“ภาษี” ที่ประชาชน ภาคธุรกิจ เสียให้กับรัฐบาล จะถูกนำไปใช้บริหาร พัฒนา ประเทศอย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องช่วยกันเสียภาษีอย่างถูกต้อง และกระทรวงการคลังจะต้องบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของประชาชน
เงินส่วนหนึ่งที่รัฐบาลใช้ในการพัฒนา และบริหารประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง เพื่อตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน สำหรับการเสียภาษีในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ตามกฎหมายภาษีอากรที่บังคับใช้ โดยแต่ละประเภทมีลักษณะและวัตถุประสงค์ต่างกัน รายละเอียดดังต่อไปนี้
คุณรู้หรือไม่ว่าภาษีเงินได้ของประเทศไทยนั่นเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลหรือบริษัท แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการที่รัฐเรียกเก็บจากรายได้ของบุคคล เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง รายได้จากธุรกิจ เป็นต้น
-ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นการที่รัฐเรียกเก็บจากรายได้สุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
• 2. ภาษีทางอ้อม ( Indirect Tax)
โดยภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ ซึ่งหากเราจะซื้อสินค้า และบริการจะอยู่รวมอยู่ในราคาสินค้าแล้ว บางครั้งเราจะไม่รู้ตัวว่าเราเสียภาษีไปแล้ว อย่าง เช่น
-ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไทยยังเรียกเก็บอยู่ที่อัตรามาตรฐาน 7%
-ภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น สุรา ยาสูบ น้ำมัน
-ภาษีศุลกากร เป็นการเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้า/ส่งออกสินค้า
ทั้งนี้ภาษีประเภทดังกล่าวจะจัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ยกตัวอย่าง เช่น
-ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เป็นการจัดเก็บภาษีที่เกิดจากการถือครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
-ภาษีป้าย เป็นการจัดเก็บสำหรับป้ายโฆษณา หรือป้ายประกาศ หรือที่เราเห็นๆการตามข้างถนนทั่วไป
-ค่าธรรมเนียม และใบอนุญาตท้องถิ่น เช่น ค่าธรรมเนียมตลาด โรงฆ่าสัตว์
สำหรับภาษีต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะถูกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี อย่างเช่น กรมสรรพากร: จัดเก็บภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม , กรมสรรพสามิต: จัดเก็บภาษีจากสินค้าเฉพาะ เช่น น้ำมัน สุรา บุหรี่ และกรมศุลกากร: จัดเก็บภาษีศุลกากรจากการนำเข้า และส่งออกสินค้า ซึ่งการจัดเก็บภาษีเหล่านี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมากในการนำเงินเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้ว่า เงินภาษีที่รัฐจัดเก็บได้ถูกนำไปพัฒนาด้านใดบ้าง วันนี้จะเล่าให้ฟัง โดยเริ่มที่
•ด้านการศึกษา
โดยรัฐจะนำเงินที่ได้จากการจัดเก็บภาษีไปสนับสนุนโรงเรียนของรัฐ มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น เงินเดือนครู และบุคลากรทางการศึกษาของประเทศ อีกทั้งนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารเรียน อุปกรณ์การเรียน หนังสือ และอื่นๆ
•ด้านสาธารณสุข
สำหรับด้านสาธารณสุขจะเป็นการนำไปเป็นค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลของรัฐ และค่ารักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่เรียกกันว่า “บัตรทอง” รวมไปจนถึงนำซื้อยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลต่างๆไว้รองรับผู้ป่วย
•ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แน่นอนว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสำคัญมาก จึงได้มีการนำเงินภาษีในการก่อสร้าง และบำรุงถนน สะพาน ทางรถไฟ สนามบิน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอื่นๆ อย่าง ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า พัฒนาโครงข่ายน้ำประปา ไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
•ด้านความมั่นคง และการป้องกันประเทศ
ความมั่นคงในประเทศก็สำคัญอย่างมากกับพี่น้องประชาชน ดังนั้นจึงต้องมีการนำเงินไปสนับสนุนกองทัพ ตำรวจ และ หน่วยงานความมั่นคง ต่างๆด้วยเช่นกัน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และการป้องกันภัยจากต่างประเทศ
•ด้านสวัสดิการสังคม
ทั้งนี้เพื่อให้เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เบี้ยผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงโครงการบรรเทาความยากจน หรือช่วยเหลือในช่วงวิกฤต เช่น โควิด-19 ที่ผ่านมา
•ใช้สำหรับการบริหารราชการแผ่นดิน
สำหรับการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น จ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน และการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ
•ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและเกษตรกรรม
โดยจะสนับสนุนเกษตรกรผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น ประกันราคาสินค้าเกษตร ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม
•ด้านสิ่งแวดล้อม
จะมีการนำเงินภาษีไปใช้ในโครงการป้องกันและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำเสีย ขยะ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นตัน
สำหรับประเทศไทยของเราได้มีนโยบาย และมาตรการหลายอย่างที่ส่งเสริมให้ประชาชนเสียภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน อย่างเช่น
•ระบบภาษีดิจิทัล (E-Filing) ที่กรมสรรพากรมีระบบยื่นแบบแสดงรายการภาษีออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระของผู้เสียภาษี
•การหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าภาษีบางส่วนถูกชำระไปยังรัฐล่วงหน้า เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าบริการ ฯลฯ
•สิทธิประโยชน์ทางภาษี อย่างเช่น การลดหย่อนภาษีจากค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าเลี้ยงดูบุตร ประกันชีวิต กองทุน LTF/RMF หรือค่าซื้อสินค้าในบางช่วงเวลา เพื่อจูงใจให้คนยื่นภาษีและรายงานรายได้อย่างถูกต้อง
•การตรวจสอบและบทลงโทษ โดยมีกลไกตรวจสอบภาษีและบทลงโทษทางกฎหมาย หากพบการหลีกเลี่ยงหรือเลี่ยงภาษี
•มีการรณรงค์ให้ความรู้ อย่างเช่น โครงการ “ยื่นภาษีให้ถูกต้อง ได้คืนแน่นอน” หรือการให้ความรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
จะเห็นได้ว่า “ภาษี” ที่ประชาชน และภาคธุรกิจ เสียให้กับรัฐบาลในทุกๆปี จะถูกนำไปใช้บริหาร พัฒนา ประเทศอย่างเป็นระบบ เรียกได้ว่าจริง ๆ แล้ว “ภาษี” ก็คือ เงินของประชาชน คืนสู่ประชาชน เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยจะต้องช่วยกันเสียภาษีอย่างถูกต้อง และเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะต้องบริหารจัดการเรื่องดังกล่าวอย่างถูกต้อง รัดกุม เพื่อประโยชน์ของประชาชน และประเทศชาติบ้านเมือง