svasdssvasds

สิทธิที่ศิลปินสายดนตรีควรรู้ถ้าไม่อยากถูกคนอื่นละเมิดหาผลประโยชน์ฟรีๆ

สิทธิที่ศิลปินสายดนตรีควรรู้ถ้าไม่อยากถูกคนอื่นละเมิดหาผลประโยชน์ฟรีๆ

ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถเป็นศิลปินหรือแต่งเพลงปล่อยเผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านช่องทางบนโลกออนไลน์ได้สะดวกและง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์เพื่อความบันเทิงในยามว่าง หรือ เป็นช่องทางทำรายได้หลักหรือเสริมให้ตัวเอง

เป็น ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์เพลง นี้เองจะช่วยให้เราสามารถรักษาผลประโยขน์ ชื่อเสียง ไม่ให้ใครมาละเมิดหรือฉวยโอกาสจากความคิดสร้างสรรค์ของคุณ

 

คำศัพท์เบื้องต้นที่ควรรู้ มีดังนี้

  • ดนตรีกรรม คือ ส่วนของเนื้อร้องและทำนอง
  • สิ่งบันทึกเสียง คือ เพลงที่ผ่านการเรียบเรียง บันทึกเสียงเสร็จแล้วออกมาเป็นต้นฉบับ
  • ผู้เผยแพร่ คือ ผู้ที่ได้รับสิทธิให้เผยแพร่เพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์

    ซึ่งทั้งสามส่วนนี้จะเป็นคนเดียวกัน หรือ หลายคนก็ย่อมขึ้นอยู่กับข้อตกลงในกระบวนการจัดทำเพลงนั้นๆ

 

ลิขสิทธิ์งานเพลง เป็นสิทธิของเจ้าของสิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่คุ้มครอง สิทธิในทางเศรษฐกิจ (Economic Rights) และ สิทธิในทางศีลธรรม (Moral rights) เพื่อรักษาชื่อเสียงไม่ให้ผู้ใดเอาผลงานไปใช้ให้ก่อเกิดความเสียหาย

ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิในการดำเนินการ ดังนี้

  • ทำซ้ำ ดัดแปลง
  • เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  • ให้เช่าต้นฉบับหรือทำสำเนา
  • ให้ประโยชน์ที่เกิดลิขสิทธิ์นั้นแก่ผู้อื่น
  • อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ (โดยระบุขอบเขตเงื่อนไขการใช้สิทธินั้นๆประกอบ)

เมื่อเพลงนั้นได้ถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชนแล้วสิทธิและผลประโยชน์ย่อมเป็นคนเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น เช่น ปล่อยเพลงลงช่องยูทูปส่วนตัว หรือ โพสเพลงลงในโซเซียลมีเดีย ที่มีคนติดตามคนเดียวก็ตาม รายได้จากผลงานนั้นจึงย่อมเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนั้นๆ


การที่มีใครนำเพลงไปใช้เกิดก่อในเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ ย่อมถือเป็นการละเมิด เช่น มีคนนำเพลงไปร้อง cover แล้วเผยแพร่ให้ในที่สาธารณะและมีรายได้ หรือ เปิดเพลงคลอในร้านคาเฟ่ที่มีคนมาซื้อเครื่องดื่มนั่งกินในร้าน โดยที่ไม่ได้แจ้งขออนุญาตก่อน ย่อมมีความผิด

 

Your music your future แคมเปญที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงเล็งเห็นขึ้นประโยชน์ในระยะยาวที่จะได้รับจากการสร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ การยกสิทธิให้แก่ค่ายเพลงหรือผู้ว่าจ้างโดยสมบูรณ์ให้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวอาจทำให้ได้เงินเป็นก้อนได้ แต่ก็ไม่รู้เลยว่าในอนาคตเพลงที่เราแต่งขึ้นนั้นจะไปได้ไกลและทำรายได้อีกแค่ไหนในอนาคตซึ่งอาจจะเป็นผลประโยชน์ที่ตกทอดสู่ลูกหลานต่อไปได้

 

เพราะตามกฎหมายไทยได้ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ใดๆ ตลอดชีวิตของผู้เป็นเจ้าของและสืบเนื่องต่อไปอีก 50 ปีหลังจากที่บุคคลนั้นเสียชีวิต การที่จะปล่อยสิทธิทางไอเดียของเราไปให้ใครก็ตาม จึงเป็นเรื่องที่ควรคิดให้ถี่ถ้วนและมองไปไกลถึงอนาคต อย่าให้ต้องเกิดเหตุการณ์ที่ขออนุญาตร้องเพลงหรือ จ่ายค่าลิขสิทธิ์ ที่คุณสร้างสรรค์ขึ้นมาเองเหมือนที่ศิลปินดังหลายคนต้องประสบมา เช่น Big Ass,  หนุ่ม กะลา หรือ ฟอร์ด สบชัย ไกรยูรเสน ที่ ละเมิดลิขสิทธิ์ ในการร้องเพลงของตัวเองให้น่าเจ็บใจ

ที่มาข้อมูล กรมทรัพย์สินทางปัญญา MCT ข่าวละเมิดลิขสิทธิ์เพลง