svasdssvasds

"ข่าวปลอม" เยอะเกินต้าน Facebook อ่านขาดแล้วจัดการยังไง?

"ข่าวปลอม" เยอะเกินต้าน Facebook อ่านขาดแล้วจัดการยังไง?

สรุปแนวทางแก้ปัญหาข่าวปลอมในแบบของ Facebook จาก "Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย” เวทีเสวนาเสมือนจริงที่จัดโดย สปริงนิวส์ และ เนชั่นกรุ๊ป เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบจากข่าวปลอม พร้อมทั้งเผยวิธีรับมือข่าวปลอมจาก 2 ตัวแทนแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก

ข่าวปลอม แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านทางแอปแชตและโซเชียลมีเดีย สังเกตไหมว่า บางครั้งสารที่ได้รับมาก็ไม่ชัดเจน ไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิง ไม่เป็นเหตุเป็นผลก็มี ทำให้ผู้คนสับสนปนเปกับความเข้าใจผิดจากข่าวปลอมมากมาย และโดยเฉพาะ Facebook แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก แน่นอนว่าเป็นแหล่งพบปะพูดคุย แชร์ข้อมูลทั้งจริงและเท็จ Jenna Hand, Misinformation Policy Manager, Facebook Thailand จึงมาเผยวิธีจัดการข่าวปลอมให้ทุกคนได้ฟัง ในงาน Virutal Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564

Jenna เปิดประเด็นว่า ข่าวปลอม/ข้อมูลลวง แบ่งได้เป็น Disinformation และ Misinformation 

  • Disinformation คือ ข้อมูลที่บิดเบือน ข่าวลวง ผิดไปจากมาตรฐานหรือบรรทัดฐานของสังคม
  • Misinformation คือ ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง แชร์กันไปโดยไม่รู้ว่าเรื่องนั้นจริงหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริง เป็นเรื่องที่ใช้เหตุและผลพิจารณา หาคำตอบหรือวิธีพิสูจน์ได้ เช่น ยาปลอม อาหารเสริมที่ไม่ได้ช่วยรักษาหรือป้องกันโรค 

misinformation หยุดข่าวปลอม

เพื่อป้องกันไม่ใช้ข้อมูลผิดๆ กับข่าวปลอมแพร่กระจายออกไป Facebook จึงตรวจจับและแบ่งการจัดการข้อมูลออกเป็น 3 รูปแบบ : Remove - Reduce - Inform

1. Remove : ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย เช่น A.I. ที่เฟซบุ๊กในการตรวจจับคอนเทนต์หรือแอคเคานต์ หากพบประเด็นเหล่านี้จะลบออกจากระบบ 1) ข้อความหรือภาพความรุนแรงที่เกินบรรทัดฐานทางสังคม 2) ข้อความที่เข้าข่ายไซเบอร์บูลลี 3) ข้อความที่แสดงถึงการคุกคามทางเพศ 4) คอนเทนต์ที่เป็น Deepfake ตลอดจน 5) ข้อมูลใดๆ ที่ทำให้เข้าใจผิดและก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมือง การสนับสนุนการเลือกตั้ง ข้อมูลด้านสุขภาพและการแพทย์ 

เช่น ตั้งแต่โควิดระบาดจนถึงเดือนมิถุนายน 2021 เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมลบคอนเทนต์ที่ให้ข้อมูลผิดๆ แก่ชาวโซเชียลมากถึง 20 ล้านคอนเทนต์ และมากกว่า 3,000 แอคเคานต์/เพจ/กรุ๊ป ที่ให้ข้อมูลผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เฟซบุ๊กก็ลบออกจากแพลตฟอร์มเพราะไม่ทำตามกฎของคอมมูนิตี้

Jenna หยุดข่าวปลอม

ข่าวปลอม

2. Reduce : เฟซบุ๊กมีพาร์ทเนอร์มากกว่า 80 องค์กรทั่วโลก มาร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact checking) โดยตรวจสอบได้มากถึง 60 ภาษา สำหรับการใช้งานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 17 ประเทศ และหากตรวจพบคอนเทนต์คุณภาพต่ำ หรือไม่เป็นความจริง ระบบก็จะลดการมองเห็นและการเข้าถึง

สำหรับประเทศไทย เฟซบุ๊กร่วมมือกับหน่วยงาน ASP ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ผ่านมาพบว่า มีข้อมูลบนเฟซบุ๊กบางส่วนผิด ไม่เคลียร์ หรือบอกไม่หมด เช่น ผลข้างเคียงจากวัคซีน ทำให้คนตื่นกลัวการไปรับวัคซีน เฟซบุ๊กจึงใช้วิธีแสดงข้อความเพื่อย้ำเตือนการบริโภคคอนเทนต์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด รวมแล้วมากกว่า 190 ล้านครั้ง 

3. Inform : เฟซบุ๊กกำหนดให้มีการแจ้งเตือนสิ่งที่คุณจะแชร์ เช่น คอนเทนต์ที่โพสต์มานานกว่า 90 วัน เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า จะแชร์ให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเห็นใช่หรือไม่ ทั้งยังมีการขึ้นป๊อปอัปบน News feed ว่าข้อมูลนี้ไม่ถูกต้อง ตลอดจนแนะนำหรือช่วยเชื่อมผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง ให้สามารถเช็กข้อมูลกับแหล่งข่าวต้นทางได้

หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย Facebook Thailand

ข่าวปลอม เฟซบุ๊ก หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย

Jenna ยกเคสข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิดมาประกอบเป็นระยะ และเปิดเผยว่า เฟซบุ๊กออกนโยบายเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้งานและป้องกันความเข้าใจผิดที่เกี่ยวกับโควิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะถ้าผู้ใช้งานเชื่อข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโควิด เกี่ยวกับวัคซีน เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง อาจทำให้มีผู้ติดเชื้อมากขึ้น ผู้ป่วยอาจป่วยหนักขึ้น หรือเป็นพาหะที่แพร่กระจายเชื้อได้อย่างไม่คาดคิด ทั้งนี้เฟซบุ๊กจะยึดคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ออกมายืนยันแล้วว่า ข้อมูลใดเชื่อถือได้ เรื่องใดเป็นข่าวปลอม และยึดตามข้อมูลจากองค์กร เช่น WHO หรือ องค์การอนามัยโลก ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยืนยันความถูกต้อง (Fact Checking)

นอกจากนี้ เฟซบุ๊กยังจัดพื้นที่สำหรับแชร์ความรู้เกี่ยวกับโควิดให้แก่ทีมงานและบุคคลทั่วไปผ่านทาง COVID-19 Information Center จัดทำแคมเปญ We Think Digital ให้ความรู้ แนะทักษะสำหรับการเป็นพลเมืองดิจิทัล จัดทำ Facebook Journalism Project เพื่อให้สื่อหรือคนข่าวรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร การใช้เครื่องมือดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด โดยให้เรียนผ่าน Online Training Course ช่องทางที่สามารถฝึกนักข่าวให้เป็น Digital Journalist หรือ นักข่าวดิจิทัล ที่มีทักษะและความฉลาดด้านสื่อมวลชน (Media Literacy) เป็นเกราะป้องกันตัว

รับชมย้อนหลังตอนที่ Jenna Hand กล่าวใน Virtual Forum ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

related