svasdssvasds

หนี้นอกระบบ กับการทวงสุดโหด : เปิดข้อกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้แค่ไหน ?

หนี้นอกระบบ กับการทวงสุดโหด : เปิดข้อกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้แค่ไหน ?

ใครที่เป็นหนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นในระบบ หรือนอกระบบ มันอาจจะส่งผลร้ายต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เหมือนมี ชนักติดหลังตลอดเวลา แล้วยิ่งถูกตามทวงด้วย ชีวิตย่อมไม่เป็นสุข ดังนั้น SPRiNG ชวนทำความรู้จักกับ กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ ไปรู้วิธีการทวงหนี้ แบบไหนทำได้ แบบไหนทำไม่ได้

เรื่อง ปัญหา หนี้นอกระบบ รวมถึงหนี้ในระบบ กลายเป็นวาระแห่งชาติ จากการประกาศของเศรษฐา ทวีสิน ในช่วงที่ผ่านมา ,รัฐบาลเพื่อไทย พยายามไฮไลท์ประเด็น "หนี้" ขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่า มีความตั้งใจและมีความพยายามจะเดินหน้าแก้ปัญหาเหล่านี้ 

แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่โกหกตัวเองจนเกินไป , เรื่อง หนี้ นั้นถือเป็นปัญหาเรื้อรังและฝังอยู่กับสังคมไทยมานาน และเป็นเรื่องยาก , โดยเฉพาะ ถ้าหากเป็น "หนี้นอกระบบ" ความรุนแรงของปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงเข้าไปอีก 

หลายคนต้องไปกู้เงินจาก “เจ้าหนี้นอกระบบ” และไม่ใช่ทุกคนที่จะชำระหนี้ได้ตรงเวลา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิติดตามทวงถามซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ผ่านมาในสังคมไทย เรากลับได้ยินข่าว “การทวงนี้โหด” อยู่เรื่อยๆ ความรุนแรงของการทวงหนี้มีทั้งการคุกคามข่มขู่ ทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน ทำให้อับอาย การประจานลูกหนี้ลงสื่อออนไลน์ หรือที่ทำงาน เป็นต้น 

จนเกิดคำถามว่า ขอบเขต “การทวงหนี้” ที่ถูกกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 อยู่ตรงไหน ? และใครจะเป็นที่พึ่งเมื่อลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ทวงหนี้โหด ?

หนี้นอกระบบกับการทวงสุดโหด : เปิดข้อกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้แค่ไหน ?

• ใครมีสิทธิทวงหนี้บ้าง ทั้งในระบบ และ นอกระบบ ?
 

ผู้มีสิทธิทวงหนี้ คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบด้วย และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็อยู่ในข่ายเช่นกัน (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ซึ่งในกรณีผู้รับมอบอำนาจมาทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามต่อหน้าต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย

หนี้นอกระบบกับการทวงสุดโหด : เปิดข้อกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้แค่ไหน ?

• ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ห้ามทำโดยเด็ดขาด ? 

- ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่คนที่ลูกหนี้ ระบุไว้ 
- ห้ามบอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้อื่นรู้ ยกเว้น เป็นคนในครอบครัวลูกหนี้ เช่น สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน และคนอื่นถามเจ้าหนี้ว่า "มาติดต่อเพราะสาเหตุอะไร"
- ไม่ให้ประจานหรือทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง 
- ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมาย หนังสือหรือสื่อใดๆ ให้(บุคคลอื่น) เข้าใจว่า ติดต่อเพื่อทวงหนี้ 
- ห้ามติดต่อ หรือทำให้ผู้ติดต่อด้วยเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้
- ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง ทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น หากฝ่าฝืนมีมีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
- ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น 
- ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นๆ (ตามคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้)

หนี้นอกระบบกับการทวงสุดโหด : เปิดข้อกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้แค่ไหน ?


• หากเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้ามจะมีผลอย่างไร ?

