svasdssvasds

เครื่องจักรการเกษตรรุ่นใหม่มีน้ำหนักมากขึ้น อาจส่งผลเสียต่อดินในอนาคต

เครื่องจักรการเกษตรรุ่นใหม่มีน้ำหนักมากขึ้น อาจส่งผลเสียต่อดินในอนาคต

งานวิจัยใหม่ชี้ เครื่องจักรในฟาร์มรุ่นใหม่ มีน้ำหนักมากขึ้นจนสามารถเทียบเท่ากับไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในอดีตได้แล้ว ด้วยน้ำหนักที่มาก อาจส่งผลเสียทำให้ดินเสื่อมโทรม

คงไม่ต้องสาธยายความสำคัญของดินให้ได้ทราบกันมากนัก ผู้อ่านก็คงทราบกันดีว่า ดินมีความสำคัญอย่างไรกับโลกใบนี้ นอกจากจะเป็นพื้นให้มนุษย์ได้เหยียบแล้ว บทบาทสำคัญคือเป็นพื้นฐานด้านอาหารของมนุษย์ แต่ปัจจุบันดินถูกกลั่นแกล้งจากกิจกรรมมากมายที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะดินอยู่ใต้เท้าของเราตลอดเวลาเลยอาจจะไม่มีใครสังเกตเห็นหรือทราบว่าดินมีปัญหาอย่างไร

แน่นอนเราเชื่อว่าหลายคน คงจะคิดว่าดินเสียได้ก็บำรุงได้ง่ายและมีปริมาณมากจนแทบจะกล่าวได้เลยว่า รอให้โลกล่มสลายก่อนเถอะ ดินถึงจะสำคัญขึ้นมา ซึ่งหากคิดอย่างนี้ก็ไม่ผิดนัก เพราะดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติและเป็นพื้นฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดโลกใบนี้และสิ่งมีชีวิต แถมมีปริมาณมากจนไม่สามารถนับได้ และเราก็คิดว่าคงไม่มีทางที่ดินจะหมดโลกไปได้หรอก

แต่ผู้เขียนก็ไม่อยากให้คุณละเลยคุณค่าของดินหรอกนะ ดินถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมายในเกือบทุกกิจกรรมของมนุษย์ หรือแม้กระทั่งอยู่ทุกที่ที่เราไป โดยเฉพาะเป็นทรัพยากรที่สร้างอาหารให้กับเรา ความสำคัญทางการเกษตรของดินนั้น ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก มันไม่ผิดใช่ไหมที่ผู้เขียนอยากจะเชิญชวนมารักษาคุณภาพของดินร่วมกัน

อีกปัญหาหนึ่งที่เพิ่งถูกค้นพบคือ นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษาเรื่องดินได้ออกมาเผยงานวิจัยใหม่ว่า เนื่องจากเครื่องจักรทางการเกษตรหรือยานพาหนะในฟาร์มสมัยใหม่ มีน้ำหนักมากขึ้น จนนักวิทย์บอกว่ามันจะมีขนาดเท่าๆกับซอโรพอด ไดโนเสาร์ที่อายุเมื่อราว 66 ล้านปีที่แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รถเกี่ยวข้องสมัยใหม่และไดโนเสาร์กินพืช Diplodocus มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง?

คำตอบหนึ่งดูเหมือนจะเป็นรอยเท้าขนาดใหญ่บนดิน การศึกษาใหม่ที่นำโดยนักวิจัยจากสวีเดนและสวิตเซอร์แลนด์พบว่า น้ำหนักของเครื่องจักรทำฟาร์มในปัจจุบันกำลังขยายร่างและเพิ่มน้ำหนักจนเข้าใกล้น้ำหนักของสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนโลกแล้ว อย่าง ซอโรพอด

ไดโนเสาร ซอโรพอด ไดโนเสาร์กินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดภาคพื้นดินในโลกดึกดำบรรพ์ Cr.New Sciencetist น้ำหนักและขนาดของเครื่องจักรเริ่มขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา หลังจากการเกษตรขนาดใหญ่แบบเข้มข้นได้กลายเป็นที่แพร่หลาย โดยน้ำหนักที่คิดว่าหนักสุดตอนนี้น่าจะราว ๆ 60 ตัน ซึ่งรวมไปถึงรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรอื่น ๆ ด้วย รถเกี่ยวข้าวมีน้ำหนักมากกว่าทศวรรษ 1960 เกือบ 10 เท่าในทุกวันนี้

น้ำหนักของสัตว์และเครื่องจักรมีความสำคัญต่อการรับน้ำหนักของดิน แม้ว่าดินจะเป็นฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างที่มีน้ำหนักมากกว่าหลายล้านเท่าก็ตาม แต่ดินจะสามารถทนต่อแรงบีบอัดได้จริงเหรอ นี่คือคำถามที่นักวิทย์ต้องตั้งขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและนำไปสู่วิธีการที่ยั่งยืน

ดินมีปัญหาจากสิ่งเหล่านี้อย่างไรบ้าง?

