svasdssvasds

แนะวิธีรู้ทันข่าวปลอมจากงาน “Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย”

แนะวิธีรู้ทันข่าวปลอมจากงาน “Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย”

30 สิงหาคม 2564 - สปริงนิวส์ และ เนชั่นกรุ๊ป จัดงาน "Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย” เวทีเสวนาเสมือนจริงที่มีผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม/ตัวแทนจาก 4 แพลตฟอร์มดิจิทัล มาชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาจากข่าวปลอม แนวทางตรวจสอบข่าวปลอม และวิธีรับมือปัญหานี้ทั้งในไทยและในระดับโลก

Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย ใช้เทคนิค การถ่ายทอดสดแบบ Hologram โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มากล่าวปาฐกถาพิเศษ นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด มหาชน) มาเป็นประธานเปิดงาน

virtual หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย

ฉาย บุนนาค นายฉาย บุนนาค เกริ่นถึงปัญหาข่าวปลอมว่า “ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังมีผลกระทบอย่างมากในสังคมไทย และยังเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ทั้งในส่วนของการแก้ไขและการเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม

“ในนามสื่อเนชั่นกรุ๊ป เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะการเป็นสถาบันสื่อมืออาชีพด้วยระบบการบริหารของกองบรรณาธิการที่ยึดมั่นในการนำเสนอข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร และที่สำคัญคือการทำหน้าที่ ‘ตรวจสอบ’ ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้กับสังคมเพื่อประโยชน์ของประชาชน”

เนื่องจาก ข่าวปลอม (Fake News) ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความตื่นตระหนก และอาจนำมาสู่สารพันปัญหา การจัดงาน Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

คุณกัส Virtual Forum

ดfakw news ข่าวปลอม ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ระวี ตะวันธรงค์ บรรณาธิการบริหาร The Nation Thailand - Spring News และนายกสมาคมผู้สื่อข่าวออนไลน์ ฉายภาพข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในระดับโลกว่า

  • ข่าวที่เชื่อถือได้น้อยที่สุดจากทั่วโลก คือข่าวที่มาจาก โซเชียลมีเดีย
  • 37% ของชาวยุโรป เจอข่าวปลอมทุกวัน
  • สเปน เป็นประเทศในยุโรปที่พบความถี่ของข่าวปลอมมากที่สุด
  • 30% ของชาวอินเดีย ตรวจสอบความถูกต้องของข้อความ/ข้อมูลที่ได้รับจาก WhatsApp ไม่ถึงครึ่งก่อนที่จะแชร์ต่อ
  • ฯลฯ

DES ด้าน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงข่าวปลอมว่า เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนผู้ได้รับข่าวสารไม่สามารถตรวจสอบได้ทันว่า เป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม

“ขณะที่เราจะพัฒนาประเทศเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล เราต้องสร้างความปลอดภัย ความเชื่อมั่นให้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในด้านการสื่อสาร ปัญหาข่าวปลอมเกิดขึ้นทั่วโลกและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนผู้ได้รับข่าวสารไม่ทันตรวจสอบว่า เป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม เราจึงต้องมาร่วมกันแก้ปัญหานี้”

ตัวอย่างข่าวปลอมที่สร้างความเข้าใจผิดเป็นวงกว้าง

หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย กล้า ตั้งสุวรรณ จากไวซ์ไซท์ กล่าวว่า ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนโซเชียลมีเดียได้ เพราะเป็นเรื่องของทุกคนและมีผลต่อโลกใบนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างคอนเทนต์ที่มีคนเข้าถึงมาก (engagement)

“ข่าวปลอมเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ข่าวนักเรียนเทพศิรินทร์ที่ถูกนำไปใส่เนื้อหาปลอม ใช้รูปจริง แต่เนื้อหาเป็นอีกเรื่อง โดยข่าวนี้ ไวซ์ไซท์พบว่า มีมากถึง 249,000 engagements”

“ถ้าข่าวปลอมมี engagement เยอะ แสดงว่าข่าวปลอมนั้นมีประสิทธิภาพ ทำให้คนเชื่อ เราจึงต้องร่วมมือกันและใช้นวัตกรรมลดการแพร่ระบาด นั่นคือ ลด engagement ของข่าวปลอม

สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Cofact แพลตฟอร์มคนไทยที่เปิดให้ทุกคนร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือร่วมเป็น Fack Checker

