svasdssvasds

Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล เราจะได้อะไรจากภาครัฐ?

Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล เราจะได้อะไรจากภาครัฐ?

Key Message จาก "Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล" งานสัมมนาเพื่อส่งต่อความรู้และแชร์แนวทางที่แต่ละฝ่ายจะร่วมสร้างอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ จากความร่วมมือของสื่อในเครือเนชั่น ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพธุรกิจ และสปริงนิวส์

เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจประเทศ แต่อนาคตของประเทศไทยจากการพัฒนา เศรษฐกิจดิจิทัล จะก้าวไปในทิศทางใด? งานสัมมนา Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 จะทำให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและเห็นภาพอนาคตที่เปลี่ยนไปจากการใช้เครื่องมือดิจิทัล ผ่านการปาฐกถาพิเศษ "เศรษฐกิจดิจิทัล อนาคตประเทศไทย" โดย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

สมชาย มีเสน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

 ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • เสาหลักของเศรษฐกิจประเทศไทยคือ เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งในไทยมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ทั้งไฟเบอร์ บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้การใช้ชีวิต การทำงาน ทำธุรกิจ เปลี่ยนไป เช่น การนำคลาวด์มาใช้ประโยชน์ มีระบบบล็อกเชน และในอนาคตก็จะมี Web 3.0 
  • งานของหน่วยงานรัฐ เช่น DEPA, ONDE, ETDA ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ยังมีอีกหลายด้าน ยกตัวอย่าง แพลตฟอร์มกลางภาครัฐ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ต่อได้ แพลตฟอร์มติดต่อราชการผ่านทางออนไลน์ เช่น ทำเรื่องผ่านทางแอป ทางรัฐ ผู้ใช้งานก็ไม่ต้องรอคิวนานๆ  และในอนาคตก็จะเปิดให้มีการเซ็นสัญญาออนไลน์เพิ่ม
  • เนื่องจากมีการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพิ่มขึ้นทั่วโลก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ก็เข้าโจมตีทุกระดับ แต่ด้วยการกำกับดูแล ป้องกันภัยคุกคาม แม้ประเทศไทยเคยประสบปัญหาด้านไซเบอร์แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้ประเทศต้องหยุดชะงัก
  • Metaverse จะทำให้โลกเปลี่ยนไป ภายในไม่กี่ปีนี้จะมีการติดต่อสื่อสาร ทำธุรกิจใน Metaverse มีการใช้คริปโทเคอร์เรนซี โดยในขณะนี้ ภาครัฐและเอกชนเริ่มพัฒนา Metaverse นำร่องที่ภูเก็ต ให้ผู้สนใจเข้าไปซื้อสินค้าได้ ทำธุรกิจได้ ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้ และเพื่อไม่ให้เอารัดเอาเปรียบกันก็จะมีการออกกฎหมายมารองรับการใช้ชีวิตในโลกเสมือน

Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล เราจะได้อะไรจากภาครัฐ?

  • กระทรวงดิจิทัลฯ​ กำลังทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการพัฒนา Digital ID เพื่อให้ประชาชนทำทุกอย่างผ่านทางออนไลน์ได้ภายในปีนี้ และการกำกับดูแล Digital Platform ต่างประเทศ เช่น Lazada, Shopee ทั้งเรื่องจดแจ้งการประกอบธุรกิจ การออกมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคชาวไทย
  • ในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงฯ ร่วมส่งเสริมสตาร์ทอัพด้วยการจัดทำ บัญชีนวัตกรรมไทย โดยสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปขายให้แก่หน่วยงานรัฐได้โดยไม่ต้องยื่นเรื่องหรือเขียน TOR โครงการจัดจ้าง เช่น สตาร์ทอัพ QueQ ที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมภาครัฐแล้ว หน่วยงานรัฐ เช่น อุทยานแห่งชาติ สามารถซื้อบริการจากสตาร์ทอัพได้ทันที เป็นการลดขั้นตอนการทำงานและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน
  • เรื่องล่าสุดที่รัฐบาลทำ คือ ยกเลิก Capital Gain Tax เนื่องจากนักลงทุนที่ได้กำไรจากหุ้นในไทยต้องเสียภาษี 15% ในขณะที่สิงคโปร์ไม่เก็บภาษีนี้ สตาร์ทอัพไทยจึงไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์กันมาก นักลงทุนหลายชาติก็ไปลงทุนในสิงคโปร์เช่นกัน รัฐบาลจึงมีมติให้ยกเลิก Capital Gain Tax เพื่อส่งเสริมให้เกิดการระดมทุนในสตาร์ทอัพไทยมากขึ้น ร่วมกับการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล เราจะได้อะไรจากภาครัฐ?