การบีบอัดของดินที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นนี้ กลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่เรามองไม่เห็นแน่นอน ในความเป็นจริง ดินมีโครงสร้างที่เปราะบางกว่าที่คิด ใต้พื้นดินของเรายังคงมีช่องว่าง รูพรุนและช่องทางเดินที่จะช่วยให้อากาศไหลเวียน รวมไปถึงเส้นทางน้ำเพื่อไปยังรากพืชและไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

ยางรถยนต์ที่แล่นอยู่บนถนน กีบเท้าของสัตว์ขนาดใหญ่มากมาย หรือเท้าของมนุษย์เอง ล้วนใช้แรงกด บีบ อัด และไม่เพียงแค่พื้นผิวของดินเท่านั้น  แต่ในยังลึกลงไปยังใต้ดินด้วย การบีบอัดของดินมาก ๆ จะลดความสามารถในการเจริญเติบโตของพืช การเก็บเกี่ยวพืช รวมไปถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมด้วย เนื่องจากน้ำจะไหลออกจากดินและไปถึงแหล่งน้ำอื่น ๆ อย่างรวดเร็วแทน

หรือหากจะพูดให้เห็นภาพชัด ๆ ก็คือ ตึกที่เรียงติดกันมาก ๆ ทำให้ดินด้านล่างบีบอัดกันแน่จนน้ำฝนที่ตดลงมาไม่สามารถไหลเข้าไปยังดินได้ (ในกรณีไม่มีท่อระบายน้ำ) ฝนขะพยายามไหลไปยังแหล่งน้ำที่ใกล้เคียงแทนกรณีที่สามารถเจาะเส้นทางน้ำเองได้ หรือไม่ก็ขังอยู่บนหน้าดิน กลายเป็นน้ำท่วมที่ไม่สามารถระบายได้นั่นเอง

วิวัฒนาการของยางรถก็มีส่วน

การศึกษาชี้ให้เห็นว่า เมื่อน้ำหนักของเครื่องจักรในฟาร์มได้เพิ่มขึ้น ขนาดของยางก็เพิ่มขึ้นตาม และมีการปรับเปลี่ยนพื้นผิวของยางที่จะสัมผัสระหว่างรถกับดินเพื่อลดแรงกระแทกและช่วยให้รถไม่จม และดูเหมือนว่าไดโนเสาร์ก็ได้พัฒนากลยุทธ์เดียวกัน เนื่องจากทั้งคู่เป็นต้นเหตุของการบีบอัดดิน โดยพวกมันจะเพิ่มขนาดเท้าของพวกมันเองเพื่อหลีกเลี่ยงการจมลงไปในดิน นี่จึงเป็นวิวัฒนาการที่ทำให้พวกมันอยู่รอดได้แม้จะมีน้ำหนักมากก็ตาม

น้ำหนักของเครื่องจักรทำฟาร์มในปัจจุบันมีน้ำหนักมากจนทำให้ดินบีบอัดจนหน้าดินลดระดับลง 20 เซนติเมตร นอกเหนือจะเป็นการจำกัดความลึกในการชอนไชของรากพืชเพื่อแสวงหาน้ำหรือสารอาหารแล้ว มันยังสร้างสภาวะออกซิเจนต่ำที่ไม่เป็นผลดีต่อพืชหรือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใต้ดิน

รถเกี่ยวข้าวที่เห็นในปัจจุบันก็มีขนาดที่ใหญ่มาก เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้ในปริมาณที่คุ้มค่าในครั้งเดียว ปริศนาจานใหญ่สำหรับการระดมสมอง

ปริศนาเร่งด่วนคือ จะทำยังไงให้การบีบอัดของดินจากยานพาหนะทางการเกษตรลดความเสี่ยงในการทำลายคุณภาพของดิน  เนื่องจากเครื่องจักรเหล่านี้ยังมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการผลิตอาหารให้กับคนทั้งโลก และมีบทบาทในการสร้างความยั่งยืน และลดความเสี่ยงของวิกฤตด้านอาหาร

ความเสี่ยงของการอัดบดดิน จะแตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องจักรและวิธีการใช้ ตลอดจนชนิดของดินและความชื้นที่สะสมอยู่ในดิน การศึกษาประมาณการว่า 20% ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียผลผลิต เนื่องจากการอัดบีบของดิน โดยมีปัจจัยมาจากยานพาหนะทางการเกษตรสมัยใหม่

โดยพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ ยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างชื้น และมีฟาร์มขนาดใหญ่ที่นิยมใช้เครื่องจักรใหญ่อยู่อีกหลายที่  โดยจะเห็นได้ชัดว่า นี่เป็นปัญหาในภูมิประเทศที่เหมาะแก่การเพาะปลูก หรือเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ ซึ่งการเคลื่อนไหวของยานพาหนะไม่ได้รับการควบคุมเท่าที่ควร โดยเฉพาะขนาดของยานพาหนะที่วิ่งไปมาทั้งบนท้องถนนและบนพื้นที่ดินในไร่ในฟาร์ม

แนวทางในการแก้ปัญหา

ผู้เขียนงานศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบเครื่องจักรเพื่อช่วยรักษาโครงสร้างของดิน โดยการออกแบบให้ยานพาหนะมีขนาดเล็กลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง หากผุ้ประกอบและออกแบบยานพาหนะทางการเกษตรสามารถออกแบบให้รถเหล่านี้มีขนาดที่เล็กลงแต่ยังคงสมรรรถนะเดิมได้ ก็คงจะดีกว่าต้องปล่อยให้เครื่องจักรมีการพัฒนาและเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น จนควบคุมได้ยากในอนาคต

แม้ว่าดินจะสามารถทนกับแรงบีบอัดได้มากขนาดไหน แต่การใช้ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่ถนุถนอม ไม่ว่าจะจากการบีบอัดหรือภัยคุกคามอื่น ๆ เช่น การเก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การเผาไฟ การกัดเซาะหรือมลภาวะอื่น ๆ แต่เราก็ต้องช่วยแบ่งเบาภาระของดินเพื่อลดความเสี่ยงต่อการอ่อนแอของดินที่อาจจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ที่มาข้อมูล

https://modernfarmer.com/2022/05/heavy-farm-machinery-soil-health/

https://extension.umd.edu/resource/common-soil-problems

related