“หัวใจสำคัญที่จะสู้ข่าวปลอมคือ เราต้องมีเสรีภาพสื่อในการนำเสนอข่าว ข้อเท็จจริง ดังที่ยูเนสโก้บอกว่า ให้ธำรงเสรีภาพของสื่อเอาไว้ เพราะสื่อต้องมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและระมัดระวังว่าจะไม่ปล่อยข่าวลวงให้แพร่ออกไป และต้องปราศจากความกลัวกับความลำเอียง เพราะความกลัวทำให้ไม่กล้าเสนอข้อเท็จจริง และถ้าเราเลือกข้าง ก็จะทำให้นำเสนอความจริงเพียงด้านเดียว”

Jenna Hand, Misinformation Policy Manager, Facebook Thailand ตัวแทนจากโซเชียลมีเดีย Facebook ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก กล่าวถึงวิธีจัดการข่าวปลอมว่า

“3 กลยุทธ์ที่ Facebook ใช้ตรวจสอบข่าวปลอม คือ ​Remove ลบคอนเทนต์ที่บ่งบอกถึงความรุนแรง, คลิปปลอม, ข้อมูลปลอม Reduce ลดการมองเห็น ลดการกระจายข่าวผิดๆ บิดเบือน หรือแชร์ข่าวปลอมซ้ำๆ และ Inform การให้ข้อมูลที่ถูกต้องมี Third Party เข้ามาร่วมให้ข้อมูล ตลอดจนการตั้งค่าเตือนก่อนจะแชร์”

“ประเด็นที่เกี่ยวกับโควิด-19 เช่น มีการให้ข้อมูลผิดๆ ทำให้คนกลัววัคซีน กลัวผลข้างเคียง แล้วก็ไม่ไปรับวัคซีน Facebook ใช้ A.I. ช่วยตรวจจับ พบว่ามีคอนเทนต์ที่ทำให้เข้าใจผิดมากถึง 20 ล้านคอนเทนต์ เมื่อนับถึงเดือนมิถุนายน 2021 จึงจัดการลบออก และยังลบแอคเคานต์ Facebook ออกจากระบบมากกว่า 6 ล้านแอคเคานต์”

และสุดท้าย ตัวแทนจากแพลตฟอร์มระดับโลก Jean-Jacques Sahel, Government Affairs Senior Manager on Content Regulation and Access to Information, Google Asia Pacific เผยถึง หลัก 5 ข้อที่ Google ใช้สู้ข่าวปลอม

  • 1. Make quality count
    ดูว่าคอนเทนต์นั้นมีคุณภาพหรือไม่
  • 2. Clamp down on malicious behaviors
    หากมีพฤติกรรมการใช้งานหรือคอนเทนต์ที่ระบบตรวจพบว่าไม่เหมาะสมก็จะลบทิ้ง
  • 3. Empower users
    ให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมหรือมีบทบาทในการตรวจสอบข่าวปลอม
  • 4. Collaborations: research, newsrooms
    ร่วมกันทำสิ่งต่างๆ เช่น เก็บข้อมูล เพื่องานวิจัย สร้างห้องข่าวเก็บ Data ให้เข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
  • 5. Staying ahead of future threats
    ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความล้ำหน้าเพื่อช่วยตรวจจับข่าวปลอม

“ความร่วมมือสำคัญมาก เราต้องทำงานแบบ local สร้างเครือข่าย มีคนท้องถิ่นเข้าร่วม มีแพลตฟอร์มดิจิทัล ช่วยกันทำให้ข่าวปลอมหรือความเข้าใจผิดต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าในการตรวจจับ เช่น Deepfake, Audio Fake ได้ และมีนโยบายกำกับดูแลเพื่อป้องกันหรือบริหารจัดการข่าวปลอม” Jean-Jacques Sahel กล่าวปิดท้าย

สำหรับคนที่อยากรู้ว่า Deepfake คืออะไร สปริงนิวส์มี SPRiNG สรุปให้ มาให้ชมแบบเข้าใจง่าย

หรือสนใจรับชมงานเสวนาแบบเต็ม สามารถดูย้อนหลังได้ที่ลิงก์  Virtual Forum หยุดข่าวปลอม ประเทศไทย หรืออ่านบทความอื่นๆ ที่สรุปจากงานนี้

related