svasdssvasds

อยากถ่ายรูปที่สาธารณะแต่ไม่อยากทำผิดกฎหมายละเมิดสิทธิ์เรามีข้อมูลมาบอก

อยากถ่ายรูปที่สาธารณะแต่ไม่อยากทำผิดกฎหมายละเมิดสิทธิ์เรามีข้อมูลมาบอก

เคยมั้ยออกไปเดินในสวนสาธารณะ เห็นคนวิ่งออกกำลังกาย ยกกล้องขึ้นถ่าย แชะ! นี่เราจะผิดกฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคลรึเปล่านะ ในปัจจุบันที่ใครๆ ก็มีมือถือที่มีกล้องคุณภาพสูงไม่แพ้กล้องแบบโปร ทำให้การถ่ายภาพเป็นเรื่องง่ายและใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้

และในโลกที่มีโซเซียลมีเดียให้เลือกเล่น เลือกแสดงตัวตนผ่านรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่สามารถเปิดรับได้ง่ายอย่าง รูปภาพและวิดีโอ การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว จึงอาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว

 

สิทธิส่วนบุคคล” (Right to Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะ ได้อยู่โดยลำพังโดยปราศจากการรบกวน (The Right to Be Left Alone) ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของไทยนั้น ก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 35 ดังนี้ “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอด จนความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่า ด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิ ของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วน ตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

 

ล่าสุดได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ระบุไว้ว่า “ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนเก็บ ใช้ และเผยแพร่ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ และข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงระบุตัวเจ้าของข้อมูลซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา (มนุษย์) ได้ และรวมถึง “ภาพถ่ายบุคคลที่เห็นหน้าชัดเจนด้วย”

 

โดยทางศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ.พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไว้ดัง

มาตรา 4(1) ไม่บังคับเพื่อใช้ในประโยชน์ส่วนตน หรือกิจกรรมในครอบครัว ถือเป็นใช้เพื่อครอบครัว และไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.นี้ แต่ถ้ารูปภาพดังกล่าวสร้างความเดือดร้อน สร้างความเข้าใจผิด หรือพาดพิงผู้อยู่ในภาพ หรือผู้อื่น ก็ยังมีกฎหมายอื่นคาบเกี่ยวกันอยู่ อาจถูกฟ้องร้องได้ กล่าวได้ว่ายังถ่ายภาพได้ และต้องอย่าทำให้ผู้อยู่ในภาพเดือดร้อน”

 

โดยแก่นของเนื้อหาหลักคือ ให้นำไปใช้เท่าที่จำเป็น ปลอดภัย และโปร่งใส  “กฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเรา การถ่ายภาพบุคคลโดยไม่ได้รับการยินยอมเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนตัว ถ้าทำให้เกิดความเสียหายและสร้างความเดือดร้อน ถึงจะเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ ฉบับนี้

 

แล้วการถ่ายภาพบุคคลหรือเด็กในที่สาธารณะผิดมั้ย ?

ปัจจัยในการพิจารณาความผิดอยู่ที่

1.สถานที่ที่ถ่ายรูป

  • ถ้าในการณีที่อยู่ในสถานที่ส่วนบุคคล เช่น ในบ้านส่วนตัว ผู้ถ่ายต้องขออนุญาตเจ้าของสถานที่เพื่อเข้าไปข้างในและต้องได้รับความยินยอมในการถ่ายรูปจากเจ้าของก่อน
  • ในกรณีพื้นที่สาธารณะ สามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะ หรือ ชายทะเล ยกเว้นในกรณีที่นำรูปไปใช้ เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า และภาพออกมาอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมแล้วนำไปเผยแพร่ ทำให้ถูกดูหมิ่น ผู้ถูกถ่ายรูปสามารถฟ้องร้องได้

2.จุดประสงค์ของการถ่ายรูป

  • การถ่ายเพื่อการใช้งานส่วนตัวสามารถทำได้ไม่มีระบุข้อห้ามไว้ในตัวบทกฎหมาย
  • การถ่ายเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าเสมอ


