svasdssvasds

เรือโดยสารพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุด ฟีเจอร์น่าสน มีห้องสมุดด้วย!

เรือโดยสารพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุด ฟีเจอร์น่าสน มีห้องสมุดด้วย!

Porrima เรือเดินสมุทรโดยสาร ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังทำการศึกษา 3 ปี เพื่อรณรงค์และเผยแพร่นวัตกรรม มุ่งลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีฟีเจอร์น่าสนใจเพียบ!

การเดินเรือในมหาสมุทร โดยเฉพาะเรือขนส่งสินค้าทางทะเลมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในการผลักดันการค้าโลกได้ถึง 80% แต่รู้หรือไม่ว่า การขนส่งทางเรือสร้างก๊าซ CO2 มากกว่าการบินซะอีก  อีกทั้งปัญหาทั้งจากเรือและท่าเรือสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น การรั่วไหลของน้ำมัน มลพิษทางเสียงและอากาศในพื้นที่ เป็นต้น แต่งานวิจัยและงานออกแบบเรือลำใหม่นี้กำลังจะมาเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาสิ่งเหล่านั้น

Porrima เรือที่เต็มไปด้วยดาดฟ้าโซลลาร์เซลล์กำลังขับเคลื่อนอยู่กลางมหาสมุทรฟ้าครามกับความเงียบที่ชวนตะลึง เพราะมันขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ แถมยังมีฟาร์มในตัวและฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมายที่น่าสนใจ เป็นผลงานการออกแบบของ Gunter Pauli ผู้ประกอบการและนักเศรษฐศาสตร์ชาวเบลเยียม และยังถือเป็นเรือพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้

Credit: Peter Charaf/Race for Water/Julien Girardot & Charlotte Guillermot/CNN

เรือลำนี้เป็นได้ทั้งเรือที่ขนส่งสินค้าระดับเล็กไปจนถึงระดับกลาง แต่ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้กับการโดยสารผู้คน สำหรับการล่องเรือระยะยาวมากกว่า

การขนส่งทางทะเลขับเคลื่อนการค้าโลกมากกว่า 80% แต่ขัดขวางระบบนิเวศทางทะเล มีส่วนทำให้เกิดกรดในมหาสมุทร และทำให้เกิดการปล่อย CO2 มากกว่าการบินในแต่ละปี เรือลำนี้ออกเดินทางพร้อมกับลูกเรือจำนวนไม่มากจากโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม และคาดว่าจะต้องหยุดอีกหลายสิบจุดในห้าทวีป (ประมาณ 25 ประเทศ) มันจะเสร็จสิ้นการเดินทางรอบ 2 ปี ก่อนที่จะกลับมาญี่ปุ่นทันเวลาสำหรับงานมหกรรมโลก 2025

 

 

 

การใช้ทรัพยากรอย่างจำกัดและคุ้มค่า ถือเป็นปรัชญาของการเดินเรือลำนี้เพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีที่ยั่งยืนสามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมการเดินเรือได้อย่างไร

 

แรงบันดาลใจในการออกแบบ

Pauli เชื่อว่าลักษณะการออกแบบบนเรือยาว 118 ฟุตกว้าง 79 ฟุต มีความสำคัญพอๆกับการผลิตพลังงานสีเชียวในการส่งเสริมข้อความด้านสิ่งแวดล้อมของ Porrima

การตกแต่งภายในห้องหลัก 2 ห้องของเรือ ได้แก่ ห้องวีไอพีและห้องโถงใหญ่ ได้รับแรงบันดาลใจจากการผสมผลสานกันอย่างลงตัวของตุ๊กตามาตรีออชก้าของรัสเซีย โอริกามิ ญี่ปุ่น และมีดของ Swiss Army

การออกแบบภายใน Cr.Institute for Advanced Architecture of Catalonia /CNN

ด้วยพื้นที่บนเรือที่จำกัด ตุ๊กตาตัวนั้นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับชุดโซลูชันการจัดเก็บที่เลื่อนเข้าเก็บไปด้านในได้อย่างง่ายดายเพื่อประหยัดพื้นที่ ความซับซ้อนของ origami ถูกจำลองขึ้นในชั้นวางของต่าง ๆ บริเวณพื้นที่นั่งเล่น และโต๊ะที่สามารถพับเก็บเป็นผนังได้เหมือนลิ้นชัก สุดท้ายนี้ความสามารถในการปรับตัวของมีด Swiss Army สะท้อนให้เห็นในห้องโถงใหญ่อเนกประสงค์ ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นห้องเรียน พื้นที่จัดแสดง ห้องสมุด หรือห้องอาหารได้

คุณสมบัติอื่นๆที่น่าสนใจ

เรือลำนี้เป็นกรณีศึกษาเรื่องความยั่งยืน ดังนั้นมันจึงมีฟาร์มขนาดเล็กช่วยให้สามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าและเห็ดที่รับประทานได้ใต้ดาดฟ้า

