svasdssvasds

เทศกาลหนังที่ปลุกให้คนหันสนใจปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤตของมนุษย์

เทศกาลหนังที่ปลุกให้คนหันสนใจปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤตของมนุษย์

CCCL Film Festival เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เชิญชวนผู้ที่สนใจปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในจังหวัด เชียงใหม่ มหาสารคาม สงขลา ร่วมดูหนัง ฟังเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ ปลุกจิตสำนักให้ตระหนักถึงวิกฤติที่มนุษย์ต้องเผชิญและหาหนทางแก้ไขเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน

เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องของทุกคน นั่นหมายถึงไม่ว่าคุณจะอยู่ที่แห่งใดในโลกไม่ช้าก็เร็วผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศจะไปเคาะประตูหาถึงบ้านโดยที่คุณอาจตั้งตัวไม่ทัน เห็นได้จากข่าวสิ่งแวดล้อมที่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาที่มีความรุนแรงมากขึ้นและยากที่จะต้านทาน จะเห็นได้ว่าอุณหภมิที่เปลี่ยนแปลงไม่กี่องศา นั่นสร้างแรงกระเทือนไปทั่วทุกทวีปอย่างทั่วถึงกัน นั่นจึงไม่ใช่ปัญหาที่ประเทศใดประเทศหนึ่งต้องแก้ไข แต่เป็นการร่วมมือกันเพื่อรักษาอนาคตและความอยู่รอดของมวลมนุษย์ทั้งหมด

CCCL Film Festival เกิดขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เพื่อการจัดกิจกรรมต่าง ๆ กับเยาวชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาและวิธีการที่จะช่วยหยุดยั้งวิกฤติโลกร้อนที่เราทุกคนต่างรู้ดีว่าเราไม่สามารถหยุดพักการต่อสู้เพื่อโลกที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตของคนรุ่นต่อไปได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

CCCL Film Festival เกิดขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เพื่อการจัดกิจกรรมต่าง ๆ กับเยาวชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาและวิธีการที่จะช่วยหยุดยั้งวิกฤติโลกร้อนที่เราทุกคนต่างรู้ดีว่าเราไม่สามารถหยุดพักการต่อสู้เพื่อโลกที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตของคนรุ่นต่อไปได้

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL Film Festival) เป็นความร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย (Embassy of Canada to Thailand) เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม CCCL Film Tours 2022 รับชมหนังสั้นและสารคดีเรื่อง I AM GRETA พร้อมสนทนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชุมชน

เทศกาลหนังที่ปลุกให้คนหันสนใจปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤตของมนุษย์

  • 20 สิงหาคม ที่ Punspace Tha Phae Gate จ.เชียงใหม่
  • 27 สิงหาคม ที่ My Space in Mahasarakham จ.มหาสารคาม
  • 3 กันยายน ที่ a.e.y.space จ.สงขลา

ตั้งแต่เวลาบ่ายโมง - 3 ทุ่ม ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ที่ www.ccclfilmfestival.com

กิจกรรม CCCL Film Tours 2022 ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Canada Fund for Local Initiatives (CFLI) สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย

ชื่อของ Greta Thunberg กลายเป็น Climate Icon ที่รู้จักหลังจากที่ในฐานนักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดนหลังจากที่ ใช้เวลาหลังเลิกเรียนถือป้ายเรียกร้องนอกรัฐสภาสวีเดนให้ดำเนินการด้านภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น ในวัยเพียง 15 ปี เมื่อปี่ 2018 และทำให้เกิดปรากฏการณ์ประท้วงหลายครั้งในหลาเมืองที่มีนักเรียนออกมาร่วมกว่าล้านคนในปีถัดมา ชื่อเสียงและความเคลื่อนไหวของเธอกลายเป็นจุดสนใจที่ผู้ใหญ่ต้องหยุดฟัง 

ในการกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่นครนิวยอร์ก มีประโยคเด็ดที่กลายเป็นที่จดจำ How Dare You? ที่เธอกล่าวด้วยน้ำเสียงตำหนิผู้ใหญ่ที่ฝากความหวังไว้ให้คนรุ่นใหม่แก้ปัญหาในสิ่งที่คนรุ่นเก่าก่อไว้ จนกลายเป็นที่ถกเถียงต่อมา

คลิปสุทรพจน์ที่ Greta Thunberg กล่าวในงาน UN Climate Action Summit

โดยในปี 2019 นิตยสาร Time ได้ยกย่องให้เธอเป็นบุคคลแห่งปี และขนานนามว่าเป็น ผู้นำรุ่นต่อไป ภายในงานได้มีการจัดฉายภาพยนตร์สารคดีที่ติดตามชีวิตและความคิดของ คนรุ่นใหม่ที่กล้าท้าทาย ท้าชนกับปัญหาด้วยความเกรี้ยวกราด  Greta Thunberg ไว้ด้วยเช่นกัน 

ภาพยนตร์สารคดี

“I Am Greta” ก่อนผู้กำกับสารคดีนาธาน กรอสแมนเริ่มต้นทำสารคดี #IAmGreta นาธานเองมีความสนใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาได้ยินเรื่องของเกรียตาคร่าว ๆ และสนใจอุดมการณ์ของเด็กคนนี้ เขาและเพื่อนของเขาจึงเริ่มถ่ายทำสารคดีด้วยความสงสัยว่าเด็กคนนี้มีมุมมองต่อโลกอย่างไร และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ 
.
“หลังจากคุณได้ชมสารคดี I Am Greta แน่นอนว่าคุณจะเข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
และคุณจะเข้าใจว่าการสร้างโลกโดยยึดหลักความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศนั้นสำคัญเพียงใด” – นาธาน กรอสแมน

