svasdssvasds

ชาวเอเชียในสหรัฐฯ ป่วยจิตเวชพุ่ง และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง!

ชาวเอเชียในสหรัฐฯ ป่วยจิตเวชพุ่ง และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง!

ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียป่วยจิตเวชพุ่ง และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง เพราะยังคงเผชิญกับ ‘อคติ’ และ ‘การเลือกปฏิบัติ’ ตลอดเวลา

ในสหรัฐอเมริกา มีชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 23.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 7.1% ของประชากรทั้งหมด และยังเป็นกลุ่มสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่ “Pew Research Center” เปิดเผยว่า พวกเขาส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับอคติและการเลือกปฏิบัติ ที่กลายเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขาไปแล้ว

การศึกษาที่อ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 7,000 ราย ทำให้พบว่าชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียส่วนใหญ่มองว่า ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อชาวเอเชียนั้น ได้รับความสนใจในระดับชาติน้อยเกินไป และรายงานยังพบอีกว่าชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียประมาณ 1 ใน 3 ถูกสั่งให้เดินทางกลับประเทศของตน และ 40% ของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียที่มีอายุ 18-29 ปี กล่าวว่า พวกเขาเป็นเพื่อนกับคนเอเชียที่ถูกคุกคาม หรือถูกโจมตีเป็นการส่วนตัว นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19

นอกจากนี้ข้อมูลยังระบุอีกว่า ปี 2021 มีอาชญากรรมจากการเหยียดผิวชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่วน 2022 เป็นปีที่เลวร้ายที่สุดรองลงมา

ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียป่วยจิตเวชมากขึ้น

การเหยียดเชื้อชาติที่ยังคงอยู่ ทำให้ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียกำลังมีคุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานจาก “ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ (CDC) ” ที่เผยว่า วัยรุ่นอเมริกันเชื้อสายเอเชียกำลังป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น และการฆ่าตัวตายก็เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของวัยรุ่นอเมริกันเชื้อสายเอเชียที่มีอายุ 20-24 ปี

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญปัญหาสุขภาพจิตในสหรัฐอเมริกา มองว่า เหตุผลที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเลือกที่จะต่อสู้กับโรคจิตเวชของตนเองเงียบๆ โดยไม่ขอความช่วยเหลือ เพราะชาวเอเชียมีวัฒนธรรมเรื่องการมองปัญหาสุขภาพจิตที่แตกต่างจากชาวตะวันตกอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากพวกเขากลัวการถูกคนอื่นมองว่า ‘อ่อนแอ’ หรือ ‘เป็นบ้า’ จึงเลือกไม่ไปปรึกษาจิตแพทย์ ทำให้คนกลุ่มนี้ขาดการรักษาที่เพียงพอ

 

ชาวเอเชียในสหรัฐฯ ป่วยจิตเวชพุ่ง และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง!

การศึกษาของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ได้ตรวจสอบความต้องการด้านสุขภาพจิตของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษาที่มาจากอินเดีย กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย เกาหลี ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ทำให้พบว่า ถ้าเป็นไปได้พวกเขาจะขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากเป็นโรคที่น่าละอายในประเทศบ้านเกิด

อย่างไรก็ตาม นอกจากการถูกโจมตีด้วย อคติ และการเลือกปฏิบัติแล้ว ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้พวกเขาป่วยเป็น โรคซึมเศร้า มากขึ้น ซึ่งได้แก่

 

  • ความกดดันที่จะต้องประสบความสำเร็จทั้งในด้านวิชาการ และวิชาชีพ
  • การกล่าวโทษตัวเองในเรื่อง “ความล้มเหลว” ที่ทำให้ครอบครัวอับอาย เช่น ได้เกรดไม่ดี หรือขัดต่อความต้องการของผู้ปกครอง
  • ติดอยู่ตรงกลาง ระหว่างค่านิยมแบบอเมริกันที่เน้นความเป็นปัจเจกชน กับค่านิยมดั้งเดิมของเอเชียที่เน้นความสัมพันธ์กับครอบครัว
  • ต้องแสดงออกว่าตัวเองขยัน ฉลาด และรับผิดชอบชีวิตได้ดีอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีแรงกดดันในชีวิตขนาดไหน แต่เพราะค่านิยมที่เชื่อกันว่า คนรุ่นพ่อแม่หรือรุ่นก่อนๆ เจอบาดแผลที่หนักกว่านี้มาก ทำให้ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียส่วนใหญ่ จึงมองว่าอุปสรรคของตนไม่มีความสำคัญอะไร และต้องก้มหน้าฝืนใช้ชีวิตที่ตัวเองก็ไม่ต้องการต่อไป

และถึงแม้ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะผ่านจุดที่หนักที่สุดไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่ากระแสความเกลียดชังที่มีต่อชาวเอเชียก็ยังคงอยู่ และชาวเอเชียก็ต้องยอมรับความเจ็บปวดนี้ต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

related