svasdssvasds

Pride Month : ฮาร์วี มิลค์ นักการเมืองเกย์คนแรก ที่ถูกยิงตาย จนกลายเป็นหนัง

Pride Month : ฮาร์วี มิลค์ นักการเมืองเกย์คนแรก ที่ถูกยิงตาย จนกลายเป็นหนัง

Pride Month : เจาะชีวิต "ฮาร์วี มิลค์" นักการเมืองเกย์คนแรกสหรัฐฯ จากยุค 70s ถูกลอบยิง และชีวิต ถูกสร้างเป็นหนัง สร้างแรงบันดาลใจ ให้โลกตะหนักถึงความสำคัญของชีวิตทุกคน

แด่วาระ  "Pride Month" ใน เดือนมิถุนายน ซึ่งเดือนแห่งความภาคภูมิใจ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1960 ซึ่งยุคที่สังคมยังไม่เปิดรับผู้มีความหลากหลายทางเพศเหมือนในวันนี้  ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ บางคนถึงขับไล่ออกจากบ้าน พวกเขาจำต้องหลบปิดบังตัวตนไม่ให้ใครได้รู้ , SPRiNG ขอชวนมาทำความรู้จัก ชีวิตของ “ฮาร์วีย์ มิลค์” นักการเมืองเกย์อเมริกันคนแรก ที่เปิดเผยต่อสารณชน  แต่สุดท้ายบทสรุปเป็นอย่างอย่างน่าเสียดาย เพราะเขาถูกลอบสังหาร  และหลังจากนั้น  ชีวิตของเขาถูกชุบชีวิตในภาพยนตร์ “MILK” ผู้ชายฉาวโลก

• ฮาร์วี มิลค์ คือใคร ? 

ฮาร์วี มิลค์  Harvey Milk ถือเป็นนักการเมืองที่ยอมรับว่าตัวเอง เป็น LGBTQ คนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งจากชาวสหรัฐฯ โดยเขาได้เป็นคณะกรรมการบริหารจากเขต 5 ของซานฟรานซิสโกในปี 1977 โดยก่อนนั้น เขาแพ้เลือกตั้งและต้องชนกับความผิดหวัง 3 ครั้ง  โดยก่อนที่เขาจะมาเป็นนักการเมืองนั้น  เขาเคยเป็นทหารเรืออยู่ในกองทัพสหรัฐฯ ในช่วงปี 1951 -1955 แต่เขาต้องลาออกจากราชการ หลังจากที่ผู้บังคับบัญชาทราบเรื่องรสนิยมทางเพศของเขา 

Pride Month : เจาะชีวิต "ฮาร์วี มิลค์" นักการเมืองเกย์คนแรกสหรัฐฯ จากยุค 70s  ถูกลอบยิง และชีวิต ถูกสร้างเป็นหนัง สร้างแรงบันดาลใจ Credit ภาพจาก IG harveymilkfoundation
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ "ฮาร์วี มิลค์" เรียกร้อง ในช่วงที่เป็นนักการเมือง และปูทางให้กับประชาชน รวมถึงชุมชน LGBTQ ในเวลานั้น ถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก 

เพราะหากมองในมุมมองของปีปัจจุบัน ที่โลกเข้าสู่ยุคออนไลน์และเต็มไปด้วยความหลากหลายแล้ว  เรื่องการเรียกร้องสิทธิ์ ความเท่าเทียม ของชาวเพศทางเลือก หรือ กลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ  อาจจะดูเป็นเรื่องปกติสามัญธรรมดา , 

แต่หากย้อนกลับไปในยุค 1970s ปัญหาการของการ racist หรือ การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ เหยียดเพศ นั่นคือปัญหาใหญ่ของสหรัฐฯ  กลุ่มคนพวกนี้ ไม่ต่างอะไรกับการเป็นคนชายขอบของสังคม

ช่วงเวลาสั้นๆที่ฮาร์วี มิลค์  เป็นนักการเมือง ซาน ฟรานซิสโก เขายังเป็นผู้ผลักดันร่างกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติทางเพศ ในบริการสาธารณะ ที่อยู่อาศัย และการจ้างงาน  นอกจากนี้ ฮาร์วี มิลค์ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่ กลุ่มคนรักเพศเดียวกันเท่านั้น แต่เขายังเข้าหากลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคม กลุ่มชายขอบของสังคมสหรัฐฯในยุค 1970s ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน คนพิการ คนผิวสี คนเอเชีย ผู้ที่ถูกสังคมมองข้ามไปอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม บทสุดท้ายของฮาร์วี มิลค์ Harvey Milk (รวมถึง จอร์จ มอสโคนี นายกเทศมนตรีซานฟรานซิสโก ณ ขณะนั้น) กลายเป็นเรื่องน่าเศร้า , เขา ถูก แดน ไวท์ นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องความเท่าเทียมและสิทธิ์ของกลุ่มเพศทางเลือกยิงกระหน่ำอย่างโหดร้าย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 1978 ก่อนที่แดน ไวท์จะถูกจับกุมและถูกตัดสินให้มีความผิด และต้องจำคุกถึง มกราคม 1984 (พ.ศ. 2527)

