สตาร์ทอัพสิงคโปร์ผุดไอเดียบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทำจากถั่ว รับมือวิกฤตอาหาร
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทำจากถั่วหรั่ง ถั่วท้องถิ่นแอฟริกา แทนการใช้ข้าวสาลี ไอเดียสตาร์ทอัพใหม่จากสิงคโปร์ หวังเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร สร้างรายได้ให้เกษตรกรและช่วยโลกได้
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังแปรปรวนทั่วโลก และไม่มีใครสามารถล่วงรู้อนาคตได้ว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ที่แน่ๆ ที่สามารถคาดการณ์ได้คือ พืชผลจะเสียหายหากสภาพอากาศที่ไม่เหมือนเดิม พืชผลอาจจะไม่สมบูรณ์เหมือนแต่ก่อน การปลูกพืชหรือทำการเกษตรจะยากขึ้นแม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรกำลังขยายการใช้ทรัพยากรไปอย่างไม่สิ้นสุด
ในเมื่ออนาคตที่ยังไม่เห็น ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรนั้น การเตรียมความพร้อมคือสิ่งที่พึงทำมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารที่เป็นปัจจัยการอยู่รอดสำคัญของมนุษย์ มีพืชกินได้ 300,000 สายพันธุ์ แต่ในปี 2018 พืชผลเพียง 4 ชนิดคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการผลิตทั่วโลก และ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวสาลี ซึ่งคิดเป็น 86% ของการส่งออกทั้งหมด
Christoph Langwallner ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Whatlf Foods ต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น สตาร์ทอัพของเขาคือภารกิจที่จะกระจายระบบอาหารด้วยพืชผลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งคริสตอฟ กล่าวว่า สตาร์ทอัพจะสามารถฟื้นฟูที่ดินที่เสื่อมโทรม ลดการใช้น้ำที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงอาหารของเราและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร สิ่งที่มาแทนที่พืชผลเหล่านั้นคือ ถั่วหรั่ง (Bambara)
ถั่วหรั่ง เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่ทนทาน ทนแล้งได้ เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับถั่วลิสง ถั่วลันเตาและถั่วประเภทอื่นๆ ถั่วหรั่งมีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกาตะวันตก แต่ปัจจุบันปลูกอยู่ทั่วทั้งทวีปและในเอเชีย
พืชตระกูลถั่วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ด้วยไนโตรเจน ซึ่งช่วยในการให้ปุ๋ยแก่พืชอื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็น "อาหารที่สมบูรณ์" ที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไฟเบอร์สูง โดยให้กรดอะมิโน แร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็น ส่วนผสมดั้งเดิมในอาหารแอฟริกันพื้นเมือง พืชผลนี้มีการค้าขายและบริโภคในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ จนถึงปัจจุบันก็ยังมีขายและเป็นที่นิยม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-
Swap & Go จับมือ 7-Eleven และ Swag EV ใช้มอไซค์ไฟฟ้าสลับแบตเตอรี่ ส่งเดลิเวอรี่
-
UNIQLO มุ่งสู่ความยั่งยืน เป็นมิตรกับโลก โดยผลิตยีนส์ใช้น้ำเพียง 1 ถ้วยชา
-
อียิปต์อาจเป็นเมืองแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จเมืองคาร์บอนเป็นศูนย์
-
ข่าวดี! นักวิทย์ประดิษฐ์เอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก สลายเร็วสุดแค่ 24 ชั่วโมง
-
Zoomlion พัฒนา รถขุด รถกระเช้าไฟฟ้า (AWP) ด้วยนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
WhatIf Foods ซึ่งตั้งอยู่ในสิงคโปร์ แปรรูปถั่วหรั่งให้เป็นแป้ง "BamNut" อันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งใช้ในการทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซุป และเครื่องดื่มอย่างสมูทตี้ด้วย คริสตอฟหวังที่จะสร้างตลาดใหม่สำหรับพืชผล และ "ทำให้ถั่วหรั่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ"
คริสตอฟ เคยร่วมงานกับบริษัทเทคโนโลยีอาหารมาก่อน เขาเห็นโอกาสที่จะแนะนำถั่วหรั่งที่ไม่คุ้นเคยผ่านผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคย นั่นคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในปี 2020 มีการบริโภคอาหารจานด่วนหรือฟาต์สฟูดมากกว่า 116 ล้านล้าน
Whatlf เปิดตัวบะหมี่ในสิงคโปร์ในปี 2020 โดยแทนที่กระบวนการทอดที่ใช้ในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบธรรมดาด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะคล้ายๆกับการทอดด้วยลมร้อนแทน ด้วยเทคนิคที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะนี้จะช่วยลดปริมาณไขมันในบะหมี่ของ Whatlf และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่เชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่าและมลพิษในดินและน้ำ คริสตอฟกล่าวว่า บะหมี่นี้ยังมีเส้นใยและโปรตีนมากกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ทำจากข้าวสาลีทั่วไปด้วย
