svasdssvasds

อย่าประมาทกับโควิด และห้ามมองข้าม Long Covid หรือโควิดระยะยาว

สถานการณ์โควิดตอนนี้เปรียบเหมือนช่วงฮันนีมูลของโควิด แต่ต้องไม่ประมาทเพราะอาจมีการระบาดแบบเอื่อยๆ อยู่หรือเปล่า ? แต่ถือเป็นโอกาสดีในการปรับแผนเปลี่ยนผังตั้งรับทั้งเรื่องการฉีดวัคซีน เตรียมพร้อมบริหารจัดการ รพ. บุคลากรทางการแพทย์ ทำความเข้าใจกับโควิดระยะยาว

สถานการณ์โควิดที่บ้านเราตอนนี้ เปรียบเหมือนช่วงฮันนีมูลของโควิด คือมีจำนวนผู้ป่วยที่ทรงตัว โควิดเหมือนหยุดพักร้อนให้ได้หายใจหายคอกัน แต่ต้องไม่ประมาทเพราะด้วยธรรมชาติของตัวโรค จะมีช่วงสงบหรือมีการระบาดแบบเอื่อย ๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นอยู่หรือเปล่า ? ถ้าเราหยุดพักร้อนไปพร้อมโควิดไม่ตั้งกาดพร้อมรับมือ โอกาสที่จะกลับมาระบาดก็มี ดูอย่างหลาย ๆ ประเทศที่เกิดเวฟการระบาดกลับมาซ้ำให้เห็นกันอยู่ อย่างน้อยความกังวลของการระบาดเวฟถัดไป ควรนำมาซึ่งการ เตรียมตัวให้ดีทั้งระบบโรงพยาบาล ระบบบริหารบุคลากร  ยาและเวชภัณฑ์ และการบริหารจัดการระบบดูแลผู้ป่วยจากบทเรียนเก่าที่ผ่านมา

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์  ได้ประเมินเหตุการณ์สถานการณ์เมื่อโควิด-อัพเดท อะไรต้อง-อัพเกรด ไว้ 4 ประเด็นที่น่าสนใจ

ข่าวเกี่ยวข้อง

 

Long Covid โควิดระยะยาว เรื่องต้องรู้เมื่อหายจากโควิด

ช่วงนี้เราอาจได้ยินคำว่า Long Covid กันอยู่บ่อย ๆ ลองโควิดก็คือโรคระยะยาวที่เกิดจากโรคโควิด-19 คือหลังหายป่วยโควิดอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่างของร่างกาย ซึ่งเกิดได้หมดกับทุกอยวัยวะ คุณหมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ระบุว่า " สามารถพบอาการได้มากกว่า 100 อาการ ในผู้ติดเชื้อไม่ว่าอาการหนักหรือเบา ไม่จำกัดอายุ เมื่อการติดเชื้อผ่านพ้นไป จะมีอาการเรื้อรังเกิดขึ้นได้ และกระทบได้ทุกอวัยวะ สมองอาจเกิดการพัฒนาไม่เต็มที่ หรือกระตุ้นอาการสมองเสื่อม อาการจะมากหรือน้อยต่างกันตามแต่บุคคล ส่งผลกระทบต่อตัวสุขภาพผู้ป่วยระยะยาว และยังจะส่งผลต่องบประมาณการรักษาต่อเนื่องยืดเยื้อทับซ้อนกันไปใหญ่กับการรักษาผู้ป่วยโควิดอาการหนัก " ดังนั้นเราต้องรู้เท่าทันอาการระยะยาว หรือที่เรียกว่า Long Covid เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ และดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี การหมั่นสังเกตความผิดปกติหลังหายจากโควิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

 

อย่าประมาทกับโควิด และห้ามมองข้าม Long Covid หรือโควิดระยะยาว

ฉีดวัคซีน mRNA กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กผู้ชาย

ช่วงนี้เด็ก ๆ ก็เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิดกันแล้ว ซึ่งก็มาพร้อมกับประเด็นความกังวลเรื่องการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็กว่าสามรถส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้โดยเฉพาะในเด็กผู้ชาย

คุณหมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผย  " วัคซีนแต่ละตัวมีผลข้างเคียงในทางไม่ดีเฉพาะตัว ส่วน mRNA มีการเก็บข้อมูลพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้ชาย แม้จะมีอัตราการเกิดต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรเกิดขึ้น " วันที่ 13 ต.ค. 2564 คุณหมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้โพสต์ข้อความอับเดทข้อมูลเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ข้อความบางส่วนว่า

การรวบรวมข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือ CDC ความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภายใน 7 วันจากไฟเซอร์ โมเดอร์นา (23 มิถุนายน 2564)

