svasdssvasds

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60 สู่วิกฤตครั้งใหม่?

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

ปี 2562 การเมืองไทยร้อนฉ่าตั้งแต่ต้นปี เพราะเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง หลังต้องฟังเพลงรอกันมาหลายปี การเลือกตั้งหนนี้ เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ ทั้งในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนระดับ “แผ่นดินไหวทางการเมือง” ขณะที่กติกาใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 60 ก็แสดงผลตามที่ออกแบบไว้ และส่อเค้าเข้าสู่วิกฤตการเมืองครั้งใหม่

เลือกตั้ง 62 ตามกติการัฐธรรมนูญ 60

การเมืองไทยเริ่มปี 2562 ด้วยบรรยากาศที่คึกคัก เพราะเป็นการเลือกตั้งที่รอมาตลอดเกือบ 5 ปี หลัง คสช. เข้ามายึดอำนาจในปี 2557 โดยมีกำหนดวันหย่อนบัตรกันในวันที่ 24 มี.ค. 62

 

ระบบเลือกตั้งใหม่ ที่นำมาใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นระบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” มีบัตรเลือกตั้งใบเดียว แต่ยังมี ส.ส. 2 ระบบ โดยกำหนดให้พรรคการเมืองต้องเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีให้ประชาชนเลือก เป็นบัตรเลือกตั้งแบบไฮบริด ที่กาทีเดียวได้ถึง 3

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

ภายใต้กติกาใหม่ เครือข่ายพรรคเพื่อไทย (พท.) ปรับยุทธศาสตร์ “แตกแบงก์ย่อย” ส่ง ส.ส. ตัวเต็งลงสมัคร ส.ส.เขต เพื่อชนะเลือกตั้งและ “หิ้ว ส.ส.เขตเข้าสภา” ส่วนพรรคสาขาอย่างพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) โยกบรรดาบุคคลมีชื่อเสียงไปอยู่ เพื่อเก็บกวาดคะแนนของผู้สมัคร ส.ส.เขตที่พ่ายแพ้ไปคิดคำนวณรวมกันเป็นจำนวน “ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์”

“แผ่นดินไหวทางการเมือง” พัง “แตกแบงก์ย่อย”

ในการเปิดรับสมัครเลือกตั้ง เกิดปรากฎการณ์ระดับ”แผ่นดินไหวทางการเมือง” เมื่อพรรคไทยรักษาชาติ ที่มี ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัลยา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค ต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 9 ก.พ. 62

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

แต่ในค่ำวันเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในขณะนั้น) มีพระราชโองการให้ประกาศเรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ใจความตอนหนึ่งว่า พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ อยู่ในหลักการเกี่ยวกับ “การดำรงอยู่เหนือการเมืองและความเป็นกลางทางการเมือง” ไม่สามารถดำรงตำแหน่งใดๆ ในทางการเมืองได้ เพราะจะเป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

ต่อมา กกต. ได้ยื่นคำร้องขอยุบพรรค ทษช. ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเมื่อ 7 มี.ค. 62 ให้ยุบพรรค จากพฤติกรรม “เซาะกร่อนบ่อนทำลายประชาธิปไตย” และ “กระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ปิดฉากยุทธศาสตร์ “แตกแบงก์ย่อย” เพราะมี 100 เขตเลือกตั้ง จากทั้งหมด 350 เขตเลือกตั้ง ที่จะไม่มีผู้สมัคร ส.ส. ทั้งในนาม พท. และ ทษช.

“บัตรเขย่ง-ไม่มีเครื่องคิดเลข” และ “กติกาใหม่”

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

การเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. 62 เป็นการเลือกตั้งอีกครั้งในประวัติศาสตร์ ที่เต็มไปด้วยข้อกังขา เพราะระหว่างการเลือกตั้งเกิดเหตุการณ์ส่งหีบบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าจากนิวซีแลนด์มานับคะแนนไม่ทัน “บัตรเขย่ง” ที่ยอดผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งกับตัวเลขบัตรเลือกตั้งที่ใช้ไม่ตรงกัน รวมไปถึงการตอบคำถามผู้สื่อข่าวของนายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.  ที่บอกว่า “ไม่มีเครื่องคิดเลข” หลังถูกถามเรื่องการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

