svasdssvasds

อัพเดตประเทศที่ออกกฏหมายรับรองการแต่งงานของคนในกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

อัพเดตประเทศที่ออกกฏหมายรับรองการแต่งงานของคนในกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

จำนวนประเทศที่เปิดรับความหลากหลายทางเพศโดยผ่านการรับรองทางกฏหมายมีมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้ประเด็นเรื่อง ร่าง พรบ สมรสเท่าเทียมในไทยเองก็มีการถกเถียงและเรียกร้องถึงความเท่าเทียมแก่คนทุกเพศ เพื่อสร้างความเสมอภาพให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้

 ส.ส.ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ผู้เสนอแก้ไขกฎหมาย

ในขณะที่ไทย มีการนำเสนอ ร่างกฏหมายสมรสเท่าเทียม ในสภา โดยพรรคก้าวไกล นี้เป้าหมายเพื่อการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และมาตราอื่นๆที่ตามมา โดยร่างพ.ร.บ.แก้ไขที่พรรคเสนอนั้น คือการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และมาตราอื่นๆที่ตามมา เพื่อเปลี่ยนนิยามของ “การสมรส” จากสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่าง “ชายและหญิง” เป็น “บุคคล 2 คน” เพื่อให้ทุกคู่สมรส ไม่ว่าเพศใด ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันทั้งหมดทันที ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้มี ความหลากหลายทางเพศ สามารถมีสิทธิและรับสิทธิในฐาน คู่สมรส ได้เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ก็มีเสียงสนับสนุนและคัดค้านกันอย่างดุเดือดทั้งในสภาและสื่อออนไลน์ อาจจะด้วยเหตุผลความเชื่อทางศาสนาหรือบ้างก็บอกว่าไทยก็เปิดกว้างยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากกว่าในหลายๆ ประเทศ

Timeline เรียงตามประเทศที่กฏหมายการแต่งงานทางเพศได้รับการรับรอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่องดูภาพรวมของการเคลื่อนไหวนี้ทั่วโลกพบว่าจำนวน 34 ประเทศโดยเฉพาะซีกโลกตะวันตกทางฝั่งยุโรปและอเมริกาทยอยออกกฎหมายนี้ใช้กันอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศล่าสุดที่ออกกฏหมายใช้ในเดือนกรกฎาคมปี 2022 นี้เป็นต้นไป ส่วนในเอเชียมีเพียงประเทศไต้หวันประเทศเดียวที่ยอมรับกฏหมายการสมรสเท่าเทียมและประกาศใช้เมื่อปี 2019 

 

ร่าง พรบ แก้ไข การสมรสเท่าเทียมเพื่อสิทธิในการรับบุตรบุญธรรมด้วยเช่นกัน
ซึ่งไล่เรียงกันตาม Timeline เป็นดังนี้ 

2001 

  • เนเธอร์แลนด์

2003 

  • เบลเยี่ยม

2005 

  • แคนาดา
  • สเปน

2006 

  • แอฟริกาใต้

2009 

  • นอร์เวย์
  • สวีเดน

2010 

  • อาร์เจนตินา
  • ไอซ์แลนด์
  • โปรตุเกส 

2012 

  • เดนมาร์ก

2013 

  • บราซิล
  • อังกฤษ/เวลส์
  • ฝรั่งเศส
  • นิวซีแลนด์
  • อุรุกวัย

2014 

  • ลักซ์เซมเบิร์ก
  • สกอตแลนด์

2015 

  • ฟินแลนด์
  • ไอร์แลนด์
  • สหรัฐอเมริกา

2016 

  • โคลอมเบีย
  • กรีนแลนด์

2017 

  • ออสเตรเลีย
  • มอลต้า
  • เยอรมัน

2019 

  • ออสเตรีย
  • เอกวาดอร์
  • ไต้หวัน
  • ไอร์แลนด์เหนือ

2020 

  • คอตตราริก้า

2021 

  • ชิลี

2022 

  • สวิสเซอร์แลนด์

ประเทศแรกที่ออกกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมให้กับคู่รักเพศเดียวกันว่ามีสิทธิ์แต่งงานอย่างเป็นทางการคือเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องจุดยืนเกี่ยวกับเรื่องเพศและประเด็น LGBTQI + ที่ก้าวหน้า หลังจากยอมรับสหภาพพลเรือนรักร่วมเพศในปี 1998 ประเทศได้ผ่านร่าง กฎหมายการแต่งงานของเพศเดียวกัน ในเดือนเมษายน 1 ต.ค. 2001 ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเบลเยียมตามมาติดๆ ในอีก 2 ปีต่อมา จาก 10 ประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่อนุญาตให้ คู่รักเพศเดียวกันแต่งงาน กันได้ สมาชิกใหม่ล่าสุดในกลุ่มนี้คือไอร์แลนด์เหนือซึ่งเป็นส่วนนึงของสหราชอาณาจักร โดยผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปี 2019 

แต่หันมามองในอีกซีกโลกจะเห็นสถานการณ์ที่ดูเลวร้ายยิ่งขึ้นในยุโรปตะวันออก เอเชีย และแอฟริกา ที่ยังคงรักษากรอบคิดเรื่องการแต่งงานไว้เพียงเฉพาะกับเพศชายและหญิงเท่านั้น นอกเหนือจากกระดาษเอกสารสมรสแล้วมันคือการให้สิทธิเสมอภาคเท่าเทียมแก่ทุกเพศ สิทธิที่พึงมีแต่ดั้งเดิมไม่ได้เรียกร้องมากไปกว่าคนเป็นชายหรือหญิงได้รับ ความเสมอภาคทางเพศที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เสนอโดยพรรคก้าวไกลตั้งแต่ปี 2563 จึงเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าเปิดรับ ความหลากหลายทางเพศ ได้อย่างแท้จริง นอกเหนือจากความภาคภูมิใจที่ไทยผลิตภาพยนตร์หรือซีรีย์วายส่งออกไปทั่วโลก ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศกว่า 1,000 ล้านบาท (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) แต่กฎหมายยังไม่เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปลี่ยนไปแล้ว 

ที่มา

https://www.statista.com/chart/26436/countries-legally-guaranteeing-same-sex-couples-the-right-to-marry/ 
https://www.facebook.com/paritw

related