svasdssvasds

หลักเกณฑ์พักโทษ มีอะไรบ้าง ? เมื่อราชทัณฑ์เปิดทางทักษิณ นอน รพ.ตำรวจ ต่อได้

หลักเกณฑ์พักโทษ มีอะไรบ้าง ? เมื่อราชทัณฑ์เปิดทางทักษิณ นอน รพ.ตำรวจ ต่อได้

ชวนเปิดหลักเกณฑ์พักโทษ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ? เมื่อ ราชทัณฑ์ เปิดทางไฟเขียวให้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้นอนรพ.ต่อ ขณะที่ กมธ.ตำรวจไปตรวจสอบ ก็เจอวงจรปิดเสียทั้งตึกอีก

กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคม และแสงไฟสปอร์ตไลท์จับอีกครั้ง กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เมื่อ ราชทัณฑ์ ไฟเขียว "ทักษิณ ชินวัตร" รักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลตำรวจ ตามความเห็นของแพทย์ ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการ การตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย ชัยชนะ เดชเดโช ประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยคณะทำงาน เดินทางไปที่ โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อเข้าศึกษาดูงานการนำผู้ต้องขังเข้าทำการรักษา ที่อาคารศรียานนท์ กองบังคับการอำนวยการ นานกว่า 2 ชั่วโมง

โดย ชัยชนะ พร้อม น.ส.ทิพา ปวีณาเสถียร สส.ลำปาง พรรคก้าวไกล ได้รับอนุญาตจากทางโรงพยาบาลตำรวจให้ขึ้นไปยังชั้น 14 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา เพื่อไปตรวจสอบกรณี ทักษิณ ชินวัตร  ที่พักรักษาตัว นอกเรือนจำเกิน 120 วัน หลังจากที่โฆษกโรงพยาบาลตำรวจ แถลงไปตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2567 ว่าไม่อนุญาตให้ขึ้นชั้น 14 ของโรงพยาบาล

ณ เวลานี้ สังคมเข้าใจกันว่า กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้ "ทักษิณ ชินวัตร" รักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลตำรวจ หลังอยู่เกิน 120 วัน ตามความเห็นของแพทย์ ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

คำถามที่ตามมาก็คือ แล้ว หลักเกณฑ์พักโทษ ของกรมราชทัณฑ์ มีอะไรบ้าง "ทักษิณ ชินวัตร" จะเข้าเกณฑ์พักโทษเมื่อไร 

เปิดเกณฑ์พักโทษ มีอะไรบ้าง เมื่อ ราชทัณฑ์เปิดทางให้ทักษิณ นอน รพ.ตำรวจ ต่อได้ Credit ภาพ REUTERS

จากการตรวจสอบประกาศของกรมราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ หลักเกณฑ์พักโทษ พบว่า มีอย่างน้อย 3 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการพักโทษกรณีเหตุพิเศษ คือ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยร้ายแรง หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดตั้งแต่ปลายปี 2562 (ปี 2019)  และเริ่มระบาดหนักช่วงต้นปี 2563 (ปี 2020)  ทางกรมราชทัณฑ์ได้มีการประกาศที่สำคัญออกมาอย่างน้อย 2 ฉบับ 

ฉบับแรก ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 28 ต.ค.2563 เป็นการประกาศเกี่ยวกับเรื่องหลักเกณฑ์การคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด ให้ได้เข้าโครงการพักการลงโทษกรณีที่มีเหตุพิเศษ เนื่องจากการเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือ มีอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป

ส่วน ฉบับที่ 2 เป็นการประกาศเรื่องของหลักเกณฑ์การคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด เข้าโครงการพักการลงโทษกรณีที่มีเหตุพิเศษ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักโทษเด็ดขาดสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ดังนั้น โดยสรุปของประกาศทั้ง 2 ฉบับ คือ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จึงต้องกำชับให้เรือนจำทุกแห่งเร่งรัดตรวจสอบรายชื่อกลุ่มนักโทษสูงอายุทั้ง 2 กลุ่มนี้ ที่จะได้รับการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษตามโครงการ เพราะถ้าเกิดอยู่ในเรือนจำต่อไป ย่อมมีความเสี่ยงที่จะไปติดเชื้อการแพร่ระบาดของโควิด-19

ต่อมา ในวันที่ 16 เม.ย.2564 มีการประกาศฉบับที่ 3 ออกมาจากกรมราชทัณฑ์ เป็นประกาศเรื่องของการเร่งรัดการดำเนินการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษให้นักโทษทั้ง 2 กลุ่มข้างต้น มีการส่งประกาศฉบับดังกล่าว ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ทุกเรือนจำเร่งรัดการดำเนินการ

