svasdssvasds

ย้อนปัญหาคารคาซังพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ‘ไทย-กัมพูชา‘ 54 ปียังไม่จบ

ย้อนปัญหาคารคาซังพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ‘ไทย-กัมพูชา‘ 54 ปียังไม่จบ

ย้อนดราม่า พื้นที่ทับซ้อน เกาะกูด ว่าเป็นของ ไทย - กัมพูชา ม้วนเดียวจบ กว่า 54 ปีที่ยังตกลงกันไม่ได้ เพราะผลประโยชน์มหาศาล จากปิโตรเลียมใต้เกาะกูด คาดว่ามูลค่านับล้านล้านบาท

SHORT CUT

  • ปี 1972 กัมพูชาประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป โดยไม่ได้อ้างอิงหลักกฎหมายระหว่างประเทศใดๆ
  • ปี 2544 การทำข้อตกลง MOU เพื่อแก้ไขปัญหาของรัฐบาลทักษิณแต่สุดท้ายไม่คืบหน้า
  • ปัญหา 54 ปี พื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ถูกจุดเป็นประเด็นหลัง ฮุนเซน เยี่ยม ทักษิณ

ย้อนดราม่า พื้นที่ทับซ้อน เกาะกูด ว่าเป็นของ ไทย - กัมพูชา ม้วนเดียวจบ กว่า 54 ปีที่ยังตกลงกันไม่ได้ เพราะผลประโยชน์มหาศาล จากปิโตรเลียมใต้เกาะกูด คาดว่ามูลค่านับล้านล้านบาท

ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด เรื่อรังมากว่า 54 ปี ได้เกิดเป็นประเด็นให้จับตามองอีกครั้ง หลังจากนายฮุนเซนได้มาพบนายทักษิณที่บ้านจันทืส่องหล้า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2567 หลายคนสงสัยว่าอาจจะมีการเจรจา พื้นที่ซับซ้อนทางทะเล 26,000 ตารางกิโลเมตรที่ยังไม่แบ่งอาณาเขตชัดเจน และอาจทำประเทศไทยต้องเสียเกาะกูด ซึ่งเป็นของเรา และทรัพยากรอันล้ำค่าให้กัมพูชาในอนาคต

ย้อนปัญหาคารคาซังพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ‘ไทย-กัมพูชา‘ 54 ปียังไม่จบ

ย้อนอดีตกลับไปกัมพูชาได้เริ่มประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปก่อนในปี 1972 ซึ่งอาศัยหลักเขตแดนทางบกที่ 73 เป็นจุดตั้งต้น โดยลากเองอยู่ฝ่ายเดียวและไม่ได้อ้างอิงหลักกฎหมายระหว่างประเทศใดๆ  ซึ่งพื้นที่เส้นเขตแดนที่โดนเคลมไปนั้นกัมพูชาลากเส้นยาวผ่านไปยังภูเขาที่สูงที่สุดของ อ.เกาะกูด และทางกัมพูชาเคยอ้างว่าเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง

ประเด็นการอ้างสิทธิพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชามาจากหลักกฎหมายประเทศ 2 ฉบับ คืออนุสัญญาเจนีวา 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 1982 ที่ได้บัญญัติอำนาจเขตรัฐชายฝั่งเหนือไหล่ทวีป

สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส (ร.ศ.125) ปี 1907 นั้นให้ใช้เกาะกูดเป็นจุดเล็งเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ไม่ใช่สนธิสัญญาที่กำหนดเขตแดนทางทะเลแต่อย่างใด ซึ่งไทยใช้ประโยชน์จากข้อความนี้เพื่ออ้างอิงอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด ไม่ใช่การกำหนดเขตไหล่ทวีป และประเทศไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปของตัวเอง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1973 โดยอาศัยหลักเขตทางบกหลักที่ 73 เป็นจุดตั้งต้นเช่นกัน ถ้าพิจารณาตามภูมิประเทศแล้วจะพบว่า เส้นของไทยเริ่มจากบริเวณระหว่างเกาะกูดและเกาะกงลากเป็นเส้นตรงไปทางตะวันตกเฉียงใต้แล้วหักลงใต้ค่อนไปทางตะวันออกเล็กน้อยตามแนวเส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามแล้วเฉียงใต้ไปบรรจบเส้นเขตแดนไทย-มาเลเซีย

ย้อนปัญหาคารคาซังพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ‘ไทย-กัมพูชา‘ 54 ปียังไม่จบ

บันทึกข้อตกลงไทย-กัมพูชา MOU 44 ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร 

MOU 44 ซึ่งทำขึ้นสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้นเป็นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย ซึ่งมีเนื้อที่ถึง 2.6 หมื่น ตร.กม. ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ พื้นที่ทับซ้อนส่วนบนละติจูด 11 องศาเหนือ โดยมีพื้นที่ประมาณ 10,000 ตร.กม. ซึ่งจะต้องมีการเจรจาแบ่งเขตทะเลอย่างชัดเจน (Delimitation) และพื้นที่ทับซ้อนส่วนล่างอยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศา ซึ่งจะต้องมีการเจรจาเพื่อพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกัน(Joint Development Area: JDA)  โดยมีพื้นที่ประมาณ 16,000 ตร.กม  MOU กำหนดให้ทั้ง 2 ส่วน ต้องดำเนินการควบคู่กันไปไม่อาจแบ่งแยก ทั้งนี้ยังได้ตกลงกันว่าการดำเนินการทั้งหมดตาม MOU 2544 จะไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละฝ่าย  ซึ่งไทยและกัมพูชาได้มีการเจรจาและดำเนินการตาม MOU 2544  ตั้งแต่หลังการลงนามรับรองเมื่อปี 2544  แต่ก็ยังไม่สามารถตกลงหาข้อสรุปใดๆ ได้

ย้อนปัญหาคารคาซังพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ‘ไทย-กัมพูชา‘ 54 ปียังไม่จบ

 

ความพยายามยกเลิก MOU 44 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

ในปี 2552 ค.ร.ม. ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ซึ่งเหตุผลในการยกเลิกนั้นเนื่องจากการที่รัฐบาลกัมพูชาแต่งตั้งพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจาภายใต้ MOU 2544 ทำให้รัฐบาลไทยจึงไม่อาจดำเนินการเจรจาภายใต้ MOU 2544 ได้อีก  

ยุคนายกฯ ยิ่งลักษณ์ พยายามจะสานความสัมพันธ์แต่ไม่ได้ไปต่อ

ต่อมารัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการจะเร่งเจรจากับกัมพูชาเพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนดังกล่าว ฝ่ายกัมพูชาต้องการเร่งรัดการเจรจาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลตาม MOU 2544  ให้เสร็จโดยเร็ว โดยทั้งสองเห็นด้วยกับการเร่งรัดการเจรจาดังกล่าว แต่สุดท้ายก็ไม่เป้นผลเพราะถูกรัฐประหาร 2557 เสียก่อน

ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ขณะที่ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หวังเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ให้จบให้ได้ โดยมอบหมาย พล.อ.ประวิตร ลุยเจรจามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 จนเป็นที่มาการประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาวาระลับเมื่อ 3 ม.ค.2566 โดย พล.อ.ประวิตร นำวาระการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เข้ามาหารือ

ซึ่งทางกัมพูชายินดีที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยโดยใช้โครงสร้างของ คณะกรรมการร่วม (Joint Committee : JC) ระหว่างไทย -กัมพูชาเพื่อสำรวจแหล่งพลังงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ แต่สุดท้ายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ครบวาระเสียก่อน การขับเคลื่อนการเจรจาพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย- กัมพูชา จึงถูกส่งต่อให้รัฐบาลชุดใหม่ 

ยุครัฐบาลเศรษฐา

ล่าสุดถึงยุครัฐบาลเศรษฐาหลังได้รับตำแหน่ง นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เลือกเดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการเป็นประเทศแรก ซึ่งเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดีระหว่างไทย-กัมพูชา ในด้านการค้าการลงทุน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ ความมั่นคง และเป็นการเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างผู้นำเก่าทั้งสองประเทศ คือ นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน และนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร 

ย้อนปัญหาคารคาซังพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ‘ไทย-กัมพูชา‘ 54 ปียังไม่จบ

กระทั่งการบินมาส่วนตัวของสมเด็จฮุน เซน เพื่อมาเยี่ยมทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ทำให้เป็นประเด็น พื้นที่ทับซ้อน เกาะกูด ถูกพูดถึง อีกครั้ง 

ย้อนปัญหาคารคาซังพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูด ‘ไทย-กัมพูชา‘ 54 ปียังไม่จบ

แม้นายกฯและ รมว.ต่างประเทศ พูดเหมือนกันว่า การเจรจาพท.ทับซ้อนกัมพูชา ต้องทำพร้อมกัน 2 ประเด็น ทั้งเรื่องการตกลงแบ่งเขต และ การพัฒนาผลประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมมากที่สุด  โดยที่ไม่ต้องเสียดินแดนไปแม้แต่ตารางนิ้วเดียว

ด้าน นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้ออกมาพูดถึงประเด็นพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชาว่า 

“ เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทย กัมพูชาไม่มีสิทธิอ้างสิทธิทางทะเลเหนือเกาะกูดได้” 

พร้อมยกหลักฐานสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 ที่สยามยอมยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้ฝรั่งเศสเพื่อแลก กับเมืองด่านซ้ายและจังหวัดตราด

กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิในพื้นที่ รวมถึงเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลที่เขียนขึ้นมาเองใหม่ในสมัยนายพลลอนนอล ของกัมพูชาเมื่อพศ2515 ก็ไม่มีสิทธินำมากล่าวอ้างได้ 

ดังนั้นหาก ผู้ใดแอบอ้างเป็นตัวแทนคนไทยหรือรัฐบาลไทยไปเจรจาแบ่งปันหรือยกประโยชน์แหล่งพลังงานในพื้นที่อ่าวไทยที่มีเกาะกูดเป็นเส้นแบ่งเขตแดนชัดเจนมาตั้งแต่การแบ่งปันใหม่ ในสมัยรัชกาลที่5 ทรงยอมเสียดินแดน3เมือง พระตะบองเสียมราฐ ศรีโสภณเพื่อแลกจังหวัดตราดกลับคืนมา และมีข้อตกลงหมุดหลักชัดเจนปลายสุดเขตแดนประเทศไทย ที่เกาะกูดตั้งแต่พศ2450 แล้ว ผู้นั้นย่อมถูกเรียกได้ว่า “คนขายชาติ”           

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related