svasdssvasds

รวมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา !

รวมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา !

พาย้อนดู "คําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในรอบ 5 ปี" มีครั้งไหนบ้างที่ได้รับความสนใจจากสังคม จนมีการถกเถียงเกิดขึ้น

กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ นาย “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ถูกร้องในข้อกล่าวหาล้มล้างการปกครอง เพราะเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น ถือเป็นคดีที่ได้รับการจับตาจากทุกฝ่าย เพราะไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็อาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางการเมืองได้

ซึ่งในที่สุด วันที่ 31 ก.พ. 67 ศาลฯ ก็มีคำวินิจฉัยออกมาว่า การแก้ไขมาตรา 112 ของนายพิธา สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง และสั่งให้หยุดการกระทำ การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และยังไม่ให้ การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

เมื่อผลออกมาดังนี้ ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า พรรคก้าวไกลจะเจอกับอะไรต่อไปหลังจากนี้ แต่ก่อนจะมีความคืบหน้าครั้งต่อไป ทีม SPRINGNEWS ขอเชิญชวนมาดู การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญในรอบ 5 ปีกันดีกว่า เพราะที่ผ่านมาก็มีไม่น้อยเลยที่ได้รับความสนใจจากสังคมเช่นเดียวกับครั้งนี้

“พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ถูกร้องในข้อกล่าวหาล้มล้างการปกครอง 

 

กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ นาย “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ถูกร้องในข้อกล่าวหาล้มล้างการปกครอง เพราะเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น ถือเป็นคดีที่ได้รับการจับตาจากทุกฝ่าย เพราะไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็อาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางการเมืองได้

ซึ่งในที่สุด วันที่ 31 ก.พ. 67 ศาลฯ ก็มีคำวินิจฉัยออกมาว่า การแก้ไขมาตรา 112 ของนายพิธา สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง และสั่งให้หยุดการกระทำ การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และยังไม่ให้ การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

เมื่อผลออกมาดังนี้ จึงทำให้มีข้อสังเกตหลายประการ เช่น ทำไมการแก้ไขกฎหมายถึงเท่ากับล้มล้างการปกครอง หรือนี่เป็นก้าวแรกของการบุบพรรคก้าวไกลหรือไม่ หรือคำวินิจฉัยครั้งนี้ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า พรรคก้าวไกลจะเจอกับอะไรต่อไปหลังจากนี้

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกแน่นอนที่คําวินิจฉัยศาลของรัฐธรรมนูญกลายเป็นที่ถกเถียง เพราะในอดีตมีก็มีหลายครั้งที่ ศาลฯ ถูกตั้งคำถามว่า ตัดสินคดีโดยยึดหลักบรรทัดฐานอะไรกันแน่

ธนาธร โอนหุ้นสื่อ

ธนาธร โอนหุ้นสื่อก่อนเข้ารับตำแหน่ง

วันที่ 20 พ.ย. 62 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 ต่อ 2 ให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสภาพ ส.ส. ลงตามรัฐธรรมนูญ แม้นายธนาธรจะชี้แจงว่า โอนหุ้นไปตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. แล้ว และ บริษัท วี-ลัค มีเดียก็หยุดทำสื่อไปนานแล้ว

ทั้งนี้ หลังจากคำวินิจฉัยของศาลฯ นาย ปิยบุตร เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า กกต.และศาลควรใช้อำนาจของตนเองอย่างระมัดระวังตัว แม้จะเป็นอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากศาลจะสั่งให้นายธนาธร หยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องมีเหตุมีผลและสามารถเทียบเคียงกับกรณีที่ผ่านมาได้ อย่างกรณีของนาย “ดอน ปรมัตถ์วินัย” ที่มีหุ้นสื่อเหมือนกัน แต่สุดท้ายศาลก็ยกคำร้อง ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นบรรทัดฐานต่อคดีอื่นด้วย

ธรรมนัส ขึ้นศาลต่างประเทศ

ธรรมนัส ขึ้นศาลต่างประเทศ...แต่ไม่เคยขึ้นศาลไทย

ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ "ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เพราะเคยต้องคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้าซึ่งยาเสพติด จึงถูกร้องให้พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญไทย

แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคําวินิจฉัยในวันที่ 5.พ.ค. 64 ศาลฯ ได้ยก “หลักอธิปไตย” ของประเทศมาเป็นหนึ่งในเหตุผล ที่ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ร.อ. ธรรมนัส ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะเป็นคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ไม่ใช่คำพิพากษาไทย และหวั่นกระทบอำนาจอธิปไตยทางศาลของไทย

