svasdssvasds

5 พิพิธภัณฑ์สงคราม บทเรียนความสูญเสียที่ผู้มีอำนาจยังไม่เคยเรียนรู้

5 พิพิธภัณฑ์สงคราม บทเรียนความสูญเสียที่ผู้มีอำนาจยังไม่เคยเรียนรู้

5 พิพิธภัณฑ์สงครามและความทรงจำของผู้รอดชีวิตที่ย้ำเตือนให้คนรุ่นหลัง เห็นถึงพิษภัยของสงคราม ที่สร้างบาดแผล ความสูญเสีย คราบน้ำตาให้กับเหยื่อและครอบครัว บทเรียนราคาแพงที่มีผู้เสียสละชีวิตนับล้านที่ต้องจากไปในสงครามที่ผู้มีอำนาจไม่กี่คนเป็นคนก่อขึ้น

พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่รวบรวมและบอกเล่าเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ เพื่อเป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์และแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชนรุ่นหลังได้มาศึกษา ทำความเข้าใจที่มาที่ไปของเหตุการณ์ในอดีตที่มีผลสืบเนื่องมาจนปัจจุบันและอนาคต 

เศษซากความทรงจำและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ถือเป็นสิ่งเตือนใจล้ำค่าให้เราเดินตามในสิ่งที่เหมาะสมถูกต้องและหลีกเลี่ยงเส้นทางหายนะที่เป็นบ่อเหตุแห่งความสูญเสียเช่น สงคราม 

จึงขอรวบรวม 5 พิพิธภัณฑ์สงคราม ในไทยและรอบโลกบางส่วนที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้และเพื่อตอกย้ำความผิดพลาดที่มนุษย์ก่อขึ้น

พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ทางรถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี (Hellfire Pass Memorial Museum)
สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเชลยศึกของญี่ปุ่นที่โดนเกณฑ์มาเป็นแรงงานเพื่อสร้าง ทางรถไฟสายมรณะ ทรหด โหดร้ายนี้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมี นายเจ จี ทอม มอร์ริส ชาวออสเตรเลีย อดีตเชลยศึกนับหมื่นคนที่เคยทำงานสร้างทางรถไฟแห่งนี้ เป็นผู้ริเริ่ม และได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย ความน่าเศร้าใจในช่วงเวลานั้นคือการที่เชลยศึกทุกคนต้องทำงานวันละ  16-18 ชั่วโมง ทั้งวันทั้งคืน ระยะทางกว่า 420 กิโลเมตร เพื่อสกัดหินด้วยมือเจาะช่องทางผ่านนี้ขึ้นมา แสงไฟจากคบเพลิงในช่วงเวลากลางคืนที่โดนใช้งานอย่างหนัก จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น ช่องไฟนรก หรือ Hellfire Pass ถือเป็น พิพิธภัณฑ์สงคราม ในไทยที่คนทั่วโลกรู้จักและอยากมาเยือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

พิพิธภัณฑ์ระเบิดปรมาณูนางาซากิ (Nagasaki Atomic Bomb Museum) 
สร้างขึ้นเพื่อรำลึกเหยื่อผู้เสียชีวิตและเคารพต่อผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิ ภายใน รวบรวมชิ้นส่วนความเสียหาย และภาพถ่ายอาคารบ้านเรือน ให้ไทม์ไลน์เหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดการระเบิดปรณู จนถึงผลกระทบและเรื่องราวจากปากของผู้รอดชีวิตที่ต้องทุกข์ทรมานกับบาดแผลทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเตือนใจให้แก่ชนรุ่นหลังปิดท้ายเรื่องราวน่าเศร้าและหดหู่ด้วยความหวัง เดินมาออกมาชมสวน อะตอมมิก บอมบ์ ที่มีเสาหินสีดำยาวปักลงบนจุดที่ระเบิดปะทุขึ้นเพื่อให้ผู้มาเยือนร่วมทบทวนและสร้างสันติภาพในเกิดขึ้นบนโลก

พิพิธภัณฑ์รัฐเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz-Birkenau State Museum)
สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์วิจัยและรำลึกถึงชาวยิว 1.1 ล้านคนที่เสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ณ สถานที่แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์สร้างขึ้นบน ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ในประเทศโปแลนด์ ช่วงเวลาที่นาซีเยอรมัน ยึดครองโปแลนด์ในระหว่างปี 1939-1945 โดยสภาพเดิมของโครงสร้างและสถานที่ประวัติศาสตร์ไว้อย่างครบถ้วน เช่น กำแพงมรณะเอาชวิทซ์หรือห้องที่ใช้รมแก๊สสังหารหมู่ชาวยิวและชาวยุโรปในสถานกักกันนี้ในปี 1979 ได้รับการประกาศยกให้เป็น มรดกของโลก โดยมีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์นี้รวมแล้วกว่า 25 ล้านคน (1995-1990)
ภาพค่ายกักกัน เอาชวิทซ์ จาก pixabay

พิพิธภัณฑ์สงคราม จักรวรรดิ (Imperial War Museum)
สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ความขัดแย้งและสูญเสียในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 รวบรวมวัตถุทางประว้ติศาสตร์ทางการทหารและการรบ จดหมาย รูปภาพ และงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับสงครารวมแล้วมากกว่า 155,000 ชิ้น เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่ในปี 1920 ปัจจุบันมีโซน Interactive ให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมผ่านเกม วิดีโอ 

พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์สถานแห่งชาติสงครามโลกครั้งที่ 1 (National World War I Museum and Memorial)
รัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกากำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานสงครามและพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการของประเทศซึ่งอุทิศให้กับสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี (1914-1918)เปิดให้บริการในปี 1926 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเสรีภาพ และให้ความรู้และข้อมููลถึงสาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงการประชุมสันติภาพที่ปารีสในปี 1919 หลังสงครามสิ้นสุด พื้นที่แสดงงานรวมแล้วกว่า 3,000 ตร.ม. โดยมีสะพานกระจกทอดยาวเหนือทุ่งดอกป๊อปปี้สีแดง 9,000 ดอก ที่แสดงถึงทหารที่สละชีวิตในช่วงเวลานั้น

ประชาชนส่วนใหญ่ของโลกคงไม่มีใครเรียกร้องหาสงครามและอยากให้มีเกิดขึ้นอีก ทุกหลังสงครามและความขัดแย้งก็หวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ต้องมีผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตาย พลัดพรากจากครอบครัวและคนรัก รวมถึงคงไม่อยากให้ พิพิธภัณฑ์สงคราม แบบนี้เพิ่มขึ้นเพราะนั่นเท่ากับว่าเรายังไม่ได้เรียนรู้จากบทเรียนใดในอดีตที่ผ่านมาจนประวัติศาสตร์หวนกลับมาซ้ำรอยเดิมขึ้นอีกครั้ง 

ที่มา
1 2 3 4 5 6

related