svasdssvasds

ส่องการเมืองสมุทรปราการ เลือกตั้ง 66 วันที่ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ จากโลกนี้ไปแล้ว

ส่องการเมืองสมุทรปราการ เลือกตั้ง 66  วันที่ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ จากโลกนี้ไปแล้ว

ในวันที่ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม จากโลกนี้ไปแล้ว หลังเสียชีวิตในวัย 55 ปี ด้วยการอาการ ภาวะฮีทสโตรก (ลมแดด) ต่อจากนี้ไป สมรภูมิการเมืองสมุทรปราการ การเมืองปากน้ำ จะเป็นอย่างไรต่อไป

ถือเป็นความสูญเสียของวงการการเมืองสมุทรปราการ  เมื่อ  เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิตในวัย 55 ปี และเป็นการจากลาแบบกระทันหัน ซึ่งการเสียชีวิตของ ร่มไม้ใหญ่แห่งสมุทรปราการ ครั้งนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อเวทีการเมือง เวทีเลือกตั้ง 2566 อย่างแน่นอน เพราะเอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญของพรรคพลังประชารัฐ ในพื้นที่นี้

• เลือกตั้ง 2566  อัศวเหม ยังเป็นบ้านใหญ่สมุทรปราการ

ในการเลือกตั้ง 2566 จังหวัดสมุทรปราการ มี ส.ส. เพิ่มมา 1 คน จากเดิมที่เคยมี 7 คน โดย ตอนนี้ คนสมุทรปราการจะได้เลือกผู้แทน 8 คนแล้ว 

โดย ย้อนกลับไปในการเลือกตั้ง 2562 ครั้งนั้น  เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ จนได้ 6 เก้าอี้ที่นั่งในจังหวัดสมุทรปราการ เสียไป 1 ที่นั่งให้กับ พรรคอนาคตใหม่

แต่ดูเหมือนว่า ในช่วงต้นเดือนที่แล้ว ก.พ. จะมีสัญญาณบางอย่างจากกลุ่ม "บ้านใหญ่สมุทรปราการ" เพราะชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ตกเป็นข่าวกรณีคลิปรัฐมนตรีกลุ่มปากน้ำ พูดอะไรบางอย่างในงานเลี้ยงกลุ่มปิด เรียกเสียงฮือฮาไปทั้งแวดวงการเมือง

ส่อง การเมืองสมุทรปราการ เลือกตั้ง 66  ในวันที่ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์" จากโลกนี้ไปแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในคลิปนั้น ปรากฏภาพและเสียงของ สุนทร ปานแสงทอง รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ขึ้นเวทีพูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านแถว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ที่ไปร่วมงานมองมุมไหนหัวใจเดียวกัน ที่ศูนย์การประชุมของเอกชน แถวจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เนื่องจากเป็นงานปิด รมช.สุนทร ก็พูดตรงๆว่า การเลือกตั้งสมัยหน้า มีบัตร 2 ใบ ขอให้เลือกผู้สมัครสส.ระบบเขต กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า และเลือกบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย เพราะเพลง-ชนม์ทิดา อัศวเหม เป็นผู้สมัครสส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจ  และมีข้อน่าสังเกตว่า รัฐมนตรี และ สส.สมุทรปราการ ในซุ้มบ้านใหญ่อัศวเหม จะเน้นย้ำคำว่า กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า มากกว่า พรรคพลังประชารัฐ 

อย่างไรก็ตาม กูรูการเมือง ก็ยังเชื่อหนักแน่นว่า ในการเลือกตั้ง 2566  เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ ก็ยังให้การหนุนหลัง พปชร. อยู่ เพราะสายสัมพันธ์กับ ลุงป้อม ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ยังแน่นแฟ้นเหมือนเดิม ที่ผ่านมา ในช่วงเรียกร้องตำแหน่งรัฐมนตรีให้ ส.ส. สมุทรปราการ ก็เป็นเพียงบทบาทที่ต้องเล่น 

ส่อง การเมืองสมุทรปราการ เลือกตั้ง 66  ในวันที่ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์" จากโลกนี้ไปแล้ว
ส่อง การเมืองสมุทรปราการ เลือกตั้ง 66  ในวันที่ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์" จากโลกนี้ไปแล้ว
 

• ส่องสมรภูมิเดือด เลือกตั้ง 2566

ย้อนไปในช่วงปี 2565 , เคยมี 6 ส.ส. สมุทรปราการ กล้าแหกมติพรรคพลังประชารัฐ  ถือเป็นการท้าทาย คำร้องขอของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นนักเลือกตั้งในสังกัดกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า ของเอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม 

โดยการโหวตสวนครั้งนั้น ส่งผลให้ ในศึกภิปรายไม่ไว้วางใจ จนทำให้ “บิ๊กป๊อก” พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา มีคะแนนต่ำสุดในเหล่าบรรดารัฐมนตรีที่ถูกยื่นอภิปราย  สิ่งที่ทำไปก็เพื่อต่อรอง เก้าอี้รัฐมนตรี

