svasdssvasds

รู้จัก "Karoshi Syndrome" โรคฮิตชาวญี่ปุ่น ทำงานหนักจนตาย อาการเป็นอย่างไร

รู้จัก "Karoshi Syndrome" โรคฮิตชาวญี่ปุ่น ทำงานหนักจนตาย อาการเป็นอย่างไร

เปิดเรื่องราวน่ากลัวของคนทำงานหนัก ที่อาจเสี่ยงภาวะ “Karoshi Syndrome“ โหมงานหนักจนตัวตาย หนึ่งในโรคยอดฮิตของชาวญี่ปุ่นและมนุษย์ทำงาน

 จากกรณีการเสียชีวิตของพนักงานด้านสื่อของสำนักข่าวแห่งหนึ่งคาสำนักงาน หลังโหมทำงานหนักติดต่อกันมานาน ซึ่งเรื่องนี้ถูกกล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง ต้องยอมรับว่าในยุคปัจจุบัน การทำงานสำคัญกับชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะเป็นที่มาของเงินเดือน หรือรายได้มากมายเป็นแรงผลักดันในการใช้ชีวิตของใครหลายคน แต่การทำงานหนักเกินไปโดยไม่จัดสรรเวลาให้เหมาะสม อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความเครียด ปัญหาด้านการนอนหลับ สุขภาพจิตแย่ ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีอาการ "Karoshi Syndrome" หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนญี่ปุ่นและมนุษย์ทำงาน

Karoshi Syndrome คืออะไร

 Karoshi Syndrome เป็นประเภทโรคของคนที่ทำงานหนักจนตาย ชื่อของ Karoshi (คาโรชิ) เริ่มเป็นที่กล่าวถึงกันในสังคมญี่ปุ่น หลังจากมีข่าวพนักงานหญิงวัย 31 ปี ของสถานีโทรทัศน์ชื่อดังเสียชีวิตด้วย “ภาวะหัวใจล้มเหลว” แม้ว่าจะมีอายุเพียง 31 ปี ทราบภายหลังว่าก่อนหน้านี้เธอทำงานล่วงเวลาอย่างหนัก ต่อด้วยข่าวการจากไปของพนักงานบริษัทชายที่ฆ่าตัวตายด้วยสภาวะตึงเครียดจากการทำงานให้กับเอเจนซี่ชื่อดังระดับประเทศ

 หากทำความเข้าใจง่ายๆ “โรคคาโรชิ”  ก็หมายถึงภาวะทำงานหนักจนตาย หรือที่หลายคนเรียกว่า “โรคบ้างาน” ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง หากแต่เรียกภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลียอย่างหนักจากการทำงานมากเกินไป จนอาจนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตในภายหลังได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• กรุงเทพ TOP 3 ของโลก! เมืองที่คนทำงานหนักชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด

• ไวรัลดัง พนักงานของ Google แฉ ทำงานหนัก แต่ “จ่ายเงินน้อย”

• ควรระวัง! ทำงานหนักเกินไป อาจเสี่ยงเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรค Karoshi Syndrome

 สาเหตุการเสียชีวิตจากการเกิด Karoshi Syndrome จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ 

• การตายเพราะโรค 

• ตายเพราะความเครียดสะสม 

 เนื่องด้วยจากการทำงานอย่างหนักหน่วงทำให้ร่างกายไม่ได้หยุดพัก การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ร่างกายขาดสารอาหารหรืออดอาหาร ในผู้ที่บ้างานต้องรอให้งานเสร็จเสียก่อนที่จะกินข้าวได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่อาจทนต่อการเกิดโรค ในกรณีที่มีความเครียดก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจอย่างร้ายแรง กดดันตัวเอง รู้สึกไร้ค่า ทำให้หดหู่และสุดท้ายก็จบลงด้วยการฆ่าตัวตาย

เช็กเลย! ว่าตัวเราเองกำลังเป็น Karoshi Syndrome อยู่หรือไม่

 

• คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจเก็บไปฝัน

• ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน

• ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน

• ไม่สามารถลางานได้ หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ทั้งลาป่วย ลาพักผ่อน ลากิจ

• เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน

• แทบไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะลาป่วย หรือลาพักร้อน

• นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ

• แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จำไม่ได้ว่าได้พักผ่อนจริงๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่

• ไม่มีเวลาให้ตัวเอง ครอบครัว และคนที่รัก

อันตรายจากโรค Karoshi Syndrome

 เนื่องจากคนทำงานหนักมักมีสภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดโรคหัวใจและอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองมากขึ้น ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าคนที่ทำงานหนักมีความเสี่ยงต่อ 3 โรคนี้มากกว่าปกติ การกินอาหารหรือการใช้ตัวช่วยประทังความเครียดก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เมื่อเริ่มทานมากขึ้นไขมันในเลือดก็จะเริ่มสูงตาม โรคอื่นๆ จะเสริมทัพเข้ามาโจมตีและสะสมไปเรื่อยๆ จนร่างกายรับไม่ไหวจนวูบหลับและเสียชีวิตในที่สุด

วิธีปรับพฤติกรรมป้องกัน Karoshi Syndrome

• จัดลำดับความสำคัญของงาน 

• แบ่งเวลาการทำงานและการใช้ชีวิตให้ชัดเจน 

• ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ 

• กำหนดเวลาพักระหว่างการทำงาน การทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมงทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า 

• ดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ใช้เวลาพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ 

• พูดคุยกับหัวหน้างานหรือฝ่ายบุคคลให้ชัดเจนเมื่อมีปัญหาในการทำงาน 

 

related