svasdssvasds

เดนมาร์กผุดไอเดีย ผลิตเครื่องร่อนพลังงานกระแสน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง

เดนมาร์กผุดไอเดีย ผลิตเครื่องร่อนพลังงานกระแสน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง

โมเดลเครื่องร่อนสะเทินน้ำสะเทินบก เคลื่อนที่ด้วยพลังงานกระแสน้ำ สามารถผลิตและกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ในตัว นวัตกรรมมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็น 0 ภายในปี 2030

เครื่องร่อน 2 ลำ กำลังแล่นเหนือผิวน้ำอย่างสบายๆกลางทะเลบริเวณหมู่เกาะแฟโร ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก แต่นั่นคือเทคโนโลยีด้านพลังงานรูปแบบใหม่ของเดนมาร์ก ที่ใช้กระแสการไหลของน้ำมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนและผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อกักเก็บไว้ใช้ในครัวเรือนได้

เครื่องจักรมีปีกคู่หนึ่งกำลังจะ “บินได้” หรืออย่างน้อยก็กำลังว่ายน้ำได้ บริเวณใต้น้ำที่มืดมิดของหมู่เกาะแฟโร กลางทะเลตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างประเทศนอร์เวย์กับไอซ์แลนด์ อยู่ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์

เห็นเจ้าเครื่องสีเหลืองในน้ำนั่นไหม นั่นแหละ เครื่องร่อนพลังงานกระแสน้ำ cr.MINESTO

มันถูกขนานนามว่า “มังกรทะเล” หรือ “เครื่องร่อนสะเทินน้ำสะเทินบก” มันดูเหมือนเครื่องบินลำเล็กลำหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วกังหันน้ำสุดไฮเทค ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จากพลังงานของมหาสมุทร

เครื่องร่อน 2 ตัว มีปีกกว้าง 5 เมตร (16ฟุต) เคลื่อนไหวใต้น้ำในรูปแบบการรับพลังงานจากรอบทิศ มันดูดซับพลังงานจากกระแสน้ำไหล มันถูกล่ามสมอไว้ที่ก้นทะเลฟยอร์ด ด้วยสายเคเบิลโลหะยาว 40 เมตร การเคลื่อนที่ของพวกมันเกิดจากการไหลของน้ำ เช่นเดียวกับเครื่องบินที่บินด้วยแรงของอากาศที่ไหลผ่านปีกของมัน

 

รูปแบบอื่นๆของเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะใช้พลังงานจากคลื่นลมที่คล้ายกังหันลมบนบก แต่เครื่องร่อนนี้ต่างออกไป “เส้นทางการบิน” ของเครื่องร่อนทำให้มันสามารถกวาดพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยความเร็วที่มากกว่ากระแสใต้น้ำหลายเท่า ในทางกลับกัน มันทำให้เครื่องจักรสามารถขยายปริมาณพลังงานที่เกิดจากน้ำเพียงอย่างเดียวโดยไม่พึ่งพลังงานอื่นๆได้

คอมพิวเตอร์ออนบอร์ด (On-board computer) จะเป็นตัวบังคับเครื่องร่อนให้จมลงไปในกระแสน้ำที่ไหลอยู่ จากนั้นจะปล่อยมันไปตามทางเมื่อกระแสน้ำเบาขึ้น โดยรักษาระดับความลึกให้คงที่ในแนวน้ำ หากมีเครื่องร่อนหลายตัวทำงานพร้อมกันเครื่องจะเว้นระยะกันพอที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการชนได้

เครื่องร่อนเวอร์ชั่นเล็ก และใหญ่ ถ้าเทียบกับขนาดตัว cr.MINESTO

ไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านสายเคเบิลและปล่อยสัญญาณไปยังผู้อื่นที่อยู่บนพื้นทะเล จากนั้นจึงส่งไปยังสถานีควบคุมบนบกใกล้กับเมืองชายฝั่งเวสมานนา (Vestmanna)

เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทวิศวกรรม Minesto ของสวีเดน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2550 ซึ่งแยกตัวออกจาก Saab ผู้ผลิตเครื่องบินของประเทศสวีเดนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญบนเกาะแฟโร

เครื่องร่อน 2 ตัวในหมู่เกาะแฟโรได้ให้พลังงานแก่บริษัทไฟฟ้า SEV ของแฟโร และโครงข่ายไฟฟ้าระดับประเทศของหมู่เกาะแฟโร โดยได้ทำการทดลองในช่วงปีที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครื่องร่อนแต่ละตัวสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับใช้ในบ้านประมาณ 4 ถึง 5 หลัง แต่มาร์ติน เอ็ดลันด์ (Martin Edlund) ผู้บริหารระดับสูงของ Minesto กล่าวว่า เจ้ามังกรเหล่านี้จะเข้าสู่ฟยอร์ดเพิ่มอีกในช่วงต้นปี 2022

“เครื่องร่อนตัวใหม่จะมีปีกกว้าง 12 เมตร และแต่ละตัวจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 1.2 เมกะวัตต์ เราเชื่อว่าเครื่องร่อนมังกรแห่งทะเลเหล่านี้จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากพอที่จะจ่ายพลังงานกับครึ่งหนึ่งของครัวเรือนในแฟโร ”

หมู่เกาะแฟโรมีคนอาศัยอยู่ 17 แห่ง เป็นเขตปกครองตนเองของเดนมาร์ก ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง Shetland และ Iceland ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ราว 50,000 กว่าคน หมู่เกาะแห่งนี้ยังคงเป็นดินแดนในปกครองของเดนมาร์ก ยังไม่มีสถานะเป็นประเทศอย่างสมบูรณ์ มีอิสระในเชิงนิติบัญญัติและการปกครองตนเอง มีธงชาติเป็นของตนเอง ส่วนเรื่องทางการทหารและการต่างประเทศยังขึ้นตรงต่อรัฐบาลเดนมาร์กอยู่ ผู้เขียนจึงขอใช้เดนมาร์กเป็นที่ตั้งของที่นี่ชั่วคราวในการบรรยายข่าวนี้

อาจจะงงนิดหน่อย หมู่เกาะแฟโร อยู่กึ่งกลางระหว่าง นอร์เวย์ ไอร์แลนด์และเดนมาร์ก แต่ปัจจุบันยังขึ้นตรงกับเดนมาร์อยู่ cr.www.welt-atlas.de

หมู่เกาะแห่งนี้ขึ้นชื่อในเรื่องกระแสลมที่แรง ปริมาณน้ำฝนตกต่อเนื่อง และคลื่นลมทะเลแรง หมู่เกาะแห่งนี้ไม่เคยเป็นสถานที่ที่ง่ายต่อการอยู่อาศัย  การประมงเป็นอุตสาหกรรมหลัก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของการส่งออกทั้งหมด

ความหวังสำหรับเครื่องร่อนใต้น้ำ จะช่วยให้ผู้คนบนหมู่เกาะแฟโรบรรลุเป้าหมายในการสร้างพลังงานการปล่อยมลพิษเป็น 0 ภายในปี 2030

ในขณะที่กระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำคิดเป็น 40% ของความต้องการพลังงานบนเกาะ พลังงานลมมีส่วนช่วยประมาณ 12% และเชื้อเพลิงฟอสซิล ในรูปแบบของดีเซลที่นำเข้ามาทางทะเล ยังคงเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของความต้องการพลังงานทั้งหมด

นาย Edlund กล่าวว่า “เครื่องร่อนจะเป้นตัวช่วยสำรองที่มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่ออากาศสงบ เมืองแฟโรมีฤดูร้อนที่ไม่ธรรมดาในปีนี้ ระยะเวลาประมาณ 2 เดือนโดยเฉลี่ยแทบไม่มีลมพัดเลย ตำแหน่งที่ตั้งของเกาะนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ที่การเชื่อมต่อไฟฟ้าจากประเทศอื่นเมื่อเสบียงเหลือน้อย การเคลื่อนไหวของน้ำขึ้นน้ำลงนั้นแทบจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเราเห็นว่ามันอาจเป็นส่วนเสริมที่สำคัญต่อเป้าหมายสุทธิเป็น 0 ในทศวรรษหน้า”