บะหมี่ของ WhatIf มีราคาสูงถึง $2.50 ต่อส่วน (86 บาท) มีราคาแพงกว่าผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผู้แข็งแกร่งในอุตสาหกรรม เช่น Nissin และ Indomie แต่คริสตอฟ กำลังเดิมพันด้วยความเต็มใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะตลาด Millennial และ Gen-Z ที่จะยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
ทรัพยากรที่จำกัด
แม้จะให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและดีต่อดิน ถั่วหรั่งก็มีการปลูกในปริมาณที่น้อยมาก รายงานการผลิตประจำปีในแอฟริกามีเพียง 0.3 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับข้าวสาลีที่ผลิตได้ 776.6 ล้านเมตริกตันทั่วโลกในปีที่แล้ว
นั่นเป็นเพราะว่าถั่วหรั่งไม่ได้ปลูกเป็นพืชหลัก วิกตอเรีย จิเดอานี (Victoria Jideani) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเคปเพนนินซูล่า (Cape Peninsula University) ในแอฟริกาใต้กล่าว เกษตรกรปลูกมันเพื่อช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ และผลผลิตที่ได้จะถูกกินและขายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
แต่การสร้างตลาดระหว่างประเทศสำหรับพืชผลอาจสร้างแรงจูงใจใหม่ๆ ให้กับเกษตรกร และสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารสำหรับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศคุกคามการผลิตพืชผลบางชนิด
จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ พื้นที่เพาะปลูก 23 เฮกตาร์สูญเสียไปจากความแห้งแล้งและการทำให้เป็นทะเลทรายทุกๆนาที และจากการศึกษาพบว่าความแห้งแล้งส่งผลกระทบต่อดินเพื่อเกษตรกรรม 40% พื้นที่เพาะปลูกหลายแห่ง ซึ่งพืชผลหลักอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เติบโตขึ้นก่อนหน้านี้ ‘จะไม่เจริญรุ่งเรืองอีกต่อไป’ ซึ่งมันลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ในแอฟริกาที่พื้นที่เพาะปลูกจะลดลงถึง 60%
แต่ถั่วหรั่งสามารถทนต่อสภาพแล้งและเจริญเติบโตได้ในดินที่ยากต่อการเพาะปลูกหรือพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง ในขณะเดียวกันก็เติบเต็มพื้นที่ที่เสื่อมโทรม ด้วยการเสนอพืชทางเลือกที่สามารถช่วยฟื้นฟูดินแห่งนี้ได้
บริษัทอย่าง WhatIf สามารถสร้างความต้องการทั่วโลกสำหรับพืชผลที่ "ไม่ได้ใช้ประโยชน์" นี้ ปฏิสัมพันธ์ที่เรามีกับ (เกษตรกร) บ่งชี้ว่าพวกเขากำลังมองหาตลาด” และคริสตอฟก็ไม่ได้อยู่คนเดียวในการสำรวจศักยภาพพืชผล Jideani และทีมของเธอกำลังทดลองผลิตภัณฑ์จากถั่วหรั่ง ซึ่งรวมถึงแครกเกอร์ เค้ก และเต้าหู้ เธอต้องการเห็นรัฐบาลสร้างแรงจูงใจในการผลิตถั่วหรั่ง "พืชผลใด ๆ ที่นำเสนอตัวเองว่าเป็นทางออกสำหรับอนาคตควรรีบคว้าไว้"
แนวทางที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
จนถึงตอนนี้ คริสตอฟและผู้ร่วมก่อตั้ง Peter Cheetham ซึ่งเป็นวิศวกรชีวเคมี ได้ทุ่มเงินของตัวเองเพื่อบริหารบริษัท เช่นเดียวกับการระดมทุนจากเพื่อนฝูงและนักลงทุนเอกชน ซึ่งขณะนี้พวกเขากำลังมองหานักลงทุนสถาบันอื่นๆเพื่อช่วยขยายขนาดบริษัทให้ใหญ่และกว้างไกลกว่านี้
บริษัทกำลังทำงานเพื่อก้าวไปสู่ก้าวแรก การจัดหาถั่วหรั่ง 1,000 เมตริกตันจากแอฟริกาตะวันตก ที่ซึ่งคริสตอฟจะฟื้นฟูพื้นที่ได้มากถึง 1,000 เฮกตาร์ภายในสิ้นปี 2023 บริษัทกำลังทำงานโดยตรงกับเกษตรกร 1,600 คน ในกานาและการก่อสร้าง ความสัมพันธ์กับเกษตรกรในไนจีเรียและมาเลเซีย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวในอนาคต แต่ทางบริษัทยังคงไม่สามารถเผยตัวเลขการขายให้ทราบได้
ในอนาคต WhatIf ต้องการ "จำกัดการผลิต" ด้วยการสร้างโรงงานให้ใกล้กับอุปทานของถั่วหรั่งหรือใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทกำลังขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่งเปิดตัวนมแบมนัท (BamNut) และกำลังสำรวจการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมจากพืชอื่นๆ เช่น โยเกิร์ตและชีส
ด้วยการใช้ "แนวทางที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง" คริสตอฟหวังว่าถั่วหรั่งจะช่วยให้เกษตรกรทั่วโลกฟื้นฟูดินแดนที่เสื่อมโทรม และกระจายโภชนาการของเราเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ที่มาข้อมูล
https://whatif-foods.com/blogs/news/whatif-noodles-are-made-this-way-the-whatif-way