svasdssvasds

คนไทยเสีย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” มากขึ้น ดันรายได้เข้ารัฐ เพิ่ม 4.3%

คนไทยเสีย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” มากขึ้น ดันรายได้เข้ารัฐ เพิ่ม 4.3%

คนไทยเสีย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” มากขึ้น ดันรายได้เข้ารัฐ 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568 จัดเก็บทะลุ 1,138,182 ล้าน ขยายตัว 4.3 %

SHORT CUT

  • เงินส่วนหนึ่งที่รัฐบาลใช้ในการพัฒนา และบริหารประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง เพื่อตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน คือ เงินภาษี
  • สำหรับการเสียภาษีในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ตามกฎหมายภาษีอากรที่บังคับใช้ 
  • ล่าสุด กรมสรรพากร เผยว่า คนไทยเสีย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” มากขึ้น ดันรายได้เข้ารัฐ 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568 จัดเก็บทะลุ 1,138,182 ล้าน ขยายตัว 4.3 %

คนไทยเสีย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” มากขึ้น ดันรายได้เข้ารัฐ 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568 จัดเก็บทะลุ 1,138,182 ล้าน ขยายตัว 4.3 %

เงินส่วนหนึ่งที่รัฐบาลใช้ในการพัฒนา และบริหารประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง เพื่อตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน สำหรับการเสียภาษีในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ตามกฎหมายภาษีอากรที่บังคับใช้ โดยแต่ละประเภทมีลักษณะและวัตถุประสงค์ต่างกัน รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ภาษีเงินได้ ( Income Tax)

คุณรู้หรือไม่ว่าภาษีเงินได้ของประเทศไทยนั่นเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลหรือบริษัท แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการที่รัฐเรียกเก็บจากรายได้ของบุคคล เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง รายได้จากธุรกิจ เป็นต้น

-ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นการที่รัฐเรียกเก็บจากรายได้สุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

 

2. ภาษีทางอ้อม ( Indirect Tax)

โดยภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ ซึ่งหากเราจะซื้อสินค้า และบริการจะอยู่รวมอยู่ในราคาสินค้าแล้ว บางครั้งเราจะไม่รู้ตัวว่าเราเสียภาษีไปแล้ว อย่าง เช่น

-ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  ไทยยังเรียกเก็บอยู่ที่อัตรามาตรฐาน 7%

-ภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น สุรา ยาสูบ น้ำมัน

-ภาษีศุลกากร เป็นการเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้า/ส่งออกสินค้า

3. ภาษีทรัพย์สิน และภาษีท้องถิ่น ( Property and Local Taxes)

ทั้งนี้ภาษีประเภทดังกล่าวจะจัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ยกตัวอย่าง เช่น

-ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เป็นการจัดเก็บภาษีที่เกิดจากการถือครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

-ภาษีป้าย เป็นการจัดเก็บสำหรับป้ายโฆษณา หรือป้ายประกาศ หรือที่เราเห็นๆการตามข้างถนนทั่วไป

-ค่าธรรมเนียม และใบอนุญาตท้องถิ่น เช่น ค่าธรรมเนียมตลาด โรงฆ่าสัตว์

สำหรับภาษีต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะถูกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี อย่างเช่น กรมสรรพากร: จัดเก็บภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม , กรมสรรพสามิต: จัดเก็บภาษีจากสินค้าเฉพาะ เช่น น้ำมัน สุรา บุหรี่ และกรมศุลกากร: จัดเก็บภาษีศุลกากรจากการนำเข้า และส่งออกสินค้า  ซึ่งการจัดเก็บภาษีเหล่านี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมากในการนำเงินเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

ล่าสุด กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ได้รายงานการจัดเก็บรายได้เดือนเมษายนได้ 171,921 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 11,052 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 และสูงกว่าประมาณการจัดเก็บภาษีสรรพากร ตามเอกสารงบประมาณ 7,732 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.7 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายได้สะสม 7 เดือน (ตุลาคม 2567 - เมษายน 2568) กรมสรรพากรจัดเก็บได้ 1,138,182 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 47,325 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.3 และสูงกว่าประมาณการ 17,950 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.6

คนไทยเสีย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” มากขึ้น ดันรายได้เข้ารัฐ เพิ่ม 4.3%

นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า โดยสาเหตุหลักที่ กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้ในเดือนเมษายนได้สูงกว่าเป้าเป็นผลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศ (ภ.พ. 30) ที่สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.0 รวมถึงภาษีเงินได้จากการจ่ายเงินปันผล  และการจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ (ภ.ง.ด. 54) และภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่สูงกว่าประมาณการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

              

related