มีตาข่ายฟอกอากาศป้องกันการจับปลาที่มากเกินไปโดยจะแยกปลาตามน้ำหนักแล้วปล่อยตัวเมียให้ไปสืบพันธุ์ต่อ ซึ่งตัวเมียมักจะหนักกว่าเนื่องจากต้องอุ้มไข่ของพวกมัน

นอกจากใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์แล้ว เรือจะติดตั้งตัวกรองที่สามารถแยกนาโนพลาสติกจากน้ำทะและแปลงเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้

เรือลำนี้ขับเคลื่อนไปในมหาสมุทรด้วยเสียงที่เงียบมาก เพราะไม่ใช้เครื่องยนต์ ดังนั้นจึงช่วยลดมลพิษทางเสียงให้แก่ท้องทะเลลงได้เยอะเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“วิกฤตการณ์สภาพอากาศคือสถานการณ์ที่เราพบว่าตัวเองกำลังเผชิญหลังจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีของเรา แต่ยิ่งเราเป็นอิสระมากเท่าไหร่ เรายิ่งก้าวหน้ามากขึ้นเท่านั้น เราก็ยิ่งต้องรับผิดชอบมากขึ้นเท่านั้น” Pistoletto เป็นหนึ่งในศิลปินหลายคนที่จะจัดแสดงผลงานภายในเรือกล่าว

การศึกษาของ Pauli

การศึกษาเชิงโต้ตอบเป็นหัวใจสำคัญของการเดินทางตลอด 3 ปีของ Porrima Pauli หวังว่าจะได้เชื่อมต่อกับสมาชิกของสาธารณชน นักวิชาการ และผู้นำในอุตสาหกรรมในหลายจุดทั่วโลก พร้อมทั้งสอนพวกเขาเกี่ยวกับการออกแบบเรือ ห้องโถงใหญ่เมื่อถูกเปลี่ยนเป็นห้องเรียน จะถูกนำมาใช้เพื่อสอนเด็กๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมบนกระดาน โดยหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นต่อไปในอนาคต

แต่ Pauli ยังหวังที่จะจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ ด้วยเทคโนโลยีของเรือบางส่วนที่คาดว่าจะเผยแพร่ผ่านภาคการเดินเรือ ภายในปี 2024 Pauli กล่าวว่าตัวกรองนาโนพลาสติกของเขาได้รับการติดตั้งบนเรือหลายพันลำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อเริ่มแคมเปญการทำความสะอาดที่ใหญ่ขึ้น และภายในปี 2025 โมร็อกโกมีกำหนดจะเปิดตัวกองเรือที่ติดตั้งเทคโนโลยีการตกปลาด้วยวิธีการฟองอากาศของ Pauli

ของไทยเราก็มี

แน่นอนว่าเรือพลังงานแสงอาทิตย์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก็มีการนำเรือมาดัดแปลงการใช้พลังงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์กันเยอะแล้ว โดยเฉพาะในไทย ตามคลองต่างๆ แต่ยังมีให้เห็นไม่บ่อยนัก แต่ก็ถือว่ามีแล้ว ถ้าหากเจ้าของกิจการการเดินเรือหลายท่านสนก็ไปสอบถามได้ มีแล่นตามคลองลัดมะยม คลองสำโรง บางลำก็แล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาเลย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรือโดยสารขนาดเล็ก

ดังนั้นความแตกต่างระหว่างเรือโซลาร์เซลล์ของไทยกับของ Pauli คือขนาด เป้าหมายการเดินเรือ ความสะดวกครบครันและฟีเจอร์อื่นๆตามที่ได้แจ้งไปข้างต้น

ในหลายประเทศมักมีธุรกิจล่องทะเลเพลินๆชิวหรือมีเรือท่องเที่ยวสำหรับข้ามทวีปที่ใช้เวลาหลายวันหรือเป็นเดือนก็มี สำหรับสายท่องเที่ยวเรือสำราญ Pauli มุ่งหวังว่าในอนาคตเรือเหล่านั้นจะสามารถปรับตัวให้หันมาใช้โมเดลพลังงานของเขาได้ ตามขนาดเรือที่ใหญ่ขึ้น การใช้พลังงานก็จะยิ่งมากขึ้น หากลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นลงได้ ก็จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางทะเล อีกทั้งภายในยังสอดรับกับความต้องการในด้านการท่องเที่ยวและตอบสนองความเรียบหรูด้วยดีไซน์ของศิลปะ เพื่อมุ่งหวังให้อนาคตด้านพลังงานของมนุษย์สามารถยั่งยืนต่อไปได้

ที่มาข้อมูล

https://edition.cnn.com/style/article/ms-porrima-shipping-sustainability-scn/index.html

https://mobile.twitter.com/MS_Porrima

https://zomaloma.com/maritime-transport-generates-more-co2-than-aviation-this-solar-powered-boat-could-change-that/

https://www.sdgmove.com/2021/03/30/how-shipping-ports-can-become-more-sustainable/

https://web.facebook.com/thaisolarboat/

https://www.nationtv.tv/news/378555290

related