เดือนมีนาคม 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการยกเว้นภาษี Capital Gains Tax เป็นเวลา 10 ปี ให้แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ภายใต้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายผ่าน Venture Capital โดยต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 24 เดือน ทั้งนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่ามาตรการภาษี Capital Gains Tax จะสร้างเม็ดเงินลงทุนในสตาร์ทอัพไทยเพิ่มขึ้นกว่า 3.2 แสนล้านบาท มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 4 แสนตำแหน่ง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม 790,000 ล้านบาท

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บจ.หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)

หลังจากจบปาฐกถาก็เข้าสู่ช่วง Special Talk : Digital Global Trend โดย อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บจ.หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ต่อด้วย Panel Discussion เกี่ยวกับการกำกับดูแลการทำงานของภาครัฐ และปิดท้ายด้วย Special Talk ที่ผู้บริหารองค์กรเอกชนเบอร์ต้นๆ ของประเทศมาแชร์ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของแบรนด์นั้นๆ

Panel Discussion : Digital Thailand Competitiveness นำโดย 

Panel Discussion : Digital Thailand Competitiveness
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)

  • เพื่อสร้าง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ฝั่งภาครัฐจึงจัดทำ Portal มากมายเพื่อให้บริการประชาชน, พัฒนาแพลตฟอร์มกลางและระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ทุกภาคส่วน ที่ต้องการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยมี DGA เป็นหน่วยงานกลางที่สนับสนุนการทำ Digital Transformation 

  • กลไกขับเคลื่อน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จะแบ่งการพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลให้สอดคล้องกับความพร้อมของหน่วยงานรัฐซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    • 1) กลุ่มที่มีความพร้อมสูงในด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น กระะทรวงการคลัง, กระทรวงดิจิทัลฯ โดยเทคโนโลยีที่ต้องดูแลรับผิดชอบ เช่น Digital ID, Digital Currency และอย่างไรก็ดี ยังมีหน่วยงาน DGA ร่วมทำ Sandbox อีกทางหนึ่ง

    • 2) กลุ่มที่มีความพร้อมในด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระดับกลาง ข้อนี้จะโฟกัสไปที่การใช้งาน 6 ด้าน อาทิ การแพทย์ สาธารณสุข การบูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยทาง DGA กำลังทำ Data Integration กำหนดมาตรฐานและนำ AI เข้าไปใช้ในหน่วยงานรัฐ 

    • 3) กลุ่มที่มีความพร้อมด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต โดยรัฐบาลจะจัดทำโครงการอีกมาก เช่น One ID, One SME โครงการที่ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถไปขึ้นทะะเบียนและขอรับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐได้ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบซ้ำซ้อนอีก

  • ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน สำคัญมาก โดยภาครัฐต้องปรับตัวให้ทัน ขณะที่การมีส่วนร่วมของประชาชนจะช่วยให้คนไทยไม่หลงทาง เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลก็จะไปด้วยกัน

พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

  • แม้เป็นทีมที่เข้ามาบริหารได้ไม่นาน แต่ กสทช.ทีมใหม่จะยังทำตามอำนาจหน้าที่ ทำตามแนวทางของคณะกรรมการชุดเดิม เช่น การปฏิบัติหน้าที่บริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ บริหารจัดการกิจการโทรคมนาคม วิทยุ และโทรทัศน์ 
  • เป้าหมายสำคัญของ กสทช. คือ ลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ให้คนไทย จากเดิมที่ประชาชนไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ 
  • กสทช. จะเข้ามาสร้างบาลานซ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจกับประชาชน โดย กสทช.ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเป็นตัวนำในการสร้างความเปลี่ยนแปลง แล้ว กสทช.ก็จะเข้าไปกำกับดูแลการใช้งานอย่างเสรี ดูในเรื่องความเป็นธรรม แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินงานของทุกภาคส่วนก็ต้องคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญ

และ Special Talk : Digital Transformation Empower your Business จากภาคเอกชน

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS

ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค

เอกราช ปัญจวีณิน กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บลูบิค กรุ๊ป (Bluebik)

ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด

ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย

  • ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS
  • ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค
  • เอกราช ปัญจวีณิน กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด
  • พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บลูบิค กรุ๊ป (Bluebik)
  • ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด
  • ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย

ดำเนินรายการ โดย พิภู พุ่มแก้วกล้า, อาชวินท์ สุกสี

รับชมย้อนหลังได้ที่ลิงก์ facebook.com/springnewsonline

Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล เราจะได้อะไรจากภาครัฐ?

related