การถ่ายภาพในที่สาธารณะ

ทั้งนี้ในกรณีที่ถ่ายรูปบุคคลในพื้นที่สาธารณะ แล้วนำไปลงขายใน เว็บ stock photo ทางเว็บไซด์ต่างๆ ก็ได้ให้ความคุ้มครอง เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่ให้ความยินยอมในการนำรูปไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่เต็มใจ โดยใช้หลักเกณฑ์ ต้องไม่ปรากฏภาพของใบหน้าตัวแบบชนิดเห็นชัดเจน และสามารถระบุได้ว่าผู้ที่อยู่ในภาพถ่ายนั้นเป็นใคร ถึงจะสามารถลงขายรูปนั้นได้โดยไม่ต้องมีการเซ็นในใบยินยอม จึงนิยมจ้างเป็น  Model Release แทนเพื่อให้สามารถเปิดเผยใบหน้าและระบุตัวตนได้อย่างถูกกฎหมายและของเว็บไซด์

 

ในกรณีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ


ข้อตกลงตาม อนุสัญญาสหประชาชาติ เรื่องด้วยสิทธิเด็ก ที่ทั่วโลกให้คำมั่นสัญญาที่จะทำร่วมกัน โดยให้ความคุ้มครองสิทธิเด็ก มีนิยามไว้ว่า ดังนี้

"เด็ก" คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า18 ปี เมื่อผู้ใหญ่กระทำการตัดสินใจใด ๆ ควรคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์สูงสุดของเด็ก ขณะที่ภาครัฐก็ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิของเด็ก และให้เด็กได้รับการดูแลโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง ภาครัฐต้องประกันว่าผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเด็ก ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความ เป็นส่วนตัว กฎหมายต้อง ให้ความคุ้มครองเด็กจาก การถูกละเมิดชื่อเสียง ความ เป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่นเด็กมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์ทุกรูปแบบ แม้จะไม่มีกล่าวไว้อย่างเจาะจงในอนุสัญญาฯ นี้

 

โดยทิ้งท้ายไว้ว่า “ถ้ากฎหมายภายในประเทศ คุ้มครองสิทธิเด็กได้ดีกว่า อนุสัญญาฯ นี้ ก็ให้ยึด กฎหมายนั้นในการคุ้มครอง สิทธิเด็กเป็นหลัก”                 

 

ดังนั้นการถ่ายรูปบุคคลโดยไม่ได้รับการยินยอมและนำมาเผยแพร่ในที่สาธารณะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการค้า โปรโมทกิจการของตัวเอง เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และแม้ไม่ได้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ภาพที่ถ่ายทำให้ผู้ถูกถ่ายเกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียง และทำให้เดือดร้อนก็อาจเกิดการฟ้องร้องกันภายหลังได้ เมื่อเราเข้าไปอยู่ในพื้นที่สาธารณะแล้วการคาดหวังไม่ให้ใครจ้องมองหรือต้องคอยระวังไม่ให้ถูกใครบันทึกภาพเราไปอาจจะเป็นเรื่องยากและสร้างภาระให้ตัวเอง แต่ก็ควรมีความรู้เบื้องต้นเพื่อไม่ให้ถูกใครละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว

ทั้งนี้การที่ผู้ปกครองที่ถ่ายรูปลูกหรือบุตรหลานและโพสลงบนสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะในกรณีผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ควรคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์สูงสุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต ภาพหรือคลิปวันนี้อาจทำให้พวกเขาเกิดความไม่สบายใจ อับอาย หรือถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ปรารถนา การทำความเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนนี้ก่อนก็จะช่วยให้สามารถพิจารณารูปที่จะเลือกลงหรือทำการพูดคุยตกลงกันกับเด็กของคุณก่อน ขึ้นอยู่กับมุมมองและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล    

ที่มาข้อมูล 
https://ictlawcenter.etda.or.th/files/law/file/106/2487f8ffe9cf9eaf9b4decbc002eba21.PDF
https://ictlawcenter.etda.or.th/files/law/file/106/2487f8ffe9cf9eaf9b4decbc002eba21.PDF
https://www.facebook.com/watch/live/?v=679550229539782
http://www.stockphotothailand.com/index.php/80-shutterstock-contibutor/77-model-release
https://www.thaichildrights.org/wp-content/uploads/dlm_uploads/2018/03/e-mag_v003.pdf

 

 

related