svasdssvasds

10 กลุ่ม Climate Tech รวมเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศที่เราต้องใช้สู้ กู้โลกร้อน

10 กลุ่ม Climate Tech รวมเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศที่เราต้องใช้สู้ กู้โลกร้อน

มารู้จัก Climate Tech เทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ หรือ เทคโนโลยีลดโลกร้อน ที่กระจายอยู่ในหลากหลายมิติ โดยแบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม แยกตามแหล่งที่มา ซึ่งทุกคนและทุกองค์กรต้องร่วมกันชะลออุณหภูมิโลก

ถ้าลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ทำได้ง่ายๆ สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก คงจะดีกว่าสิ่งที่เห็นและเป็นในตอนนี้ แต่เพราะมันเปลี่ยนไม่ได้ง่ายๆ เทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ หรือ Climate Technology จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อโลกใบนี้

Climate Tech กับการลดคาร์บอน

Source : Unsplash

มีงานวิจัยจาก Mckinsey พบว่า การผลิตไฮโดรเจนสะอาดทุกๆ ปี จะเป็นตัวช่วยทำให้พลังงานคาร์บอนลดต่ำลง และเพื่อให้การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 โลกจะต้องเพิ่มการผลิตไฮโดรเจนสะอาดให้มากขึ้น 7 เท่า ร่วมกับการใช้ตัวจัดเก็บพลังงานให้อยู่ได้ยาวนานเพิ่มขึ้นอีก 400 เท่า เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน ภายในปี 2040

การวิเคราะห์ของ McKinsey ชี้ให้เห็นว่า ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ตั้งเป้าปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเข้มข้นของการปล่อยมลพิษค่อนข้างต่ำ เฉลี่ยแล้วใช้เงินลงทุนราว 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งมากกว่าสองในสามของการใช้จ่ายด้านพลังงานราวปีละ 9.2 ล้านล้านดอลลาร์ ณ ช่วงเวลานั้น และสินทรัพย์ที่ปล่อยมลพิษต่ำเกือบทั้งหมดก็จะหมายรวมถึง เทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ เอาไว้ด้วย

10 กลุ่ม Climate Tech รวมเทคโนโลยีที่ใช้สู้ กู้วิกฤตโลกร้อน มีดังนี้

  • กลุ่มพลังงานที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Renewables)
    เช่น โซลาร์,​ ลม (บนบกและนอกชายฝั่ง),  นวัตกรรมระบบกริด
  • กลุ่มแบตเตอรี่และอุปกรณ์จัดเก็บพลังงาน (Batteries and energy storage) เช่น แบตเตอรี่สำหรับยวดยานไฟฟ้า, อุปกรณ์จัดเก็บพลังงานที่ใช้ได้นาน

ตัวอย่าง Climate Tech ที่มีส่วนในการลดโลกร้อน

...................................................

อ่านเพิ่ม

...................................................

  • กลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) เช่น การรีไซเคิลแบตเตอรี่, การนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่, การรีไซเคิลพลาสติก, การรีไซเคิลสารเคมีเซลลูโลส
  • กลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอาคาร (Building technologies) เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ, ปั๊มทำความร้อน, อุปกรณ์ไฟฟ้า
  • กลุ่มนวัตกรรมกระบวนการทางอุตสาหกรรม (Industrial-process innovation) เช่น การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งความร้อน, การผลิตเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การผลิตซีเมนต์สีเขียว
  • กลุ่มไฮโดรเจน (Hydrogen) เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ, เซลล์เชื้อเพลิง, การใช้พลังงานความร้อนแยกมีเทนเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจน
  • กลุ่มเชื้อเพลิงยั่งยืน (Sustainable fuels) เช่น พลังงานชีวภาพขั้นสูง, เชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-fuels) 
  • กลุ่มโซลูชันส์เพื่อธรรมชาติ (Nature-based solutions) เช่น ระบบมอนิเตอร์และตรวจสอบป่าไม้ ป่าชายเลน 
  • กลุ่มกำจัด จับ และจัดเก็บคาร์บอน (Carbon removal, capture, and storage) เช่น การดักจับคาร์บอนที่แหล่งกำเนิด, การดักจับในอากาศโดยตรง
  • กลุ่มเกษตรกรรมและอาหาร (Agriculture and Food) เช่น การเกษตรแม่นยำ, โปรตีนทางเลือก, เทคโนโลยีเปลี่ยนการเก็บรักษาพันธุ์พืช

เว็บไซต์ Mckinsey เผยว่า มี 93 บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 จาก 49 ประเทศ ที่มุ่งมั่นจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยจะขยายโอกาสทางการตลาดในกลุ่ม เทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ หรือ Climate Tech เพื่อลดการก่อมลพิษ ลดคาร์บอน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และช่วยทำให้โลกสะอาดขึ้น

ระยะหลัง นักลงทุนตระหนักถึงความสำคัญของการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน หรือ ESG : Environmental, Social และ Governance หันมาทุ่มงบให้การพัฒนาเทคโนโลยีและมอบทุนสนับสนุนให้แก่สตาร์ทอัพที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาด้านสภาพอากาศ ผู้ประกอบการก็จะมีแหล่งทุนในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และตัวบริษัทอย่างยั่งยืนต่อไป

...................................................

ที่มา 

related