรื่องราวนี้ อาจจะบิดเป็น “You are what you read” 

คุณเสพอะไรเข้าไป คุณก็เป็นแบบนั้น!

เปิดสถิติแบนหนังสือ ห้ามเผยแพร่หนังสือทั่วโลก แค่หนังสือ สั่นคลอนความมั่นคงของชาติ ขนาดนั้นเลยเหรอ ?

ดังนั้น บริบทในไทยจึงเกิดความกลัวขึ้น  , ในเมืองไทย หนังสือต้องห้าม มักเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่ถูกสั่งระงับ โดยสถาบันทางศาสนาหรือโดยรัฐบาล ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เนื่องจากมีเนื้อหาที่คนกลุ่มนี้มองว่าน่าคัดค้านหรือเป็นอันตรายต่อแนวคิดที่พวกเขายึดถือ ทั้งจากเหตุผลทางศาสนา, การเมือง หรือสังคม โดยจะถูกห้ามไม่ให้จัดจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เพราะเนื้อหาเหล่านี้อาจนำไปสู่การโต้แย้ง หรือการท้าทายต่อศรัทธาความเชื่อในสังคม  และ ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่ง สตช. สั่งแบนหนังสือ-บทความ ที่เขียนโดย “ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์” ก็ถือเป็นเคสล่าสุด

เรื่องของการแบน หนังสือจากทั่วโลกนั้น  เว็บไซต์ wordsrated.com ให้สถิติไว้ว่า การแบนหนังสือครั้งแรกสุดเท่าที่มีบันทึกไว้ มีมาตั้งแต่ก่อนยุคสากลปัจจุบัน ไล่ตั้งแต่โรมันโบราณไปจนถึงจีน เพื่อปิดปากนักเขียนบางคนและผลงานของเขา สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นปกติ 

การแบนหนังสือ การสั่งห้ามเผยแพร่หนังสือ นี้ไม่เคยห่างหายไปแม้แต่ในโลกยุคใหม่ ความพยายามเซ็นเซอร์หนังสือบางเล่มมีให้เห็นเสมอ รายงานชิ้นนี้เน้นการสั่งห้ามเผยแพร่หนังสือจากรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ อาศัยข้อมูลที่มีให้ค้นได้ซึ่งเชื่อว่าตัวเลขจริงน่าจะมากกว่านี้

เปิดสถิติแบนหนังสือ ห้ามเผยแพร่หนังสือทั่วโลก แค่หนังสือ สั่นคลอนความมั่นคงของชาติ ขนาดนั้นเลยเหรอ ?

การแบนหนังสือจำแนกเป็นรายทวีป

*ประเทศเอเชียแบนหนังสือเกือบ 44% ของโลก
*ยุโรป 33% 
*อเมริกาเหนือ 7.41%
*แอฟริกาและออสเตรเลีย (รวมถึงนิวซีแลนด์) 6.61%
*อเมริกาใต้มีเพียง 2.38% ส่วนใหญ่ในชิลียุคปิโนเชต์

การแบนหนังสือจำแนกเป็นรายประเทศ 

*อินเดียแบนหนังสือมากที่สุดในโลก 11.11%
*จีน 8.99%
*สิงคโปร์ 8.47%
*ไอร์แลนด์ 6.35% (มากที่สุดนอกทวีปเอเชีย)
*ออสเตรเลียและสหรัฐ 5.29%
*เยอรมนี สเปน รัสเซีย และสหราชอาณาจักร ติดกลุ่มท็อปเท็น
ศตวรรษที่ 20 เป็นศตวรรษแห่งการแบนหนังสือ แต่อย่าลืมว่า โลกยุคใหม่มีการบันทึกสถิติชัดเจนกว่าสมัยก่อน
*กว่า 70.9% ของการแบนหนังสือทั้งหมดเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 20
*กว่า 16.62% ของการแบนหนังสือทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 21
*7.61% ของการเซ็นเซอร์เกิดขึ้นระหว่างปี 1801-1900 ขณะที่ 100 ปีก่อนหน้านั้นแบนหนังสือ 2.54%
*ฐานข้อมูลที่มีพบการแบนหนังสือในศตวรรษที่ 14 และ 16 ด้วย แม้แต่ก่อนกาลสมัยสากลก็มีบันทึกการแบนหนังสืออยู่บ้าง

หนังสือที่ถูกห้ามเผยแพร่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องแต่ง เช่น นวนิยาย แต่ก็มีการห้ามเผยแพร่หนังสือเด็ก, หนังสือศาสนา, คำประกาศทางการเมือง, ประวัติบุคคลบางคน, บทกวี, งานวิชาการ หรือแม้แต่หนังสือการ์ตูนด้วย

ประเภทหนังสือที่ถูกห้ามเผยแพร่

นวนิยาย 42.2%
เรื่องจริงทั่วไป  25.38%
เรื่องแต่งทั่วไป8.26%
หนังสือการเมือง (คำประกาศ แผ่นพับ) 7.65%
ประวัติบุคคล/อัตชีวประวัติ  4.28%
หนังสือศาสนา  4.28%
คู่มือต่างๆ 2.75%
หนังสือเด็ก 1.53% 
บทกวี บทกลอน 1.53%
หนังสือการ์ตูน 0.92%
หนังสือเชิงวิชาการ 0.61%
เอกสาร 0.31% 
ตำราเรียน  0.31% 

ที่มา: wordsrated


ความจริงข้อหนึ่งที่สำคัญ  ,หนังสือ คือประตูสู่โลกกว้าง เป็นการไขลูกบิดประตูสู่จินตนการ เพราะหนังสือบางเล่มนั้นช่วยท้าทายกระบวนการรับรู้ที่เราเคยมีมาตลอดชีวิต ขณะที่บางเล่มก็อาจเป็นแรงบันดาลใจให้คนทั้งยุค

การแบนหนังสือ - จึงอาจเท่ากับการปิดกั้นโลกแห่งความคิดและจินตนาการ ที่อาจนำไปสู่การพัฒนาตนเองและสังคมให้ดีขึ้นได้ และความจริงแล้ว ในโลกในยุคนี้ ที่ถูกทุกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ มันควรจะเอาข้อมูล สารทั้งหมด มาเปิดเผย แล้วผ่านการถกเถียง แลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุผล และจากนั้น สังคมจะได้ข้อสรุปที่ตะกอนแล้วจริงๆ... 

related