svasdssvasds

8 ข้อ ช่วยเซฟใจกันและกัน เวลาเริ่ม “ทะเลาะ” กับใครสักคน

8 ข้อ ช่วยเซฟใจกันและกัน เวลาเริ่ม “ทะเลาะ” กับใครสักคน

เวลาทะเลาะกับคนใกล้ตัว มันช่างบั่นทอนพลังงานใจเสียเหลือเกิน ดังนั้นต่อไปนี้มาชวนทะเลาะอย่างมีศิลปะกันเถอะ แถมยังทำให้ทำให้ความสัมพันธ์ Productive มากขึ้นอีกด้วย

8 วิธีต่อไปนี้ ถูกหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Psychology Today โดย Randi Gunther ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญย้ำนักหนาว่า กฎ 8 ข้อนี้จะเวิร์ก เมื่อต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจจะปฏิบัติตามเพื่อเซฟใจกันและกันเท่านั้น

8 ข้อ ช่วยเซฟใจกันและกัน เวลาเริ่ม “ทะเลาะ” กับใครสักคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

อยู่ใกล้กันมากขึ้น อย่ารักกันน้อยลงช่วง COVID-19

Work-Life Balance มีปัญหา ตกดึกทีไร นอนไม่หลับทุกที วิธีไหนช่วยได้บ้าง

นาฬิกาชีวิตไม่สมดุล! 7 เคล็ดลับปรับ Biological Clocks คืนความสดใสให้ร่างกาย

กระเถิบเข้ามาใกล้กันหน่อย

เวลาอยู่คนละมุมห้อง จะต่อว่าอะไรใส่กันคงทำได้ง่าย ดังนั้นถ้ามีอะไรอยากพูดตอนโกรธ ให้พูดตอนอยู่ใกล้ๆ กันในระยะ 3 ฟุตพอ นั่งลงคุยกันด้วยก็ดี เราจะได้เห็นปฏิกิริยาอีกฝ่ายแบบใกล้ๆ ซูมๆ และช่วยให้ระมัดระวังคำพูดมากขึ้นนั่นเอง

การสื่อสารต้องมีทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

ถ้าเราอยากร้องขออะไรสักอย่าง แต่อีกคนไม่พร้อมฟัง ก็คงเหมือนเราพูดกับกำแพง ซึ่งไม่ใช่การสนทนาที่ดี จะเปิดประเด็นอะไรต้องเลือกจังหวะที่อีกฝ่ายพร้อมรับฟังเราเช่นกัน

ไม่เอาเรื่องเปราะบางของอีกฝ่ายมาทำร้ายกัน

คนที่อยู่ด้วยกันมานานๆ ย่อมรู้ว่าเรื่องไหนที่อีกฝ่ายรู้สึกอับอายหรือเจ็บปวด สิ่งเหล่านั้นห้ามเอามาใช้โจมตีกันเด็ดขาด

หัดรับมือคำวิจารณ์

เวลาโดนพูดวิจารณ์ ใจมันจึ้กจนอยากจะสวนกลับใช่ไหมคะ แต่หยุดประโยคในใจนั้นไว้ค่ะ แทนที่จะพูดย้อนว่า “เธอเองก็ทำผิดเหมือนกันนั่นแหละ!” ลองใหม่ว่า “บางครั้งเราคงพลาดไปจริงๆ ช่วยขยายความให้เราเข้าใจอีกหน่อยได้ไหมในจุดที่เธอไม่พอใจ อะไรจะทำให้เธอสบายใจขึ้นบ้าง” แล้วนี่จะกลายเป็นโอกาสทองของการปรับความเข้าใจกันอย่างแท้จริง

หลีกเลี่ยงการพูดย้ำซ้ำๆ ในประโยคเดิมๆ

เคยไหมคะที่คนใกล้ตัวก็มาขอโทษแล้ว แต่จังหวะนั้นเรายังเผลอชวนทะเลาะด้วยวิธีการเดิมๆ เพราะคนเรามีแพทเทิร์นพฤติกรรมที่เคยชินอยู่นั่นเองค่ะ เพื่อไม่ให้การทะเลาะกันต้องจบลงแบบหนังเก่าเล่นวนซ้ำ ลองปรับคำพูดหรือพฤติกรรมใหม่ดู

ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง

บางทีเราใช้การทะเลาะเป็นเครื่องมือตอบสนองความต้องการส่วนตัวที่ซ่อนไว้แบบเนียนๆ

ไม่เอาปัจจัยภายนอกมากดดันอีกฝ่าย หรือทำให้ตัวเองเหนือกว่า

ยกตัวอย่าง เช่น “ขนาดเพื่อนสนิทเธอยังเห็นด้วยกับเราเลย” หรือ “ถ้าเธอจะพูดแบบนั้น ไปหาหลักฐานมาก่อนเถอะว่าใครเห็นด้วยกับเธอบ้าง” อะไรพวกนี้เป็นวิธีที่ไม่น่ารัก เพราะแสดงถึงการควบคุมไม่ให้อีกคนตอบโต้ได้ ท่องไว้เลยว่าการทะเลาะที่ดีเป็นเรื่องของคนสองคนจ้ะที่รัก

สังเกตหน่อยว่าอีกคนยังไหวไหม

เวลาหัวร้อน เรามักลืมสังเกตว่าอีกฝ่ายยังรับข้อมูลไหวไหม เหนื่อยหรือเฮิร์ตเกินจะคุยกันต่อรึเปล่า อย่าลืมดูมวลบรรยากาศระหว่างทางด้วยนะคะ เพราะถ้าอีกคนไม่ไหวแล้ว ทะเลาะกันต่อก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา มีแต่จะจ๋อยกันไปใหญ่ว่าไม่สนใจกันเลย

related