svasdssvasds

‘สงครามราคา’ลุกเป็นไฟ แล้วผู้บริโภคได้อะไรบ้าง? จากการทำแคมเปญ

‘สงครามราคา’ลุกเป็นไฟ แล้วผู้บริโภคได้อะไรบ้าง? จากการทำแคมเปญ

พามาดูข้อดี ข้อเสียของ“สงครามราคา” ผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ แข่งกันดุเดือด ผู้บริโภคได้อะไรบ้างสินค้าถูกลง-ทางเลือกมากขึ้น-แบรนด์พัฒนาตัวเอง

SHORT CUT

  • เมื่อเร็วๆนี้เราได้เห็นธุรกิจสุกี้หม้อไฟที่แต่ละแบรนด์ออกมาพ่น สาด แคมเปญใส่การอย่างเมามันส์ แต่…ในความเป็นจริงแล้วสงครามราคาไม่ได้มีแค่ช่วงนี้
  • สงครามราคาในไทยมักจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและช่วงเวลา แต่โดยรวม ยุคมือถือ (2546–2555) และ ยุคค้าปลีก + ฟู้ดเดลิเวอรี (2560–2566)
  • ประโยชน์ของสงครามราคาที่ผู้บริโภคได้ราคาสินค้าถูกลง เนื่องจากผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าและบริการในราคาที่ต่ำกว่าปกติ รวมถึงเพิ่มอำนาจในการซื้อ 

พามาดูข้อดี ข้อเสียของ“สงครามราคา” ผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ แข่งกันดุเดือด ผู้บริโภคได้อะไรบ้างสินค้าถูกลง-ทางเลือกมากขึ้น-แบรนด์พัฒนาตัวเอง

ไม่นานมานี้คุณอาจได้เห็นการแข่งขันการอย่างดุเดือดของธุรกิจสุกี้หม้อไฟที่แต่ละแบรนด์ออกมาพ่น สาด แคมเปญใส่การอย่างเมามันส์ แต่…ในความเป็นจริงแล้วสงครามราคาไม่ได้มีแค่ช่วงนี้ และในปี2568 นี้ แต่มีมากนานแล้ว และมักจะมาเป็นระยะๆ โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าน้อย การแข่งขันในตลาดมีมาก ปัจจัยเหล่านี้มักจะเห็นผู้ประกอบการออกมาทำสงครามราคากัน

สำหรับสงครามราคาที่รุนแรงที่สุดในไทย สำนักงาน กสทช. (NBTC) ได้เคยเสนอรายงานประจำปี และบทวิเคราะห์การแข่งขัน ว่า สงครามราคาในไทยมักจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและช่วงเวลา แต่โดยรวม ยุคมือถือ (2546–2555) และ ยุคค้าปลีก + ฟู้ดเดลิเวอรี (2560–2566) ถือว่ารุนแรงที่สุดในแง่ จำนวนผู้เล่น, ความถี่ของการแข่งขัน และผลกระทบต่อทั้งตลาด

แน่นอนคำว่า สงคราม อาจเป็นคำที่ดูไม่ดี และน่ากลัว แต่..ฝนเมื่อสงครามราคาเกิดขึ้นแล้ว คำถามที่ตามมาคือ แล้วผู้บริโภคได้อะไรบ้าง? สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (OTCC) รายงานวิเคราะห์ผลกระทบการแข่งขันต่อผู้บริโภค รวมถึงกรณีสงครามราคาบางกรณี ว่า สงครามราคา (Price War) คือการแข่งขันกันลดราคาสินค้าหรือบริการอย่างรุนแรงระหว่างผู้ประกอบการ โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดลูกค้าและแย่งส่วนแบ่งตลาด ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคมีทั้งด้านบวกและลบ

‘สงครามราคา’ลุกเป็นไฟ แล้วผู้บริโภคได้อะไรบ้าง? จากการทำแคมเปญ

ประโยชน์ของสงครามราคาที่ผู้บริโภคได้รับ

  • ราคาสินค้าถูกลง

เนื่องจากผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าและบริการในราคาที่ต่ำกว่าปกติ รวมถึงเพิ่มอำนาจในการซื้อ (Purchasing Power)

  • ได้สินค้า/บริการมากขึ้นในราคาเดิม

อย่างเช่น โปรโมชั่น “ซื้อ 1 แถม 1” หรือส่วนลดพิเศษทำให้ได้ของมากขึ้นคุ้มค่าเงิน

  • เกิดทางเลือกหลากหลาย

ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น เพราะแบรนด์ต่าง ๆ พยายามเสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดเพื่อแย่งลูกค้า

  • กระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับตัวพัฒนาให้ดีขึ้น

แข่งขันกันไม่ใช่แค่เรื่องราคา แต่รวมถึงคุณภาพ บริการ และนวัตกรรม เพื่อรักษาลูกค้าไว้

ข้อเสียหรือผลกระทบแฝงที่อาจเกิดกับลูกค้า

  • คุณภาพอาจลดลง

ทั้งนี้หากผู้ประกอบการลดต้นทุนเพื่อให้ราคาถูก อาจส่งผลต่อคุณภาพสินค้า/บริการ

  • ผู้เล่นรายเล็กอาจอยู่ไม่รอด

ตลาดอาจเหลือแต่รายใหญ่ เมื่อการแข่งขันหดลง โอกาสที่ราคาจะกลับขึ้นสูงก็มีมาก

  • อาจเกิดความเข้าใจผิดหรือหลอกลวงทางการตลาด

ในบางครั้งโปรโมชั่นลดราคาอาจซ่อนเงื่อนไขหรือทำให้เข้าใจผิด เช่น ลด 50% จากราคาบวกเพิ่มทีหลัง

  • กระตุ้นการบริโภคเกินความจำเป็น

ราคาและโปรโมชั่นที่จูงใจ อาจทำให้ซื้อเกินความจำเป็น เสี่ยงต่อปัญหาทางการเงินส่วนบุคคล

สงครามราคาอาจ ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภคในระยะสั้น เช่น ราคาถูก ทางเลือกหลากหลาย แต่ในระยะยาวอาจต้องระวังเรื่องคุณภาพและการแข่งขันที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งอาจย้อนกลับมาทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related