ช่วงอายุ 12 ถึง 17 ปี ผู้ชาย 62.75 ต่อ 1 ล้านโดส ผู้หญิง 8.68 ต่อ 1 ล้านโดส

ช่วงอายุ 18 ถึง 24 ปี ผู้ชาย 50.49 ต่อผู้หญิง 4.39

ช่วงอายุ 25 ถึง 29 ปี ผู้ชาย 16.27 ต่อผู้หญิง 1.69

ช่วงอายุ 30 ถึง 39 ปี ผู้ชาย 7.34 ต่อผู้หญิง 1.18

ช่วงอายุ 40 ถึง 49 ปี ผู้ชาย 3.96 ต่อผู้หญิง 1.81

ช่วงอายุ 50 ถึง 64 ปี ผู้ชาย 1.11 ต่อผู้หญิง 0.96

อายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชาย 0.61 ต่อผู้หญิง 0.46

หัวใจผิดปกติในเด็กชายหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์สูงมาก (162.2 คน ใน 1 ล้านคน) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคุณหมอ Tracy Hoeg และคณะ จาก University of California, Davis ภาควิชา Physical Medicine and Rehabilitation

CDC สรุปในวันที่ (8 กันยายน 2564) มักเกิดในผู้ชายอายุไม่มาก มักเกิดตามหลังเข็มที่สองเกิดขึ้นภายในไม่กี่วันหลังได้รับวัคซีน ตอบสนองต่อการรักษาดีแต่ต้องปรึกษาหมอหัวใจในเรื่องการออกกำลังและการเล่นกีฬาหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว

นอกจากนี้ งานวิจัยจากแคนาดาพบความเสี่ยงจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากวัคซีน mRNA อยู่ที่ 1 ต่อ 1 พัน เป็นชายถึง 90% และโมเดอร์นามากกว่าไฟเซอร์ 4 เท่า ทั้งนี้อาจจะเกิดจากเนื้อวัคซีนที่มากกว่าและชนิดของสารที่ใช้กระตุ้นคู่กับวัคซีน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงของหัวใจอักเสบจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ประมาณหนึ่งใน 1,000 ถึงหนึ่งใน 10,000 และแม้แต่จะเกิดในผู้ชายอายุน้อยมากกว่าผู้หญิงก็ตาม แต่เมื่อนำมาใช้ในอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ เช่นจนถึงอายุสามขวบจะมีความปลอดภัยและคุ้มกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวหรือไม่ ทั้งนี้ตัวเลขของการเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากหัวใจอักเสบในบางพื้นที่จากรายงานจะสูงกว่าที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อโควิด ในกลุ่มอายุน้อยโดยเฉพาะอายุ 12 ถึง 17 ปี และไม่มีโรคประจำตัวด้วยซ้ำ

ถึงแม้จะมีเปอร์เซ็นต์ไม่มาก แต่ก็ไม่ควรจะเกิดขึ้นเพราะหากเกิดกับเด็ก ๆ ก็จะส่งผลระยะยาว ซึ่งคุณหมอเองก็มีคำแนะนำว่า เด็ก ๆควรได้รับวัคซีนเชื้อตาย และควรฉีดที่ชั้นผิวหนังจากเดิมที่ฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ และยังใช้วัคซีนปริมาณน้อยกว่า สามารถกระจายวัคซีนได้มากขึ้นทำให้วัคซีนทั่วถึง " แม้จะเกิดไม่มาก จะมีทางเลือกเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนังได้หรือไม่ ? ซึ่งปริมาณวัคซีนที่ได้รับจะน้อยกว่า และผ่านกลไกที่กระตุ้นการอักเสบน้อยกว่า และยังสามารถเจือจานให้คนได้มากขึ้น ปลอดภัยควรสูงสุด ประโยชน์ยังได้ คนเข้าถึงได้มากขึ้นฉีดให้คนได้เยอะกว่าบริษัทขายได้น้อยลงคงไม่เป็นไร "

และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ยังได้แนะนำด้วยว่าเด็ก ๆ ควรได้รับวัคซีนชนิดไหน รวมทั้งประเมินสถานการณ์ 3 เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปี 2564 ไว้อย่างน่าสนใจถึงประเด็นโควิดจะกลับมาระบาดอีกหรือไม่ เราต้องอยู่กับโควิดไปอีกนานแค่ไหนและต้องอยู่อย่างไรให้รอดกันทั้งประเทศ 

ดูคลิปเต็มที่ลิงค์ด้านล่าง และสามารถติดตามรายการอยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 และสปริงออนไลน์

related