Pride Month : เจาะชีวิต "ฮาร์วี มิลค์" นักการเมืองเกย์คนแรกสหรัฐฯ จากยุค 70s  ถูกลอบยิง และชีวิต ถูกสร้างเป็นหนัง สร้างแรงบันดาลใจ Credit ภาพจาก IG harveymilkfoundation

• ชีวิตของ ฮาร์วีย์ มิลค์ ในนาม “MILK ผู้ชายฉาวโลก”

ในปี 2008 มีภาพยนตร์ชีวประวัติของ ฮาร์วีย์ มิลค์ เข้าฉายนั่นก็คือ “MILK ผู้ชายฉาวโลก” แสดงโดย ฌอน เพย์น นักแสดงมากฝีมือ และเป็นซูเปอร์สตาร์ ณ เวลานั้น  และพาให้ภาพยนตร์ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 8 สาขา ซึ่งรวมถึงเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย แต่ชนะรางวัลทั้งหมด 2 สาขา ได้แก่ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในบทบาทนำของเพนน์ และสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม 

ดังนั้นภาพยนตร์ “MILK ผู้ชายฉาวโลก” เรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนการปลุกชีวิตของ “ฮาร์วีย์ มิลค์” ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง และให้ชีวิตของ ผู้เรียกร้องสิทธิ LGBTQ ยุคแรกๆ ให้กลับมาโลดแล่นอยู่บนจอภาพยนตร์ หรือเรียกได้ว่าทำให้ ฮาร์วีย์ มิลค์ กลับมามีชีวิตอีกครั้งเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ว่า การมีอยู่ของกลุ่ม LGBTQ+ มีการต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิ์ต่างๆ มาตั้งแต่ในอดีตและยังเป็นมรดกการต่อสู้ที่หลงเหลือมาสู่กลุ่มคนรุ่นหลังให้มีแรงสู้ต่อไปจนกว่าเราจะได้รับในสิทธิ์ที่เราควรได้

Pride Month : เจาะชีวิต "ฮาร์วี มิลค์" นักการเมืองเกย์คนแรกสหรัฐฯ จากยุค 70s  ถูกลอบยิง และชีวิต ถูกสร้างเป็นหนัง


• สิ่งที่  ฮาร์วีย์ มิลค์ ฝากไว้ จนถึงทุกวันนี้ 

หลังจากที่เขาเสียชีวิต สกอตต์ สมิธ แฟนหนุ่มของ ฮาร์วี มิลค์ ก็รับหน้าที่ต่อสู้เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของ  LGBTQ มาโดยตลอด และกลุ่มคนที่เข้ามาร่วมเป็นชาวเราในร้านขายกล้องของฮาร์วีย์ มิลค์ ก็เริ่มมีการเติบโตแตกต่างกันไปในหลายสายอาชีพ เช่น ช่างภาพสารคดี นักธุรกิจ นักเคลื่อนไหวหัวก้าวหน้า

แต่ที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นก็คือ การที่ฮาร์วีย์ มิลค์ ประกาศให้ชาวอเมริกาและคนทั้งโลกได้รู้ว่า การที่เป็นเกย์นั้นไม่ต่างอะไรกับชายและหญิง พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ

รวมถึงการที่คนเป็นเกย์นั้นไม่ใช่ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดจากศาสนาใดศาสนาหนึ่ง พวกเขาเป็นคนปกติที่มีรสนิยมทางเพศในอีกแนวทางหนึ่งเท่านั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน ต้องได้รับการปฏิบัติและการดูแลจากภาครัฐเหมือนกันในคนทุกเพศ

ฮาร์วี มิลค์ ได้รับเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี Presidential Medal of Freedom  โดยบารัก โอบามา (Barack Obama) เป็นผู้มอบรางวัลในปี 2009 โดยผู้ที่รับเหรียญเกียรติยศครั้งนี้ เป็น สจ๊วร์ต มิลค์ หลานชายของมิลค์ ซึ่งปัจจุบันยังคงทำงานรณรงค์ด้านสิทธิ LGBTQ+ ต่อจากผู้เป็นลุงของเขา และ วันที่ 14 มิถุนายน 2018 ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนจาก ถนนสตาร์ก ในปอร์ตแลนด์ โอเรกอน ไปเป็นชื่อ ถนนฮาร์วีย์ มิลค์ เพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่งที่มิลค์อุทิศชีวิตตนเอง ต่อชุมชนชาว LGBTQ

ขณะที่ ปี 2020 กองทัพ เรือสหรัฐฯ ได้ตั้งชื่อเรือ Harvey Milk เพื่อเป็นเกียรติแก่ฮาร์วีย์ มิลค์ ที่ เคยเข้าเป็นทหารในกองทัพเรือสหรัฐ ในระหว่างปี 1951–1955  แต่เขาต้องลาออกหลังผู้บังคับบัญชาทราบเรื่องรศนิยมทางเพศของฮาร์วีย์ มิลค์ 


 

related