Minesto ยังทำการทดสอบเครื่องร่อนในไอร์แลนด์เหนือและเวลส์ด้วย โดยมีแผนจะติดตั้งฟาร์มนอกชายฝั่งเมือง Anglesey รวมถึงโครงการต่างๆในไต้หวันและฟลอริดา

การขับเคลื่อนของหมู่เกาะแฟโรไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมได้ขยายไปสู่ธุรกิจชุมชนในวงกว้างมากขึ้น ชาวบ้านได้ก่อตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาชื่อว่า Burðardygt Vinnulív (โครงการริเริ่มเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจแฟโร)

ปัจจุบันมีสมาชิกที่มีชื่อเสียง 12 ราย ซึ่งเป็นผู้เล่นหลักของภาคธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โรงแรม พลังงาน การเลี้ยงปลาแซลมอน การธนาคารและการขนส่ง

Ana Holden-Peters ผู้บริหารระดับสูงของโครงการนี้ เชื่อว่าวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันอย่างแข็งแกร่งในหมู่เกาะต่างๆ ได้กระตุ้นกระบวนการเหล่านี้ขึ้น  “ธุรกิจเหล่านี้มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนซึ่งจะได้รับการประเมินอย่างอิสระ”

หนึ่งในผู้ส่งออกปลาแซลมอนหลักของเกาะ Hiddenfjord ก็กระทำเช่นกัน โดยหยุดการขนส่งปลาสดทางอากาศ เขาคิดว่านี่จะเป็นอุตสาหกรรมแรกของโลก สำหรับอุตสาหกรรมปลาแซลมอนจากมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งขณะนี้มีการขนส่งทางทะเลเพียงอย่างเดียวแทน

Atli Gregersen กรรมการผู้จัดการของบริษัทกล่าวว่า สิ่งนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งได้มากกว่า 90% แต่อย่างไรก็ตาม เขามองว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญมากในเชิงพาริชย์ เนื่องจากตอนนี้ปลาแซลมอนต้องใช้เวลานานกว่ามากในการเดินทางไปถึงตลาดหลัก

ตัวอย่างเช่น การขนส่งทางอากาศสามารถช่วยขนส่งปลาแซลมอนไปยังนิวยอร์กวิตี้ได้ภายใน 2 วัน แต่ตอนนี้ใช้เวลาขนส่งทางทะเลมากกว่า 1 สัปดาห์ สิ่งที่ทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้คือ เทคโนโลยีการแช่แข็งที่ดีกว่าที่จะช่วยให้ปลาสดอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและคงที่ แต่ไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการแช่แข็ง ดังนั้นปลาจะถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -3 องศาเซลเซียส แทนที่จะเป็น -18 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่าการขนส่งอาหารแช่แข็งเชิงพาณิชย์ทั่วไป

“ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะพัฒนาระบบที่สมบูรณ์แบบสำหรับปลาแซลมอนคุณภาพเยี่ยมสำหรับขนส่งทางทะเลที่ดีกว่าเครื่องบิน และนั่นรวมถึงการเก็บเกี่ยวที่ปราศจากเรื่องปวดหัวด้วยเช่นกัน” นายเกรเกอร์ กล่าว

สุดท้ายนี้นวัตกรรมดังกล่าว ยังใช้เพียงตัวทดลองและเก็บสถิติอยู่ ยังไม่ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ถ้าหากว่าการเก็บกักพลังงานเสถียรมากพอ ก็อาจจะส่งต่อนวัตกรรมตัวนี้สู่ประเทศอื่นๆเพื่อเป็นโมเดลทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เพื่อบรรลุเป้าหมาย Zero-Emission ร่วมกัน

ที่มาข้อมูล

https://www.bbc.com/news/business-59401199

https://www.tieweng.com/tieweng-gasadalur-faroe-islands/

related