svasdssvasds

บทพิสูจน์ ไต้หวัน ภายใต้วิกฤต เสียพันธมิตร จากแรงกดดันของจีน

บทพิสูจน์ ไต้หวัน ภายใต้วิกฤต เสียพันธมิตร จากแรงกดดันของจีน

ไต้หวัน กำลังเผชิญวิกฤต ในการรักษาพันธมิตร และสถานะในประชาคม ระหว่างเทศ เมื่อเอล ซัลวาดอร์ ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูต เพื่อยึดนโยบายจีนเดียว ถือเป็นประเทศที่ 3 ในปีนี้ ที่ถอนความเป็นพันธมิตรกับไต้หวัน

ไต้หวัน ภายใต้วิกฤต เสียพันธมิตร จากแรงกดดันของจีน

นับตั้งแต่ ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน ปฏิเสธข้อเรียกร้องของจีน ที่ให้เกาะไต้หวัน เป็นส่วนหนึ่งของจีน ทำให้รัฐบาลจีน ใช้มาตรการแข็งกร้าว กดดันไต้หวัน ให้สูญเสียสถานะมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการกดดันผ่านธุรกิจข้ามชาติ ด้านความมั่นคง และทางการทูต

ประธานาธิบดีซานเชซ เซเรน ของเอล ซัลวาดอร์ คือรายล่าสุด ที่ออกมาประกาศว่า จะตัดสัมพันธ์กับไต้หวัน ในขณะที่ไต้หวัน กล่าวหาจีนใช้เรื่องของเงิน มาล่อลวงผู้สนับสนุนไต้หวัน ให้ตีตัวออกห่าง

ทั้งนี้ ไต้หวัน มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเพียง 17 ประเทศ  เท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นประเทศเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแคริบเบียน และอเมริกากลาง

แต่นับตั้งแต่นาง ไช่ อิงเหวิน ซึ่งมีนโยบายที่แข็งกร้าว ต่อจีน หลังรับตำแหน่งในปี 2016 ขณะนี้ มี 5 ประเทศแล้ว ที่ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน โดยเฉพาะในปีนี้ เพียงปีเดียว มีถึง 3 ประเทศ

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า การถูกตัดสัมพันธ์ทางการทูต นั้นมีนัยยะสำคัญ ต่อไต้หวัน เพราะไต้หวัน นั้นต้องการรับรองสถานะอย่างเป็นทางการของตน ในฐานะประเทศที่มีอธิปไตย มีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย มีกฎหมายและสกุลเงินของตนเอง

ทางด้านจีน มองว่า ไต้หวันคือมณฑลหนึ่ง ที่ต้องนำกลับมารวมกับจีน ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ย้ำตลอดถึงความสำคัญของการรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อความรุ่งเรือง

โจนาธาน ซัลลิแวน นักวิเคราะห์ด้านจีน จากมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮม ระบุว่า หากไต้หวัน ไม่ได้รับการรับรองจากทุกประเทศ ในท้ายที่สุด ก็จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับจีน ในการทำให้รัฐบาลไต้หวัน นั้นไม่มีความชอบธรรม ในการปกครองประเทศ

related