svasdssvasds

ชิลีอนุมัติกฎหมายสมรสเท่าเทียมในคู่รักเพศเดียวกันได้แล้ว

ชิลีอนุมัติกฎหมายสมรสเท่าเทียมในคู่รักเพศเดียวกันได้แล้ว

กฎหมายสิทธิการแต่งงานของเพศเดียวกันได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาชิลีด้วยเสียง 82 ต่อ 20 แม้จะมีการต่อต้านจากนักอนุรักษ์นิยมและผู้เคร่งนิกายคาทอลิก

ชิลีอนุมัติกฎหมาย อนุญาตให้มีการแต่งงานกับเพศเดียวกันได้ แม้ประเทศจะนับถือคาทอลิกเป็นส่วนใหญ่

กฎหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติอย่างท้วมท้นจากการประชุมในรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทำให้คู่รักเกย์สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ ร่างกฎหมายนี้ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดี Sebastián Piñera ซึ่งเป็นผู้ลงนามในกฎหมายฉบับนี้ แต่ก็ยังถูกวิพาร์กวิจารณ์จากสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมอยู่

ชุมชน LGBT ของชิลีได้ผลักดันกฎหมายนี้มานานแล้ว หลักจากหยุดชะงักการพิจารณาไปตั้งแต่ปี 2017 ประเทศในแถบลาตินอเมริกาอนุมัติให้มีการสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกันในปี 2015 โดยอนุญาตให้จดทะเบียนข้อตกลงสหภาพพลเรือน (Civil Union Agreement [AUC]) ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางกฎหมายบางประการแก่คู่รัก หรือบางประเทศก็ให้สิทธิเหมือนคู่รักต่างเพศทั่วไปได้เลย

หลายประเทศในแถบยุโรปและละตินอเมริกาเริ่มอนมุติกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว แม้บางส่วนจะนับถือคาทอลิก Cr. ellethailand แม้ร่างกฎหมายเพื่อรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันได้อ่อนกำลังลงในสภาคองเกรสเป็นเวลากว่า 4 ปี หลังจากที่อดีตประธานาธิบดีมิเชล บาเลเลต์ยื่นเสนอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

และในที่สุด เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านสภาล่างของรัฐสภา ไม่นานหลังจากร่างกฎหมายผ่านสภาด้วยเสียง 82 ต่อ 20 เสียง มีผู้งดเสียง 2 ราย

ประธานาธิบดี Piñera ได้สาบานที่จะผลักดันกฎหมายให้ผ่านรัฐสภาในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ประจำปีของสหภาพในเดือนมิถุนายนปีนี้

ในความคิดเห็นที่ทำให้พันธมิตรอนุรักษ์นิยมบางคนตกตะลึง ซึ่งเขากล่าวในงานปราศรัยของเขาว่า

“เราต้องมั่นใจว่าชิลีต้องได้รับอิสรภาพและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมแก่ทุกคน”

ผู้นำฝ่ายขวากล่าวเสริมว่า “ผมคิดว่าเราควรเพิ่มคุณค่าของเสรีภาพให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงเสรีภาพในความรักและการสร้างครอบครัวกับคนที่คุณรัก รวมถึงคุณค่าของศักดิ์ศรีของความสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างความรักและความเสน่หาระหว่างคนสองคน”

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้รัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากพันธมิตรของประธานาธิบดีบางคน รวมถึงผู้บัญญัติกฎหมายอีแวนเจลิคัล (คริสเตียนนิกาย Evangelical) เลโอนิดาส โรเมโร (Leonidas Romeeo) จากพรรค Nation Renewal (RN)

โรเมโรอธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้เป็นการทรยศครั้งใหญ่สำหรับโลกคริสเตียน

ชิลีเข้าร่วมกลุ่มประเทศในแถบละตินอเมริกันเพื่อยอมรับการแต่งงานระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน ประเทศอื่นๆได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริกา อุรุกวัย และ 18 รัฐในเม็กซิโก ร่วมด้วยเม็กซิโกซิตี้

เกร็ดความรู้เรื่องการรับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันในต่างประเทศ

ข้อมูลจากวารสารนิติศาสตร์ของนักกฎหมายกฤษฎีกาปฏิบัติการ สำนักงานคระกรรมการกฤษฎีกา รัชนี ลาภวณิชชา พรหมศักดิ์ ได้อธิบายสิทธิเสรีภาพการสมรสของเพศเดียวกันไว้อย่างน่าสนใจ

“การที่หลายประเทศตระหนักถึงความจำเป็นในการตรากฎหมายรับรองสถานะการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศเดียวกัน โดยยอมรับให้เป็นการสมรสนั้น เนื่องจากเห็นว่ารูปแบบการสร้างครอบครัวมีได้หลากหลาย การใช้ชีวิตร่วมกันของคนเพศเดียวกันถือเป็นการก่อตั้งครอบครัวอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับแนวคิดที่ว่าสิทธิเสรีภาพในการสมรสและการก่อตั้งครอบครัวเป็น “สิทธิพื้นฐาน” การสมรสจึงควรเป็น “สถานะ” ที่บุคคลทุกเพศสามารถเข้าถึงและใช้สิทธินั้นได้ โดยไม่จำกัดเพียงชายและหญิงตามเพศกำเนิด”

