SHORT CUT
เปิดไทม์ไลน์เส้นทางสู่ “Entertainment Complex ไทย” ก้บ 5 ข้อเสนอนักลงทุน หวังปลดล็อกเพิ่มโอกาสเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความเห็นต่างระหว่าง ธปท.-รัฐบาล
ประเทศไทยกำลังเดินมาถึงทางแยกสำคัญในการพิจารณาร่างกฎหมายที่จะเปิดทางให้โครงการสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ เกิดขึ้นได้จริง ท่ามกลางความหวังของรัฐบาลว่าจะเป็น “เครื่องจักรใหม่” ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้จากรายงานวิเคราะห์ของ Inside Asian Gaming (IAG) ชี้ว่า จากการสัมภาษณ์เอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุน วิเคราะห์ความสำเร็จของโครงการนี้จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจสำคัญหลายประการโดยเฉพาะการปรับปรุงข้อกำหนดสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
โดยผู้ประกอบการชั้นนำระดับโลกที่มีแนวโน้มจะยื่นประมูลใบอนุญาตในประเทศไทยมีประมาณ 6 รายสำคัญ อาทิ Galaxy Entertainment Group, Melco Resorts & Entertainment, MGM Resorts, กลุ่ม Genting, Wynn Resorts และ Hard Rock International แม้จำนวนผู้สนใจจะถือเป็นตัวเลขที่แข็งแกร่ง แต่ก็ยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นที่เคยมีผู้แสดงความสนใจกว่า 20 ราย
ด้านนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลับมีมุมมองที่แตกต่าง โดยเสนอให้พิจารณาทางเลือกอื่นว่า สิ่งที่อาจมีความเหมาะสมมากกว่าการผลักดันเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ อาจปรับเป็นเวลเนสคอมเพล็กซ์ (Wellness Complex) ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้ในการทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยมากกว่า
หากเรื่องกาสิโนทำให้เกิดภาพของความเป็นเทาๆ มากขึ้นในยามนี้ ก็อาจทำให้เป็นความเสี่ยงได้
ด้าน นายณรงค์ชัย ใหญ่สว่าง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพอินเตอร์ มองว่าโครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหา Low Season ของการท่องเที่ยวไทย ซึ่งปัจจุบันฤดูท่องเที่ยวหลักกระจุกตัวอยู่เพียงในไตรมาส 4 และไตรมาส 1 เท่านั้น พร้อมยกตัวอย่างในยุโรป การมีเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ช่วยให้ไม่มีความแตกต่างของฤดูกาลท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมภายในคอมเพล็กซ์ได้ตลอดทั้งปี
สำหรับการสื่อสารเรื่องนี้กับสาธารณะ นายณรงค์ชัย เสนอว่ารัฐบาลต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่า เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ไม่ใช่แค่กาสิโน โดยสัดส่วนรายได้จากกาสิโนในคอมเพล็กซ์ทั่วโลกคิดเป็นเพียง 10-30% เท่านั้น รายได้หลักมาจากการใช้บริการอื่นๆ อย่างในลาสเวกัส รายได้จากกาสิโนมีเพียง 30% ส่วนในมาเก๊าอยู่ที่ประมาณ 25-50% และในดูไบมีเพียง 10%
นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการพัฒนาโมเดล “ดาวน์ทาวน์ดิวตี้ฟรี” เพื่อช่วยผู้ประกอบการรายย่อยและสินค้า OTOP ของไทย โดยจัดพื้นที่พิเศษที่ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีให้แม่ค้าพ่อค้าสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายในราคาที่ถูกลง ซึ่งจะช่วยกระจายผลประโยชน์ไปสู่ท้องถิ่นได้มากขึ้น
ด้านมาตรการป้องกันผลกระทบทางสังคม มีข้อเสนอให้ใช้ระบบ KYC (Know Your Customer) ที่เข้มงวดและรัดกุม ซึ่งจะช่วยจำกัดการเข้าถึงของกลุ่มเสี่ยง และป้องกันปัญหาการฟอกเงิน โดยอาจศึกษาโมเดลจากประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสิงคโปร์ที่มีการตั้งเคาน์เตอร์เฉพาะสำหรับตรวจสอบเอกสารก่อนเข้าใช้บริการ
“หลายคนเข้าใจผิดว่าเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์คือกาสิโน แต่ความจริงแล้ว กาสิโนเป็นเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ในลาสเวกัส รายได้จากกาสิโนมีเพียง 30% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนอีก 70% มาจากการแสดงโชว์ คอนเสิร์ต การเข้าพัก การท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้สอยต่างๆ ส่วนในมาเก๊า สัดส่วนรายได้จากกาสิโนอยู่ที่ประมาณ 25-50% ขึ้นอยู่กับแต่ละปี โดยในช่วงโควิด-19 ที่การท่องเที่ยวลดลง สัดส่วนนี้จะสูงขึ้น ส่วนในดูไบหรืออาหรับเอมิเรตส์ รายได้จากกาสิโนมีเพียง 10% เท่านั้น โดยเน้นการขายสินค้าในพื้นที่เป็นหลัก” ดร.ณรงค์ชัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
IAG วิเคราะห์ไทม์ไลน์ว่าหากไทยผ่านกฎหมายที่สมดุลและน่าดึงดูดการลงทุนได้ในเร็วๆ นี้ อาจมีการสรุปกฎหมายภายในปี 2568 กระบวนการประมูลในปี 2569 เริ่มก่อสร้างภายในปี 2570 และเปิดเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์รุ่นแรกประมาณปี 2574-2575
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนหลายประการยังคงต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าไทยจะประสบความสำเร็จเต็มรูปแบบ ความสำเร็จบางส่วน หรือพลาดโอกาสนี้ไป
ที่มา : thansettakij
ข่าวที่เกี่ยวข้อง