และผ่านไปนับเดือนหลังเลือกตั้ง ก็ยังไม่รู้ว่า กกต. จะใช้สูตรไหนคิดคำนวณ ส.ส. ซึ่งกว่าจะมีการรับรอง ส.ส. ล็อตแรก 349 คน ก็ใช้เวลาไปราวเดือนครึ่ง ในวันที่ 7 พ.ค. และรับรอง ส.ส. บัญชีรายชื่อ 150 คน ในวันถัดมา (8 พ.ค.) โดยเปิดประชุมสภานัดแรกในวันที่ 25 พ.ค.

ผลจากกติกาเลือกตั้งใหม่ ทำให้มี ส.ส. บัญชีรายชื่อจาก “พรรคจิ๋ว” ที่มี ส.ส.พรรคละ 1 คน ถึง 11 พรรค (ปัจจุบัน 10 พรรค) ซึ่งได้เข้าสภาจากการปัดเศษทศนิยม ทั้งที่มีคนลงคะแนนเลือกให้น้อยกว่าคะแนนมี “ส.ส. พึงมีได้” 1 คน หรือต่ำกว่า 71,168.5141 เสียง

พปชร. ตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำผนึก ส.ว. ดัน “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ ฉลุย

แม้ พท. จะชนะการเลือกตั้งได้ ส.ส. 136 คน แต่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ซึ่งมี ส.ส. 115 คน อ้างความชอบธรรมจากการได้เสียงคะแนนมหาชนสูงสุด ที่จะจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับ พท. โดยสามารถรวมเสียงจากพรรคอื่นๆ มากถึง 19 พรรค ในการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ในโควต้าของพรรคพลังประชารัฐ

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

ซึ่งการเข้าร่วมกับ พปชร. ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องบอกลาตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และ ส.ส. ตามที่หาเสียงว่า จะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อเปิดทางให้ ปชป. เข้าร่วมรัฐบาล

ส่วนพรรคที่ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ อีก 7 พรรค แม้ พท. จะมีที่นั่งในสภาสูงสุด แต่ชื่อที่เสนอเป็นแคนดิเดตนายกฯ กลับเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) พรรคที่ได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้งเป็นอันดับ 3 แต่สร้างปรากฏการณ์ในการที่ไม่ส่งนักการเมืองหน้าเก่าลงสมัครเลยแม้แต่คนเดียว แต่ได้ ส.ส. หน้าใหม่เข้าสภาถึง 80 คน

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

ซึ่งในการโหวตนายกรัฐมนตรี ฝั่ง พปชร. และพรรคร่วม พร้อมทั้งสภาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทั้ง 250 คน ซึ่ง คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง พร้อมใจกันโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้รับเสียงสนับสนุน จาก 2 สภา รวม 500 เสียง

“ประยุทธ์2” ศึกรุมล้อมรอบด้าน

แม้จะได้นั่งเก้าอี้นายกฯ ต่อ แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการทางการเมืองปกติ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องเผชิญการตรวจสอบหลากหลายเรื่อง ทั้งปมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ปมถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน การแถลงนโยบายรัฐบาลไม่ระบุที่มาของแหล่งรายได้ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ ก็สามารถผ่านได้ ทั้งจากคำวินิจฉัยของของศาล และองค์กรอิสระ

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

นอกจากปัญหาเรื่องของตัวเองแล้ว ยังมีปัญหาจากคุณสมบัติรัฐมนตรีในรัฐบาล อาทิ กรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ มือแจกกล้วยที่คอยประสานกับพรรคจิ๋ว ให้พปชร. ที่ถูกเปิดโปงว่า เคยพัวพันกับคดียาเสพติดในต่างประเทศ รวมถึงข้อสงสัยในวุฒิการศึกษาว่าเป็นวุฒิปลอม ส่วนนายอุตตม สาวนายน ก็ถูกตั้งข้อสังเกตกรณีที่ได้เป็นรมว.คลัง ทั้งที่พัวพันคดีปล่อยกู้กรุงไทย

