svasdssvasds

ดุสิตโพล เผยประชาชนลังเลจะเลือกผู้สมัครส.ส.ที่ย้ายพรรค

ดุสิตโพล เผยประชาชนลังเลจะเลือกผู้สมัครส.ส.ที่ย้ายพรรค

สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจพบว่าประชาชนไม่แน่ใจจะเลือกผู้สมัคร ส.ส.ที่ย้ายพรรคหรือไม่ เพราะต้องพิจารณานโยบาย-หัวหน้าพรรคด้วย เพราะถือว่า “ตัวผู้สมัคร ส.ส.” กับ “พรรคการเมือง”มีความสำคัญเท่ากัน

ดุสิตโพล เผยคนยังไม่แน่ใจจะเลือกผู้สมัครส.ส.ที่ย้ายพรรค 

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี ผู้สมัคร ส.ส.ย้ายพรรค พบว่า อันดับ 1 เป็นเรื่องปกติทางการเมือง มีให้เห็นในช่วงเลือกตั้ง  อันดับ 2 ถูกจับตามอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการดูด ส.ส.  อันดับ 3 เป็นสิทธิของผู้สมัครที่มีอิสระในการย้ายพรรค  อันดับ 4 ทำให้ระบบพรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง ต้องหาทางแก้ไข รับมือ  และอันดับ 5 ประชาชนควรติดตามข่าวสาร เพื่อประกอบการตัดสินใจ

ทั้งนี้ ระหว่าง “ตัวผู้สมัคร ส.ส.” กับ “พรรคการเมือง” ประชาชนให้ความสำคัญอะไรมากกว่ากัน พบว่า อันดับ 1 มีความสำคัญทั้งคู่ เพราะการทำงานจะมีประสิทธิภาพต้องอาศัยทั้งตัวผู้สมัคร และพรรคการเมืองที่ร่วมมือกัน  อันดับ 2 ตัวผู้สมัครมากกว่า เพราะเป็นปากเสียงให้กับประชาชน  อันดับ 3 พรรคที่สังกัดมากกว่า เพราะ ถ้าพรรคเข้มแข็ง หัวหน้าพรรคดี มีนโยบายโดนใจ จะส่งเสริมการทำงานของผู้สมัครได้ดีขึ้น

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ทำไมผู้สมัคร ส.ส.จึงย้ายพรรค พบว่า อันดับ 1 เป็นเรื่องผลประโยชน์ มองหาความมั่นคง และโอกาสที่ดีกว่า  อันดับ 2 มีความขัดแย้งภายใน อันดับ 3 อุดมการณ์ แนวคิด ทัศนคติการทำงานไม่ตรงกัน  อันดับ 4 ต้องการเปลี่ยนแปลง อันดับ 5 ถูกชักชวน รู้สึกว่าได้รับความสำคัญ

สุดท้าย ถามว่าหากผู้สมัคร ส.ส.ที่เคยเลือกย้ายพรรค จะยังเลือกผู้สมัครคนนี้อีกหรือไม่ พบว่า อันดับ 1 ไม่แน่ใจ ต้องรอดูก่อนว่าย้ายไปพรรคไหน ใครเป็นหัวหน้าพรรค ดูนโยบาย อันดับ 2 เลือก เพราะ ดูที่ตัวบุคคล ชื่นชอบ มีผลงานดี  อันดับ 3 ไม่เลือก เพราะ รู้สึกผิดหวัง ไม่เชื่อมั่น เหมือนเป็นคนขาดอุดมการณ์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่า

related