บทความวิชาการของรองศาสตราจารย์ ณัชพงษ์ สำราญ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้อธิบายกฎหมายครอบครัวในยุโรปไว้ว่า หลายประเทศในยุโรปมีการออกกฎหมายรับรองสิทธิของคู่รักเพศเดียวกันไปในหลายประเทศ การอนุญาตให้มีการจดทะเบียนคู่ชีวิต (Registered Partnerships) เป็นรูปแบบที่นำมาใช้ครั้งแรกในประเทศราชอาณาจักรเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2532 ต่อมาประเทศอื่นๆอีกจำนวนมากก็มีการอกกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนในลักษณะดังกล่าวได้เช่นกัน เช่น อังกฤษ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์เป็นต้น ส่วนราชอาณาจักรเนเธอแลนด์เป็นประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ โดยบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544

แม้ว่าในปัจจุบันนี้ หลายประเทศเริ่มทยอยยอมรับการสมรสของคนเพศเดียวกันหรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น เห็นได้ชัดจากการแก้ไขกฎหมายภายในเพื่อรองรับการอยู่ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ ในขณะที่บางประเทศยังคงไม่ยอมรับคนข้ามเพศและกำหนดให้เป็นฐานความผิดมีโทษอาญา เช่น แอลจีเรีย เซเนกัล แคเมอรูน คูเวต ลิเบีย มาเลเซีย โมร็อกโก ซีเรีย กาตาร์ เป็นต้น หรือในบางประเทศกำหนดโทษประหารชีวิต ได้แก่ อัฟกานิสถาน ซาอุดิอาราเบีย เอมิเรตส์ อิรัก อิหร่าน มอริเตเนีย เยเมน ซูดาน ไนจีเรีย โซมาเลีย ปากีสถาน กาตาร์ และซีเรีย

ปัจจุบันมีประเทศประมาณ 30 ประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

1.เนเธอแลนด์

2.สวีเดน

3.ฝรั่งเศส

4.ไอร์แลนด์

5.เยอรมนี

6. เบลเยียม

7. โปรตุเกส

8. อุรุกวัย

9. กรีนแลนด์

10. ออสเตรเลีย

11. สเปน

12. ไอซ์แลนด์

13. นิวซีแลนด์

14. โคลอมเบีย

15. เมอร์บิวดา

16. แคนาดา

17. อาร์เจนตินา

18. สหราชอาณาจักร

19. ฟินแลนด์

20. แอฟริกาใต้

21. เดนมาร์ก

22. ลักเซมเบิร์ก

23. หมู่เกาะแฟไร

24. นอร์เวย์

25. บราซิล

26. สหรัฐอเมริกา

27. มอลตา

28. ออสเตรีย

29. ไต้หวัน

30. คอสตาริกา เป็นประเทศล่าสุดที่ไฟเขียวให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 26 พ.ค.2020

ไต้หวันนำร่องประเทศแรกของกฎหมายสมรสเท่าเทียมในเอเชีย Cr.The Telegraph ส่วนประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยฉบับเต็ม 20/2564 ต่อกรณีการยื่นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยศาลเห็นว่าลักษณะตามธรรมชาติของร่างกายชายกับหญิงอันสอดคล้องกับการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรนั้นมีความสัมพันธ์กับการสมรสจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ เป็นเหตุให้การสมรสเป็นเรื่องระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น ตลอดจนการสมรสซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งครอบครัวและให้กำเนิดบุตรนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่งของสังคม

ซึ่งแน่นอนว่าความเห็นของศาลดังกล่าวนำไปสู่ความไม่พอใจในภาคประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและต้องการให้เกิดการสมรสเสรีในประเทศไทย เนื่องด้วยประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพเป็นของประชาชน การที่ศาลให้ความเห็นดังกล่าว หลายฝ่ายจึงมองว่ามันเป็นข้อกังขาอย่างมาก ในขณะที่ประเทศไทยเองก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ความชัดเจนในเรื่องความแต่งต่างทางเพศ รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิของ LGBTQ ในประเทศไทยที่มองว่าศาลไม่มีความยืดหยุ่นหรือเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว

ที่มาข้อมูล 

BBC

http://utcc2.utcc.ac.th/lawjournal/111/36_49.pdf

file:///C:/Users/jittanit_bha/Downloads/176703-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-599063-1-10-20190625.pdf

https://www.ellethailand.com/30-legalized-same-sex-marriage-countries/

https://thestandard.co/constitutional-court-ruling-in-the-case-equal-marriage/

related