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

ขณะที่ พปชร. ก็ยังคงสัญญาณความขัดแย้งของกลุ่มต่างๆ ภายในพรรค ขณะที่ ส.ส. บางคนมีปัญหาด้านพฤติกรรม โดยเฉพาะกรณี น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี ถือครองทำฟาร์มไก่ในที่ป่าสงวน

ส่วการทำงานร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาล ก็ไม่ได้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันมากนัก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้าทีมเอง ส.ส. พรรคร่วมบางคน ก็โหวตสวนมติวิปรัฐบาล เกิดกรณีพรรคร่วมที่แยกตัวออกมาเป็นฝ่ายค้านอิสระ

รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ สภาดงงูเห่า

แม้จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก ด้วยการการมีพรรคร่วมรัฐบาลมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยถึง 19 พรรค (ปัจจุบัน 18 พรรค) แต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์2 ก็ยังมีเสียงปริ่มน้ำ จนเกิดเหตุฝ่ายรัฐบาลแพ้โหวตหลายครั้ง แต่ครั้งสำคัญ คือ การโหวตตั้งกมธ. วิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้ม.44 ที่ฝ่ายค้านชนะ 234-230 แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ขอนับคะแนนใหม่ แต่ฝ่ายค้านไม่ยอม เพราะมองว่า เป็นการลงคะแนนใหม่ จนฝ่ายค้านวอล์กเอาท์ สภาล่ม 2 ครั้ง

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

แต่ในการโหวตครั้งที่ 3 ฝั่งรัฐบาลก็สามารถหาเสียงมาแสดงตนได้ครบองค์ประชุม ทั้งจากการที่ พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.กำแพงเพชร พปชร. ที่ถูกหมายจับมาร่วมประชุม และจากการที่ ส.ส. จากพรรคฝ่ายค้านบางคน เสียบบัตรร่วมแสดงตัว

โดยในกรณี “งูเห่าสีส้ม” พรรคอนาคตใหม่ มีมติขับ ส.ส. ที่ฝืนมติพรรค 4 คน ออกพรรคในที่สุด

วิบากกรรม อนาคตใหม่ สู่วังวันเก่า?

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

แม้จะเป็นพรรคน้องใหม่ แต่ อนค. กลายเป็นพรรคที่ถูกกระหน่ำอย่างหนักในเกมการเมือง จากนโยบายที่ท้าทายผู้ถืออำนาจ อย่างการปฏิรูปกองทัพ โดยยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ขณะที่หัวหน้าพรรคอย่าง นายธนาธร ได้ทำงานในหน้าที่ ส.ส. ในสภาเพียงไม่กี่วัน ก่อนจะถูกแขวน ตามด้วยการคำตัดสินให้หมดสมาชิกภาพ ส.ส. จากการถือหุ้นสื่อ และยังต้องรอลุ้นผลต่อเนื่อง ว่าจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 20 ปี จากกรณีนี้หรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีคดีที่ฐานความผิดเข้าข่ายยุบพรรคที่อยู่ในกระบวนการของศาล ทั้งคดีนายธนาธร ปล่อยเงินกู้ให้พรรค และคดีล้มล้างการปกครอง หรือ “คดีอิลลูมินาติ”

สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่? สรุปข่าวการเมือง 2562 ปรากฏการณ์รัฐธรรมนูญ 60  สู่วิกฤตครั้งใหม่?

ขณะที่การเมืองในสภามุ่งหน้าสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการร่วมมมือกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน อนค. ก็เคลื่อนไหวนอกสภาไปพร้อมๆ กัน หลังการสิ้นสมาชิกภาพ ส.ส. ของนายธนาธร ทั้งการเปิดบรรยายเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม และการจัดกิจกรรมแฟลชม็อบ เมื่อ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ยังเป็นตัวกดดันอุณหภูมิการเมืองในปี 2563 ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มส่งสัญญาณการปลุกมวลชนต่อต้าน “พวกชังชาติ” เตรียมพร้อมรับการเมืองบนท้องถนนแล้วเช่นกัน

related