svasdssvasds

รู้จักท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ในละครพรหมลิขิต ภาคต่อ บุพเพสันนิวาส 2

รู้จักท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ในละครพรหมลิขิต ภาคต่อ บุพเพสันนิวาส 2

รู้จักท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ หญิงแกร่งสมัยกรุงศรีอยุธยา ในละครพรหมลิขิต ภาคต่อ บุพเพสันนิวาส 2 กับชีวิตที่น่าสงสารถูกกดขี่สารพัด จนคนดูอินกับบท ใน EP1 ตอนแรกที่ รับบทโดยซูซี่ สุษิรา แน่นหนา

ละครพรหมลิขิต

บุพเพสันนิวาส เคยเป็นละครที่สร้างปรากฎการณ์ในประเทศไทย เมื่อปี 2561 ที่มีผู้ชมมากที่สุดติดงอมแงมกันทั่วบ้านทั่วเมือง กระทั่ง ละคร พรหมลิขิต หรือ (บุพเพสันนิวาส 2) เป็นละครภาคต่อ ได้ออนแอร์ตอนแรก เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 และกลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึง ด้วยความอินในบทจนดูน่าสงสาร ของ แม่มะลิ หรือ ท้าวทองกีบม้า (สุษิรา แอนจิลีน่า แน่นหนา) ที่ต้องเจอชะตากรรมยากลำบาก หลังเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ถูกฆ่า และพระเพทราชา ขึ้นครองราชย์ ซึ่ง กรมพระราชวังบวร (จิรายุ ตันตระกูล) อยากได้ ท้าวทองกีบม้า มาเป็นเมีย แต่เธอไม่ยอม จึงถูกจับตัวไปขังในคุกทุกข์ทรมาน

อย่างไรก็ตาม แม่มะลิ หรือ ท้าวทองกีบม้า เป็นตัวละครที่มีเค้าโครงจากฉากหน้าประวัติศาสตร์จริง ท้าวทองกีบม้า เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส–ญี่ปุ่น และยังเป็นผู้คิดค้นสูตรขนมหวานอย่าง ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด 

รู้จักท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ในละครพรหมลิขิต ภาคต่อ บุพเพสันนิวาส 2

ประวัติชีวิตนางฟอลคอน หรือ “ท้าวทองกีบม้า”

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และ ปรามินทร์ เครือทอง อธิบายประวัติของมาดามฟอลคอนไว้ในหนังสือเรื่องการเมืองในประวัติศาสตร์ “ขนมหวาน” ของท้าวทองกีบม้า ว่านางเป็นสตรีลูกครึ่งโปรตุเกส–ญี่ปุ่น ชื่อของนางสะกดได้หลายแบบ เช่น มารี ปินยา เดอ กีร์มา หรือ มารี ชีมาร์ด หรือ แคทเทอรีน เดอ ทอร์ควิมา อย่างไรก็ตาม ในจดหมายฉบับที่ผู้เขียนนำเสนอนี้นางเองใช้ชื่อว่า “ดอญ่า กูโยม่า เดอ ปิน่า”

บรรพบุรุษฝ่ายบิดาของนางนั้นน่าจะเป็นชาวญี่ปุ่นและเชื้อสายโปรตุเกส ซึ่งถูกขับไล่ออกจากประเทศหลังจากที่ โชกุน ฮิเดะโยชิ ขัดขวางการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และขับไล่ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารีตให้ออกจากประเทศ กลุ่มชาวญี่ปุ่นนี้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านญี่ปุ่นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับหมู่บ้านโปรตุเกส จึงเป็นเหตุให้นางฟอลคอนคุ้นเคยกับหมู่บ้านทั้งสองนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก

เมื่อเติบโตขึ้น นางคงใช้ชีวิตอยู่ภายในหมู่บ้านหรือค่ายนั้น และได้พบกับฟอลคอนซึ่งเริ่มเข้าทำงานในสยามกับพระคลัง ที่ต้องติดต่อกับชาวต่างชาติเสมอ ฟอลคอนเองก็คุ้นเคยกับหมู่บ้านโปรตุเกสเป็นอย่างดีมาก่อน ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าฟอลคอนนั้นพูดโปรตุเกสได้เป็นอย่างดีด้วย

หลังจากที่ฟอลคอนเข้าทำงานในสยามแล้ว ก็ได้แต่งงานกับนางฟอลคอน จากนั้นนางได้ช่วยเหลือสามีดูแลรับรองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในสยามทั้ง พ่อค้า บาทหลวง และทูต ทั้งที่อยุธยาและที่ลพบุรี จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2231

ท้าวทองกีบม้า

ช่วงชีวิตตกต่ำของ“ท้าวทองกีบม้า”

เมื่อพระยาวิไชเยนทร์ผู้เป็นสามี ถูกตัดสินประหารชีวิตและริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน ขณะที่พระยาวิไชเยนทร์กำลังจะถูกประหารนั้น บางบันทึกระบุว่า "นางเศร้าโศกร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ" บ้างก็ว่า นางมิได้ร่ำไห้ให้สามีแม้แต่น้อย แต่นางกลับถ่มน้ำลายรดหน้าสามี และไม่ยอมให้จูบลาลูก ซึ่งมารีกีมาสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องประสบเคราะห์กรรมและความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกขเวทนากับกับคุมขัง ต่อมาได้ถูกนำตัวไปเป็นคนใช้ในวัง และได้ไปเจอกับ หลวงสรศักดิ์ พระโอรสในสมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าแผ่นดินใหม่ ได้หลงไหล มารีกีมา มากและอยากได้ไปเป็นเมีย แต่สุดท้ายเธอไม่ยินยอมจึงกลายเป็นแค้นและถูกกลั่นแกล้ง

มารี กีมาร์

มารี กีมาร์ พยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นายพลเดฟาร์ฌที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ที่บางกอกและได้ให้สัญญากับ มารีกีมา ว่าจะพาออกจากกรุงสยาม แต่สุดท้ายนายพลเดฟาร์ฌได้หัก นาง มารี กีมาร์ โดยได้ถูกส่งตัวกลับมายังกรุงศรีอยุธยา 

บั้นปลายชีวิต“ท้าวทองกีบม้า”

ในบันทึกของเมอซีเยอโชมง ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในปี พ.ศ. 2262-2267 ให้ข้อมูลว่าหลังที่พบ มารี กีมา ชีวิตของเธอได้กลับมาดีขึ้น ได้อยู่ในพระราชวังหลวง และมีลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชากว่า 2,000 คน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้เข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชา

โดย ท้าวทองกีบม้า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต คืนเงินสู่ท้องพระคลังปีละครั้งมากๆทุกปี จนเป็นที่โปรดปรานในองค์พระมหากษัตริย์รวมทั้งจอร์จ บุตรชายของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่ ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ.2265 ตอนที่เธอมีอายุ 63-64 ปี

ข้อมูลจาก : ศิลปวัฒนธรรม , ช่อง 3 , You Tube : HOY APISAK


ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related