svasdssvasds

เลือกตั้ง 2566 : เปิดเหตุผลทำไม "พล.อ.ประยุทธ์" เลือกยุบสภา ไม่อยู่จนครบวาระ

เลือกตั้ง 2566 : เปิดเหตุผลทำไม "พล.อ.ประยุทธ์" เลือกยุบสภา ไม่อยู่จนครบวาระ

เส้นทางประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของเมืองไทย 85 ปี เกิดเหตุการณ์"ยุบสภา" 15 ครั้ง แต่ละครั้งมีสาเหตุทางการเมืองทั้งแตกต่างกัน สำหรับ"พล.อ.ประยุทธ์ "เลือกเส้นทาง"ยุบสภา" ไม่ยอมอยู่ครบวาระ ทั้งๆ ที่เหลืออีกเพียงไม่กี่วันเพราะเหตุใด

 สำนักข่าวเนชั่นทีวีเผย แม้อายุสภาผู้แทนราษฎรมีวาระครบ 4 ปี ในวันที่ 23 มีนาคม 2566  ซึ่งตามกรอบกติการัฐธรรมนูญ "นายกรัฐมนตรี" ต้องใช้อำนาจออกพระราชกฤษฏีประกาศ "ยุบสภา" ขณะที่ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ประกาศชัดแล้ว "การยุบสภา"จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า (ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม) เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นการ "ยุบสภา" ก่อนครบอายุวาระสภา

ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใด "นายกฯประยุทธ์" เลือกเส้นทาง"ยุบสภา" ไม่ยอมอยู่ครบวาระ ทั้งๆที่เหลืออีกเพียงไม่กี่วัน 

เปิดเหตุผล "พล.อ.ประยุทธ์" ทำไมถึงเลือกเส้นทาง "ยุบสภา" 

1.ถ้าอยู่ครบวาระ ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน ซึ่งเร็วมาก พรรครวมไทยสร้างชาติน่าจะยังไม่พร้อมขนาดนั้น 

2.ถ้าอยู่ครบวาระ ผู้ที่พรรคจะส่งลงสมัคร ส.ส. ต้องสังกัดพรรคเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง ทำให้ไม่สามารถ "ดูด" รอบสุดท้ายได้ 

3.ยังมี ส.ส.อีกจำนวนหนึ่งที่เตรียมย้ายพรรครอบสุดท้าย หลัง"ยุบสภา" ซึ่งรวมไทยสร้างชาติหวังเก็บตกรอบนี้อีกจำนวนหนึ่ง 

ทั้ง 3 ข้อคือเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมนายกฯต้องยุบสภา ไม่สามารถอยู่ครบวาระได้ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• 20 มีนา หาก "ยุบสภา" จะมีอะไรตามมาบ้าง!

• ยุบสภา คืออะไร? ความหมาย และสิ่งที่ควรรู้ก่อน เลือกตั้ง 2566

• "นายกรัฐมนตรี" ทูลเกล้าพระราชกฤษฎีกายุบสภา คาดประกาศในราชกิจจาฯ วันนี้

เลือกตั้ง 2566 : เปิดเหตุผลทำไม "พล.อ.ประยุทธ์" เลือกยุบสภา ไม่อยู่จนครบวาระ

 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า "การยุบสภา" เชื่อมโยงกับการชิงความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายบริหาร ถ้าพูดกันตามตรงก็คือ ตัวนายกฯ นั่นเอง เพราะอำนาจ "ยุบสภา" เป็นอำนาจเต็มของนายกฯ เพียงคนเดียว 

"การยุบสภา" ที่ผ่านมาทุกครั้ง จึงมีเหตุผลทางการเมือง และการชิงความได้เปรียบทางการเมืองเป็นหลัก 

ประวัติศาสตร์การยุบสภาบนเส้นทางประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของเมืองไทย มีการยุบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2481 และยุบสภากันมาแล้ว 14 ครั้ง "พล.อ.ประยุทธ์" เป็นนายกฯ ที่ "ยุบสภาครั้งที่ 15" 

 การยุบสภาหลายครั้งของนายกฯหลายๆคน เป็นการยุบสภาหนีศึกซักฟอก หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตอนหลังมีการมองว่า การยุบสภาแบบนี้ เป็นการยุบเพื่อหนีการตรวจสอบ 

 รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งเป็นฉบับประชาชน จึงริบอำนาจตรงนี้ ไม่ให้ยุบสภาหนีการตรวจสอบ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 185 และเป็นมาตรฐานในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา ทั้งปี 2550 และ 2560

related