ต่อมาในวันเดียวกัน "นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความบนโลกออนไลน์ กรณี ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีนี้ว่า “ผมรับฟังคำวินิจฉัย แม้จะไม่ผิดความคาดหมาย ส่วนตัวคิดว่าไม่ว่าจะเป็นอาชญากรหรือนักโทษ ประเทศไทยก็เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้เป็นรัฐมนตรีได้ ตราบใดที่ไม่ได้ต้องคดีในไทย ถ้าเป็นแบบนี้พ่อค้าอาวุธทั่วโลกก็คงสามารถเอาเงินจากการก่ออาชญากรรม มาซื้อตำแหน่งรัฐมนตรี กลายเป็นผู้บริหารประเทศไทยได้ สุดท้ายยังบอกอีกว่า หากเป็นแบบนี้ต่อไป อย่าแปลกใจเลยที่คนไทยจำนวนมากจะอยากย้ายประเทศ เพราะไม่มีใคร ที่อยากอยู่ในบ้านเมืองที่ไม่มีที่อยู่ให้กับคนมีความสามารถ แต่กลับมีที่ยืนให้กับบุคคลเช่นนี้”

"ศาลรัฐธรรมนูญสร้างบรรทัดฐานใหม่ เป็นอดีตนักโทษในต่างแดนก็เป็น รมต.ไทยได้?" นายธนาธรตั้งคำถาม  

นายไพบูลย์ นิติตะวัน

ไพบูลย์ นิติตะวัน ยุบพรรคเพื่อย้ายไปพรรคอื่น

ในปี 2564 นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ถูกร้องว่า ยุบพรรค “ประชาชนปฏิรูป” ของตัวเอง เพื่อย้ายไปซบพรรคพลังประชารัฐ

กรณีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญมีนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 20 ต.ค. 64 ซึ่งผลออกมาว่า นายไพบูลย์ ไม่ต้องพ้นสภาพ ส.ส. เนื่องจากไม่ขัดกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) พรรคการเมือง

ทว่าในวันเดียวกัน นาย “สมชัย ศรีสุทธิยากร” อดีตกรรมการการเลือกตั้งได้เขียนข้อความเชิงแสดงความคิดเห็นว่า ผลคำวินิจฉัยไพบูลย์ สร้างบรรทัดฐานใหม่

โดยนายสมชัยเขียนไว้ว่า “ถูกหลักนิติ แต่พังพินาศทางรัฐศาสตร์ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคำวินิจฉัยที่ตรงไปตรงมาทางข้อกฎหมาย เพราะ หนึ่ง หากกรรมการบริหารพรรคอยากจะมีมติยุบพรรค เพราะเขาไม่อยากบริหารต่อก็ย่อมทำได้ สอง เมื่อสมาชิกพรรคคนหนึ่งที่เป็น ส.ส. เมื่อพรรคถูกยุบ เขาก็มีสิทธิหาพรรคใหม่อยู่เพื่อคงสภาพเป็น ส.ส. เขาหาได้ใน 3 วันก็ไม่แปลก เพราะ กม. ให้เวลาถึง 60 วัน”

“แต่ในทางรัฐศาสตร์ ประตูแห่งเล่ห์กลของการหลีกเลี่ยง กม. ที่ห้ามควบรวมพรรคในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎรได้ถูกเปิดโดยศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จากนี้ พรรคใหญ่ สามารถควบรวมพรรคเล็ก โดยใช้มติ กรรมการบริหารพรรคเล็ก ส่วนพรรคเล็กจะมาด้วยเสน่หา หรือ อามิสสินจ้างนั้นไม่ทราบ แต่นี่คือทางออกใหม่ที่สวยงาม ไม่ต้องลงมติไล่แถมยังไปได้เป็นกลุ่มก้อน เป็นบรรทัดฐานใหม่อีกเรื่องสำหรับการเมืองไทย
ขอบคุณมากครับท่าน” นายสมชัยเขียนฝากไว้ให้คิด

พล.อ. ประยุทธ์ นายกฯ 8 ปี

พล.อ. ประยุทธ์ นายกฯ 8 ปี

ในปี 2565 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ถูกร้องว่า ดำรงตำแหน่งมาครบ 8 ปีแล้ว โดยนับตั้งแต่ปี 2557ที่ก่อรัฐประหาร จนถึงปี 2565 จึงดำรงตำแหน่งเกินกว่านั้นไม่ได้

แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญอ่านคําวินิจฉัยในวันที่ 30.ก.ย. 65 ผลที่ออกมาคือ ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดลง เพราะ เพราะการนับวาระของพล.อ. ประยุทธ์ จะต้องเริ่มนับตั้งแต่ 6 เม.ย. 2560 ที่เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 จึงยังเหลือเวลาอีก 3 ปี

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นาย “ประเสริฐ จันทรวงทอง” เลขาธิการพรรคพรรคเพื่อไทย ก็ได้ออกมากล่าวว่า ไม่ได้กังวลว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะส่งผลให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชายังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต่อไปจนถึงครบวาระในเดือนมีนาคม 2566 และยังสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้อีก หลังเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า

แต่สิ่งที่พรรคเพื่อไทยห่วงและกังวลก็คือ ปัญหารากเหง้าที่กลืนกินสังคมไทยที่สั่งสมมาตั้งแต่การรัฐประหาร เมื่อแปดปีที่ผ่านมา จะได้รับการเยียวยาแก้ไขเพื่อให้ประเทศกลับคืนสู่สังคมประชาธิปไตย มีหลักนิติรัฐนิติธรรมโดยแท้จริงอย่างไร และที่น่าห่วงกังวลอีกประการคือ “บรรทัดฐาน” ความถูกต้องของการใช้และการตีความรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคเห็นว่าน่าจะมีปัญหาแต่ไม่มีกลไกใดที่จะตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้

พิธา รอดคดีหุ้นสื่อ ITV 

พิธา รอดคดีหุ้นสื่อ ITV 

 

ในปี 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร้องเรียนในเรื่องถือหุ้นของ ไอทีวี จำกัด ที่เป็นบริษัทสื่อชื่อดังในอดีต แต่ท้ายที่สุดวันที่ 24 ม.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำวินิจฉัยว่า บริษัท ไอทีวี จำกัดไม่ได้ประกอบกิจการหรือมีรายได้จากกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ผู้ถูกร้องจึงมิใช่ผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ

กรณีนี้ทำให้เห็นว่า ต่อจากนี้ในอนาคต อาจไม่ใช่ ส.ส. ทุกคนที่ถือหุ้นสื่อแล้วจะมีความผิด เพราะผู้ที่ร้องอาจต้องดูให้ดีก่อนว่าบริษัทเหล่านั้นยังคงทำกิจการสื่ออยู่จริงๆ หรือเปล่า

ระบบศาลไทย ใช้การพิจารณาแบบไหน

ระบบศาลไทย ใช้การพิจารณาแบบไหน

อย่างไรก็ตาม ถ้ากล่าวกันตามจริง ศาลบนโลก มีระบบหลักๆ อยู่ 2 แบบ ได้แก่ ระบบ “ซีวิลล์ลอว์ (Civil Law) ” และระบบ ระบบ “คอมมอนลอว์ (Common Law)” ซึ่งเป็นระบบที่ไทยใช้อยู่

โดยความแตกต่างข้อใหญ่ ของ 2 ระบบนี้ คือที่มาของกฎหมาย โดยระบบ “คอมมอนลอว์” คำวินิจฉัยของศาลสูงเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย (Case Law) ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลสูงนี้จะเป็นการสร้างหรือวางบรรทัดฐานใหม่ ยกตัวอย่างเช่น เวลาพิจารณาคดีที่มีข้อพิพาทเหมือนๆ กัน ศาลก็จะยึดตามการตัดสินที่เกิดขึ้นในคดีก่อนหน้า ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่วางไว้ในคดีก่อนๆ

ส่วนในระบบซีวิลล์ลอว์ ที่ไทยใช้อยู่นั้น คำวินิจฉัยของศาลสูง จะให้ปรับใช้กฎหมายเป็นคดีๆ ไป หรือกล่าวให้ชัดคือ ศาลไม่จำเป็นต้องตัดสินคดีใหม่ เหมือนกับคดีเดิม และศาลต่างๆ ก็มีอิสระโดยไม่ต้องถือหลักปฏิบัติเดียวกันก็ได้

จึงสรุปได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลในระบบ ซีวิลล์ลอว์ ไม่อาจเรียกว่าบรรทัดฐานได้ แต่อาจเป็นเพราะในประเทศไทยมีการขัดแข้งขัดขากันในเกมการเมืองอยู่ตลอดเวลา จึงมีประเด็นดราม่าอยู่เรื่อยๆ 

ที่มา : isranews

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related