svasdssvasds

MEA การไฟฟ้านครหลวง ทุ่มงบโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน 236.1 กิโลเมตร

เสร็จเพิ่มอีกหนึ่งเส้นทาง กับการนำระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดิน บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ รวมแล้วเสร็จ 62 กิโลเมตร ที่การไฟฟ้านครหลวงหรือ MEA ทุ่มเทเพื่อให้สำเร็จตามเป้าทั้งหมด 236.1 กิโลเมตรใน ปี 2570

       โบกมืออำลา เสาไฟฟ้ากลางกรุง กันไว้เลย เพราะอนาคต เราจะไม่ได้เห็นกันอีกแล้ว ด้วยโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน 236.1 กิโลเมตร จาก MEA  ทุ่มงบเต็มที่ 300 ล้าน ต่อ 1 กิโลเมตร แล้วเสร็จ  ปี 2570  
       ภาพต่อไปนี้ คือ ถนน นราธิวาสราชนครินทร์ ใจกลางกรุงที่หลายคนขับรถผ่านเป็นประจำ สังเกตว่า แปลกตาไปไหม? เพราะว่าสายไฟฟ้าบนดิน  หายไปแล้วนั่นเองค่ะ เพราะตอนนี้ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง กำลังดำเนินโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ทั้งหมดระยะทางรวม 236.1 กิโลเมตร  มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2570  

       โดยถนนนี้ เป็น 1 ใน 7 เส้น ภายใต้โครงการนนทรี  8.3 กิโลเมตร  มีถนนอะไรบ้าง  ได้แก่ ถนนสาธุประดิษฐ์ ซอยอนุมานราชธน  ถนนสว่างอารมณ์  ถนนรัชดาภิเษก ถนนสาทร ถนนนางลิ้นจี่  และถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นโครงการล่าสุด
ที่เปลี่ยนเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน แล้วเสร็จ ถือเป็นการเพิ่มความงดงามของทัศนียภาพบนถนนใจกลางกรุง
 
ความเข้าใจของภาคประชาชน เป็นสิ่งสำคัญ

       เพราะการก่อสร้าง โครงการนี้ใช้เวลาหลายปีและ กินพื้นที่ถนน  MEA  จึงต้องทำความเข้าใจกับประชาชนและภาคเอกชนที่อาศัยบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง โดยจัดให้มีการประชุมชี้แจงขั้นตอนทุกโครงการ และรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

  • sdf
  • sdf
  • sdf

กว่าจะงดงามแบบที่เห็น
       จริงๆแล้ว ก่อนเริ่มสร้าง จนเรียบร้อยสวยงามแบบที่เห็น
MEA เขามีการวางแผน ออกแบบด้านระบบไฟฟ้าอย่างดี
ซึ่งงบที่ใช้สร้าง  เฉลี่ยราว  300 ล้านบาท ต่อ 1 กิโลเมตร  
สูงกว่า ระบบสายไฟฟ้าบนดินถึง 10 เท่า  เพราะแน่นอนการสร้างระบบไฟฟ้าใต้ดิน ซับซ้อนกว่าบนดิน เทคโนโลยีและอุปกรณ์ก็ต้องมีความแข็งแรงมากกว่า เหมาะสมกับระบบใต้ดิน ทนทานน้ำท่วมด้วยและในการก่อสร้าง ก็ค่อนข้างมีข้อจำกัด เนื่องจากเวลาในการอนุญาติให้ก่อสร้างเฉพาะ 22.00 - 05.00 น. เท่านั้น เพื่อเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด  รวมถึงต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างที่มีความซับซ้อน 
การวางระบบสำหรับไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่ำ ก็มีความลึกที่ต่างกัน ตั้งแต่ 60 เซนติเมตร ถึง 10 เมตร ใต้ผิวดิน ซึ่งก็ต้องใช้เวลา และความชำนาญเป็นพิเศษด้วย

ก่อนรื้อเสาไฟฟ้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย  
       MEA ต้องประสานหน่วยงานด้านโทรคมนาคม  เช่น กสทช. และผู้ประกอบการสายสื่อสาร ให้ทำระบบสายใต้ดิน  และ รื้อถอนสายเดิม  ควบคู่กับโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน แน่นอนว่า โครงการใหญ่ขนาดนี้ ไม่ได้สำเร็จได้เพียงลำพัง แต่ MEA ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วงด้วยดี
ทั้งเจ้าของพื้นที่ เช่น กรุงเทพ อปท.นนทบุรี และสมุทรปราการ
ด้านการจราจร  ด้านสายสื่อสาร และหน่วยงานอื่นๆ ที่มีการวางระบบสาธารณูปโภคไว้ใต้ดิน

ความคืบหน้าโครงการสายไฟฟ้าใต้ดินของ MEA
       ทั้งหมด 236.1 กิโลเมตร  มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2570  ล่าสุดสำเร็จไปแล้ว 62 กิโลเมตร  อยู่ในพื้นที่ โครงการนนทรี รวมถึง ถนนสายสำคัญ  เช่น ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท  ถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท  ถนนพระราม 1 ถนนราชดำริ  ถนนราชวิถี ถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยา  และระหว่างก่อสร้าง 174.1 กิโลเมตร 
เช่น โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก   และแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน  เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน

       สรุปและทั้งหมดนี้คือความคืบหน้ารายละเอียดของโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน จาก MEA เห็นแล้วใช่ไหม่คะว่า การทำระบบไฟฟ้าใต้ดินนั้น ไม่ง่าย และใช้งบมหาศาลจริงๆ แต่ถึงแบบนั้น MEA ยังคงเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเกิดความสวยงามบนท้องถนน ตอบสนองความต้องการของประชาชน และหัวใจสำคัญ คือ รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง เพียงพอ และปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในเมืองกรุงให้มากที่สุดนั่นเอง

related