svasdssvasds

แร่ธาตุลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง การขุดเหมืองกระทบสิ่งแวดล้อมยังไง?

แร่ธาตุลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง การขุดเหมืองกระทบสิ่งแวดล้อมยังไง?

ประเทศไทยพบแหล่งแร่ลิเทียมอันดับ 3 ของโลก? ชวนดูว่าทั่วโลกมีแหล่งแร่ลิเทียมที่ไหนบ้าง? ลิเทียมคืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง และการทำเหมืองกระทบสิ่งแวดล้อมแค่ไหน?

เกิดเป็นที่ฮือฮาสำหรับเดือนมกราคมนี้ หลังกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ออกมาประกาศว่า ประเทศไทยของเราพบแหล่งแร่ลิเทียมมากกว่า 14.8 ล้านตัน มากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากโบลิเวียและอาร์เจนตินา และเป็นเกรด เกรดลิเทียมออกไซด์เฉลี่ย 0.45% ที่ถือว่ามีคุณภาพสูง

สร้างความหวังแต่ตื่นเต้นเร้าใจให้กับประชาชนมาก ๆ แต่แล้ว แสงนั้นก็ดับลง เพราะภายหลังได้ออกมาแก้ข่าวว่า เข้าใจผิด ไทยไม่ได้มีแร่ลิเทียมมากเป็นอันดับ 3 ของโลก 

ที่จริงการค้นพบนี้ เป็นผลงานของทีมวิจัยที่นำโดย ผศ.ดร.อลงกต ฝั้นกา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยแร่และศิลาวิทยาประยุกต์ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ค้นพบแหล่งทรัพยากรลิเทียม ที่แหล่งสำรวจบางตีอุ้มและแหล่งเรืองเกียรติ จ.พังงา ซึ่งงานวิจัยก็ไม่ได้บอกนะว่าพบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก

ข้อเท็จจริงคือ แหล่งแร่ลิเทียมดังกล่าว อยู่ในแร่เลพิโดไลต์ (lepidolite) มีลักษณะเป็นแร่แผ่นสีม่วงอมชมพูที่พบในหินเพกมาไทต์ (pegmatite) ที่เกิดจากการตกผลึกของแมกมาที่สัมพันธ์กับหินแกรนิตที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย

งานวิจัยบ่งชี้ว่าสิ่งที่พบคือ Mineral Resource ซึ่งก็คือ ปริมาณทางธรณีวิทยาของทรัพยากรกรแร่ ไม่ใช่ Lithium Resource ที่หมายถึงทรัพยากรโลหะลิเทียม กล่าวง่าย ๆ คือ ปริมาณ 14.8 ล้านตันนั้น คือรวมแร่ทั้งหมดที่ปกคลุมลิเทียมอยู่ด้วย ไม่ใช่ลิเทียมเพียว ๆ ซึ่งการจะได้มาซึ่งลิเทียมเราจะต้องนำไปกลั่น ไปสะกัดออกมาอีกที ดังนั้น ปริมาณที่ประมาณไว้หลังสกัดออกมาเราก็น่าจะได้ลิเทียมประมาณ 6 หมื่นตันเท่านั้น

แร่ลิเทียม คือโลหะที่เบาที่สุดในบรรดาโลหะทั้งปวง มีความหนาแน่นครึ่งหนึ่งของน้ำ ซึ่งมีสัญลักษณ์ในตารางธาตุคือ Li ทนความร้อนสูง

ส่วนใหญ่แร่ลิเทียมจะถูกนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ถ่านไฟฉาย จาระบีลิเทียม รวมไปถึงแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่กำลังมีความต้องการสูงในตลาด EV CAR ตอนนี้ จึงไม่แปลกที่หลายคนจะคาดหวัง เพราะหากประเทศไทยพบแหล่งแร่ลิเทียมจริง ๆ อาจจะทำให้เราเป็นผู้ส่งออกลิเทียมรายใหญ่ของโลกและแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอาจจะมีราคาถูกลงได้

แล้วประเทศไหนมีแหล่งแร่ลิเทียมมากที่สุด ข้อมูลจาก U.S.Geological Survey หรือสำนักงานธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา ที่อัปเดตเมื่อเดือนมกราคม 2023 เผยว่า ประเทศที่มี Lithium Resource มากที่สุดคือ โบลิเวียมีแร่ลิเทียม 21 ล้านตัน รองลงมาคือ อาร์เจนตินา 20 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา 14 ล้านตัน ชิลี 11 ล้านตัน และออสเตรเลีย 7.9 ล้านตัน

ส่วนประเทศที่ผลิตลิเทียมได้มากที่สุด (Lithium Producers) ข้อมูลจากแหล่งเดิมแต่อัปเดตปี 2022 เผยว่า ออสเตรเลียผลิตลิเทียมได้มากถึง 61,000 ตัน มากที่สุดในโลก รองลงมาคือ ชิลี 39,000 ตัน จีน 19,000 ตัน อาร์เจนตินา 6,200 ตัน และบราซิล 2,200 ตัน

การมีแร่ลิเทียม บ่งบอกถึงความก้าวหน้าด้านทรัพยาแร่และความมั่งคั่งของประเทศใช่ไหมคะ แต่จริง ๆ แล้ว การจะสร้างเหมืองแร่นั้น เราจะต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าของเราชุดใหญ่เลย

การทำเหมืองแร่สิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร?

เมื่อพบแร่ ขั้นตอนต่อมาคือตั้งแคมป์ทำเหมือง เพื่อให้การทำงานราบรื่นและสะดวกขึ้น จะต้องมีการตัดต้นไม้เคลียร์พื้นที่ เมื่อพื้นที่ป่าเริ่มมีกิจกรรมของมนุษย์มากขึ้น พื้นที่ป่าก็แหว่งหายไป สัตว์ก็ไม่กล้าที่จะมาอยู่หรือเดินผ่าน และต้องย้ายหนีไปป่าอื่นที่สงบกว่า รวมถึงชุมชนแถวนั้นด้วย

ต่อมาคือ เมื่อมีการขนส่งแร่เข้าออกพื้นที่ การนำรถเข้าไป การทำกิจกรรมและกระบวนการทำเหมืองทั้งหมดจะทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นมีการปนเปื้อน เช่น การทำเหมืองจะมีการใช้กรดซัลฟิวริก และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ในการสกัดลิเทียม ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่สารเหล่านี้จะแทรกซึมลงไปในดินและน้ำของพื้นที่ใกล้เคียง สร้างความเป็นพิษให้กับระบบนิเวศ และเสี่ยงสัตว์ได้รับสารพิษเหล่านี้ด้วย

ยกตัวอย่าง งานวิจัยจากวารสาร Proceedings of the Royal Society เผยว่า นกฟลามิงโก 2 สายพันธุ์ในชิลีถูกคุกคามเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากการขุดลิเทียม นี่ยังไม่นับรวมกับการเผาไหม้ การปล่อยคาร์บอน และสร้างฝุ่นละอองฟุ้งในพื้นที่แห่งนั้นด้วย

สุดท้ายก็เรื่องผู้คนในท้องถิ่นและกลุ่มชนชาติพันธุ์นี่แหละ ชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ได้รับผลกระทบจากการขุเหมืองลิเทียม กิจกรรมดังกล่าว ทำให้ชนพื้นเมืองเดินออกจากดินแดนที่เรียกว่าบ้านไปหลายร้อนคนแล้ว เพราะสุดท้ายเสียงของพวกเขาไม่มีความหมายและแพ้อำนาจของเอกชนอยู่ดี หรือชุมชนในทะเลทราบอาตากามาของชิลี แหล่งน้ำที่นั้นปนเปื้อนสารเคมีอันตรายที่มาจากบริษัทเหมืองแร่ 2 แห่งแถวนั้น ซึ่งที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาเสื้อผ้า ปัญหาฟาร์ตแฟชั่นโลกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related