โดย   6  ส.ส. สมุทรปราการ ที่โหวตสวน มติพรรคครั้งนั้น ได้แก่  เขต 1 อัครวัฒน์ อัศวเหม อดีตนายก อบจ.สมุทรปราการ ลูกชายสมบูรณ์ อัศวเหม ซึ่งเป็นพี่ชายวัฒนา อัศวเหม
เขต 2 ยงยุทธ สุวรรณบุตร อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา โดยวันนี้ มี อรัญญา สุวรรณบุตร ภรรยา นั่งเก้าอี้นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา
เขต 3 ภริม พูลเจริญ ลูกสาว ศุภัช พูลเจริญ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลด่านสำโรง ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ของบ้านใหญ่ปากน้ำ
เขต 5 กรุงศรีวิไล สุทินเผือก ไม่ได้เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขบ้านใหญ่ปากน้ำ แต่กรุงศรีวิไล เป็นดาวฤกษ์ มีฐานเสียงหนาแน่นใน อ.บางบ่อ การเลือกตั้งปี 2562 พระเอกใหญ่ได้เข้ามาเป็นพันธมิตรกับบ้านใหญ่
เขต 6 ฐาปกรณ์ กุลเจริญ หลานชาย สนิท กุลเจริญ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ 9 สมัย และเป็นตัวแทนบ้านใหญ่พระประแดง

มาถึงวันนี้ ก่อนเลือกตั้ง 2566 ไม่กี่เดือน  , สมุทรปราการครั้งนี้ จะมีตัวแทน ส.ส. เพิ่มขึ้นเป็น 8 เขต โดย 6 คนจากพลังประชารัฐที่ได้เป็น ส.ส. ครั้งก่อน ลงสมัครเช่นเดิม  , ส่วนอีก 2 รายชื่อผู้สมัคร ใน 2 เขตที่เหลือเป็น ใน เขต 4  วรพร อัศวเหม และ เขต 7 ต่อศักดิ์ อัศวเหม 

โดยเขตที่ดุเดือดที่สุดในครั้งนี้ เห็นจะเป็น เขต 7  ซึ่ง น.ส.ไพลิน เทียนสุวรรณ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 7 จ.สมุทรปราการ จาก พรรค รวมไทยสร้างชาติ  จะชนกับ ต่อศักดิ์ อัศวเหม จากพลังประชารัฐ ที่ครั้งก่อนหลบทางให้ ไพลิน เทียนสุวรรณ
 

• อัศวเหม ชน เทียนสุววรณ

โดยย้อนกลับไปในปี 2562  จ.สมุทรปราการ เป็นการต่อสู้กันของ 2 ตระกูลใหญ่คือ อัศวเหม และ เทียนสุววรณ โดยบ้านใหญ่เมืองปากน้ำต้องการส่ง นายต่อศักดิ์ อัศวเหม ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องเข้าชิง ส.ส. 

ในขณะที่ พล.อ.กนิษฐ์ ชาญปรีชญา หรือ เสธ.อ้น ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ภาคกลางของพรรคพลังประชารัฐ ต้องการดันบ้านใหญ่ “เทียนสุวรรณ” ลงแข่งขัน เพราะเป็นหนึ่งในตระกูลดังของการเมืองท้องถิ่น  อย่างไรก็ตาม หลังจาก พล.อ.กนิษฐ์ เคลียร์กับบ้านใหญ่เมืองปากน้ำสำเร็จ ในครั้งนั้น น.ส.ไพลิน จึงได้เป็นผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ

ต่อมาเมื่อนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ลาออกมาอยู่กับพรรครวมไทยสร้างชาติกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยรับหน้าที่คุมทัพสู้ศึกเลือกตั้งภาคตะวันออก น.ส.ไพลิน จึงย้ายตามมา และเป็นว่าที่ผู้สมัครเขต 7 พรรครวมไทยสร้างชาติ จ.สมุทรปราการ

ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ได้ส่ง นายต่อศักดิ์ อัศวเหม อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ลงแข่งขันเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต จึงทำทั้ง 2 คนเลี่ยงไม่พ้นที่จะปะทะกันในพื้นที่  แต่ครั้งนี้ เลือกตั้ง 2566 ทั้งสองคนต้องมาปะทะกันอย่างซึ่งๆหน้าแล้ว 

ค่ายอัศวเหมเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.สมุทรปราการ 8 เขต สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เริ่มติดป้ายหาเสียงบนพื้นที่ปากน้ำแล้ว

•  อนาคตอัศวเหม 

ย้อนกลับไป การเลือกตั้งปี 2562 ไม่มีใครคาดคิดว่า ตระกูลอัศวเหม จะกลับมายึดหัวหาด พื้นที่ ส.ส.สมุทรปราการได้เกือบยกจังหวัด อีกครั้ง   เนื่องจากฤดูเลือกตั้งปี 2544 กลุ่มการเมืองของวัฒนา อัศวเหม ในสนามปากน้ำ สอบตกยกจังหวัด เพราะกระแสไทยรักไทยมาแรงเกินต้าน ณ ตอนนั้น 

อีก 2 สมัย(ปี 2550 ,2554)ต่อมา ตระกูลอัศวเหม ก็พ่ายแพ้แก่พรรคการเมืองของทักษิณ พื้นที่การเมืองของบ้านใหญ่เหลือแค่ อบจ.สมุทรปราการและเทศบาลนครสมุทรปราการ   แต่ พอมาในปี 2562 พวกเขาเหล่าบ้านใหญ่สมุทรปราการก็กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น เลือกตั้ง 2566 อัศวเหม กลับมาในฐานะแชมป์เก่า ที่ได้เปรียบฐานเสียงกว่าพรรคอื่นๆ , แต่กระแส แลนด์สไลด์ของ เพื่อไทย ก็ร้อนแรงเช่นกัน ... ใครจะยืนหนึ่งในการเลือกตั้ง 2566 คงต้องรอ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันตัดสิน!


 

related