โปรแกรมหนังสั้น

  • เบื้องหลังกำแพง (BEHIND THE WALL) โดยชนม์ชนก ธนัสทีปต์วงษ์ 

โรสนี นูรฟารีดา หรือ ‘ดะห์’ กวีสาวชาวมุสลิม ผู้เคยเขียนบทกวีรวมเล่มจนได้เข้าชิงและเป็น Shotlisted รางวัล S.E.A. Write ในปี 2016 กำลังหาแรงบันดาลใจเพื่อแต่งกวีเกี่ยวกับการกัดเซาะชายฝั่งและโครงสร้างแข็งกันคลื่นในสงขลา จังหวัดบ้านเกิดของเธอเอง ทว่าคอนกรีดต่าง ๆ ที่สร้างเพื่อป้องกันการกันเซาะ แต่กลับทำให้เกิดการกัดเซาะด้านข้างมากขึ้น ภาพยนตร์เรื่อง ‘เบื้องหลังกำแพง’ ร้อยเรียงบทสัมภาษณ์ของผู้คนสลับกับบทกวีที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อนำเสนอสัจธรรมของธรรมชาติ

  • ผีตาแฮก สารพันวัฒนธรรมข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (JOURNEY OF WISDOM) โดยธนวัฒน์ ตาลสุข

ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่อง ‘‘ผีตาแฮก’’ ประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการปลูกข้าวของชาวบ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด สะท้อนให้เห็นการเคารพบูชาผืนดิน ซึ่งสอดคล้องกับการดูแลรักษาธรรมชาติและระบบนิเวศที่ซับซ้อนของดิน 
การดูแลรักษา ‘ดิน’ คือหนึ่งหนทางในการปกป้องและซ่อมแซมดินที่เสื่อมโทรมจากภัยคุกคามต่างๆ เช่นเดียวกับพิธีการสักการะบูชา ‘ผีตาแฮก’ ที่ช่วยหล่อหลอมใจผู้คนให้มีความกตัญญูและสำนึกในบุญคุณต่อธรรมชาติ

  • LICHENS โดยการันตร์ วงศ์ปราการสันติ

ในช่วงเวลาที่ นัท ลูกชายคนเดียวของ วาสนา กำลังป่วยจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย เขาอยากจะเดินเข้าป่ากับแม่เพื่อที่จะกลับไปหาความทรงจำของทั้งคู่ที่มีต่อพ่อ ซึ่งเป็นความทรงจำที่ทำให้ทั้งสองรู้สึกถึงความรักและเจ็บปวดในเวลาเดียวกัน

  • เสียงกลางนา (SOUNDS OF THE FIELD) โดยปภพ แสงคง

สารคดีบันทึกบทสนทนาระหว่างการทำนา ของชาวห้วยหูด อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

  • โลกร้อนคือไรพี่โลกร้อนแก้ไงป้า (MOTHER OF EARTH IS CRYIN’) โดยธิดารัตน์ วีระนะ, อิทธิกร นุติแก้วมงคล  ปูน สิรภพ

สารคดีล้อเลียนบอกเล่าเรื่องราวของชายหนุ่มสามคนที่ทำหนังสารคดีเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนเพื่อส่งประกวด

  • THE PERFECT LI(F)E โดยภูมิชญณัฐ มิตรธีรโรจน์

เรื่องราวของหญิงสาวไฟแรงคนหนึ่งที่ยอมทุ่มเททุกอย่างทั้งเวลาและสุขภาพเพื่อสร้างอนาคตที่ฝันไว้ให้เป็นจริง ทุกอย่างดูเหมือนจะไปได้สวย จนกระทั่งเธอสังเกตว่าหอพักที่ตัวเองอยู่เริ่มมีงูเข้ามาบ่อยขึ้น เธอไม่ได้มองว่ามันเป็นเรื่องร้ายแรงอะไร แต่หารู้ไม่ว่ามันคือสัญญาณบอกว่าทุกอย่างในโลกกำลังเปลี่ยนไป รวมทั้งชีวิตของเธอ

  • คน-ป่า (WE AND THE WOODS) โดยวีระพรรณ  ถาวร

ท่ามกลางโลกของการพัฒนาคนส่วนใหญ่ตกอยู่ในวังวนของความโลภ กลุ่มชนเผ่าปกาเกอะญอกลุ่มหนึ่ง กำลังหาหนทางในการรักษาและสานสันติกับธรรมชาติ ผ่านพิธีกรรมประจำปีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายพันปี 

  • TEMPERATURE โดยเมธัส จันทวงศ์

TEMPERATURE เป็นภาพยนตร์ทดลองที่นำเอาองค์ประกอบ ทั้งฟุตเทจ ภาพถ่ายและแอนิเมชันมาซ้อนทับกัน ให้เกิดพื้นผิวและอุณหภูมิสีที่แปลกตา เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิอากาศ โดยเล่าผ่านวิถีชีวิตผู้คนในแต่ละวัน ที่ปล่อยคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ ออกมาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการใช้ชีวิตของเรานั้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาตลอดหลายปี แต่ขณะเดียวกัน เราก็ไม่สามารถหยุดการดำรงอยู่ของเราได้ ทางออกจึงเป็นเรื่องความรับผิดชอบและตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา

ที่มา

1 

related