 

หากพบว่ามี เจ้าหนี้หรือผู้ที่ทวงถามหนี้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ข้างต้น ถือว่ามีความผิด ประชาชนสามารถแจ้งร้องเรียนเอาผิดได้ โดยคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้สามารถมีคำสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับได้

• เปิดขั้นตอน แฉวิธีเจ้าหนี้นอกระบบ จะทวงหนี้ พวกเขาอย่างไร ? 
 

จากเรื่องราวที่เป็นข่าวตามสื่อต่างๆ เรื่องประเด็นการท้วงหนี้นั้น , สำหรับคนขาดการจ่ายหนี้ต่อเนื่องหลายวัน อาจจะมีทีมฮาร์ดคอร์ของคนฝั่งเป็นเจ้าหนี้  ส่วนใหญ่จะเป็นคนนอกพื้นที่เข้ามาประชิดตัวทำร้ายร่างกาย เพราะต้องเข้าใจว่าการกู้เงินนอกระบบ “คนให้กู้เงิน” มีความเสี่ยงถูกลูกหนี้หนีไม่ยอมจ่ายเงินได้ตลอดเวลา ดังนั้นเขาต้องแสดงอำนาจเตือนไม่ให้ผู้กู้คนอื่น “เอาเป็นแบบอย่าง” ไม่กล้าหนีหนี้นั้น

ในความเป็นจริงแล้ว “การกู้เงินนอกระบบ” คนที่ยอมเป็นหนี้ ต้องแลกกับการถูกเก็บดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด และหากไม่มีเงินจ่ายยอมต้องเผชิญความเสี่ยงการถูกข่มขู่ คุกคาม หรือติดตามทำร้าย แล้วถ้าแจ้งความกับตำรวจมักจบลง “ไกล่เกลี่ย” เพราะการกู้ยืมเงินนั้นเป็นความสมยอมระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้

บางครั้งนั้น “แก๊งหมวกกันน็อก” หรือ แก๊งทวงหนี้  มักจะได้รับการปล่อยตัวออกมาคุกคามลูกหนี้หนักมากกว่าเดิม

แก๊งหมวกกันน็อกเก็บเงินกู้” ส่วนใหญ่มากกว่า 70%เป็นกลุ่มสายดาร์กๆที่เคยถูกดำเนินคดีพ้นโทษออกมาแล้ว “ไม่ได้รับโอกาสจากสังคมจนไม่มีงานทำ” ก็จะถูกชักชวนต่อๆกันให้เข้ามาทำงานในกลุ่มแก๊งหมวกกันน็อกเก็บเงินกู้นอกระบบนี้ที่ได้ค่าแรงงานรายวันและบวกคอมมิชชัน

ดังนั้น “แก๊งหมวกกันน็อกมักต้องเก็บเงินให้ได้มากๆเพื่อจะได้คอมมิชชันสูง” แล้วยิ่งลูกค้ารายใดทวงเงินได้ยากมักจะเป็นงานมีค่าคอมมิชชันสูง สิ่งนี้เป็นสาเหตุต้องทวงหนี้เงินกู้กันโหดๆ เพื่อเร่งทำยอด แล้วการก่อเหตุลงมือทำร้ายลูกหนี้แต่ละครั้ง “ต้องได้รับหน้าเสื่อก่อนเสมอ” ข่าวลือกันเพื่อเคลียร์เส้นทางไม่ให้ถูกจับดำเนินคดี


•  สมมติ ลูกหนี้พบว่าเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้าม  - สู้กลับได้ไหม ?

 

ลูกหนี้ ร้องเรียนได้ที่ “คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้” ที่มีตั้งแต่ระดับประเทศ และระดับจังหวัด หรือ “ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ” ในท้องที่ เพื่อแจ้งการกระทำความผิดได้

และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ พ.ร.บ. ทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 คุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ และตาม พ.ร.บ. นี้ ถ้าเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่เป็นเท็จ (มาตรา 12) หรือผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) จะได้รับโทษที่หนักขึ้นด้วย สุดท้ายนี้ ทีมงานของธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกหนี้ เพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related