สำหรับเงื่อนไขของนักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยร้ายแรง กรมราชทัณฑ์มีระเบียบไว้ ดังนี้

นักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพักการลงโทษทุกกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 52 (7) พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ คือ รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

ใจความโดยสรุปของประกาศทั้ง 2 ฉบับ คือ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จึงต้องกำชับให้เรือนจำทุกแห่งเร่งรัดตรวจสอบรายชื่อกลุ่มนักโทษสูงอายุทั้ง 2 กลุ่มนี้ ที่จะได้รับการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษตามโครงการ เพราะถ้าเกิดอยู่ในเรือนจำต่อไป ย่อมมีความเสี่ยงที่จะไปติดเชื้อการแพร่ระบาดของโควิด-19

ต่อมา ในวันที่ 16 เม.ย.2564 มีการประกาศฉบับที่ 3 ออกมาจากกรมราชทัณฑ์ เป็นประกาศเรื่องของการเร่งรัดการดำเนินการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษให้นักโทษทั้ง 2 กลุ่มข้างต้น มีการส่งประกาศฉบับดังกล่าว ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ทุกเรือนจำเร่งรัดการดำเนินการ

สำหรับเงื่อนไขของนักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยร้ายแรง กรมราชทัณฑ์มีระเบียบไว้ ดังนี้

นักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพักการลงโทษทุกกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 52 (7) พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ คือ รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

ดังนั้น ในกรณีของนายทักษิณ ชินวัตร จะครบ 6 เดือน ในเดือน ก.พ.2567 ที่ได้รับโทษมา 

หรือ อีกกรณี คือ จะต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางขึ้นไป หรือต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ และเป็นนักโทษที่ไม่มีโทษกักขัง หรือไม่ถูกคุมขัง ตามหมายขังในคดีอื่น และมีผู้อุปการะและยินดีรับอุปการะ

นอกจากนี้ รายละเอียดในประกาศฉบับนี้ ข้อที่ 2 ที่สำคัญ คือ นักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยร้ายแรง กรณีนี้ ให้คณะอนุกรรมการเพื่อการพิจารณาวินิฉัยพักการลงโทษ สามารถที่จะพิจารณาได้ดังนี้

  • ให้คำนึงถึงอาการเจ็บป่วยร้ายแรง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด
  • เป็นผู้ป่วยที่ต้องการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง หรืออยู่ในภาวะวิกฤต เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะติดเตียง เป็นภาวะที่ให้ผู้อื่นต้องดูแล หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น ฟอกไต ล้างไต
  • โรคมะเร็งระยะลุกลาม หรือระยะแพร่กระจาย
  • โรคเอดส์ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ระยะมีโรคแทรกซ้อนแสดง
  • อาการร้ายแรง เป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม สมองพิการ อันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต หรือพิการ
  • หากถูกคุมขังในเรือนจำจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอันตราย และทำให้มีโอกาสเสียชีวิต ศักยภาพทางร่างกาย มีโอกาสจะกระทำผิดซ้ำน้อย และเป็นบุคคลที่ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม
  • ต้องมีการรับรองอาการเจ็บป่วยจากแพทย์ อย่างน้อย 2 คน 

ทั้งนี้ ประกาศที่ออกมา เพื่อดูแลกลุ่มนักโทษเปราะบาง ไม่ใช่การประกาศเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใครคนใดคนหนึ่ง เนื่องจากช่วงนั้นมีสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกัน ว่ากรณีของ "ทักษิณ ชินวัตร" ย่อมได้อานิสงส์จากประกาศฉบับนี้ด้วย

หากมองย้อนกลับไป จนถึงปัจจุบัน และอนาคต

22 ส.ค.2566 ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เดินทางเข้าไทยรับโทษ
23 ส.ค.2566 ถูกส่งตัวรักษา ที่ โรงพยาบาลตำรวจ
12 ม.ค.2567 รักษาตัวนอกเรือนจำเกิน 120 วัน
22 ก.พ.2567 รับโทษครบ 6 เดือน 

โดยสรุป ณ เวลานี้ เดือนมกราคม 2567 ยังไม่ถึงเกณฑ์การพิจารณาพักโทษของทักษิณ ชินวัตร เพราะยังไม่เข้าเงื่อนไขที่ง่ายที่สุด นั่นคือ รับโทษมาแล้ว ครบ 6 เดือน ต้องรอให้ถึงช่วงปลายเดือน กุมภาพันธ์ เสียก่อน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related